กฟผ. ไขข้อข้องใจ ไฟฟ้า 1 หน่วยทำอะไรได้บ้าง

กฟผ. ไขข้อข้องใจ ไฟฟ้า 1 หน่วยทำอะไรได้บ้าง

รายงานข่าวจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) แจ้งว่า ไฟฟ้า “1 หน่วย” ทำอะไรได้บ้าง กฟผ.มีคำอธิบาย พร้อมวิธีคำนวณ ดังนี้

รู้หรือไม่ ไฟฟ้า “1 หน่วย” ทำอะไรได้บ้าง

ก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนว่า
ไฟฟ้า 1 หน่วย (Unit) = 1 กิโลวัตต์ (kW) หรือ 1,000 วัตต์ (W) ใน 1 ชั่วโมง

Advertisement

ถ้าเราใช้พลังงาน 1,000 วัตต์ (1 kW) ในเวลา 1 ชั่วโมง จะเท่ากับ เราใช้ไฟฟ้าไป 1 หน่วย

หรือ ถ้าเราใช้พลังงานไฟฟ้า 100 วัตต์ จะสามารถใช้ได้นานถึง 10 ชั่วโมง ถึงจะกินไฟ 1 หน่วย

สูตรการคิดคำนวณหน่วยไฟฟ้าที่ใช้
(จำนวนวัตต์ x จำนวนชั่วโมงที่ใช้) ÷ 1,000 วัตต์ = จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้

Advertisement

ตัวอย่าง
คำถาม : เครื่องซักผ้า ขนาด 10 กิโลกรัม กำลังไฟ 500 วัตต์ ใช้งาน 2 ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้ากี่หน่วย?
คำตอบ : (เครื่องซักผ้า กำลังไฟ 500 วัตต์ x ใช้งาน 2 ชั่วโมง) ÷ 1,000 วัตต์ = ใช้ไฟฟ้า 1 หน่วย

รู้วิธีคำนวณการใช้ไฟฟ้าอย่างนี้แล้ว เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าครั้งหน้า อย่าลืมดูว่า ต้องมีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พร้อมข้อมูลอัตราการใช้ไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ก็มีอัตราการใช้ไฟฟ้าแตกต่างกัน ลองนำเลขมาเข้าสูตรคำนวณ เราจะได้ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ประหยัด ไม่สิ้นเปลือง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image