ฤดูฝนปีนี้มาช้า คาดเริ่มปลายสัปดาห์ที่ 3 เดือน พ.ค. แถมยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ย

ฤดูฝนปีนี้ ช้ากว่าปกติ คาดเริ่มปลายสัปดาห์ที่ 3 เดือน พ.ค. แถมยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ย เตือนพื้นที่แล้งซ้ำซากระวังขาดแคลนน้ำ

เมื่อวันที่ 30 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2566 โดยระบุว่า ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งช้ากว่าปกติเล็กน้อย และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2566 โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศ ในช่วงฤดูฝนปีนี้ จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 5 และจะน้อยกว่าปีที่แล้ว (ปีที่แล้วในช่วงฤดูฝนปริมาณฝนรวมมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 14 และปริมาณฝนรวมทั้งปีมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 24) โดยทั้งในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน (ตั้งแต่วันเริ่มต้นถึงเดือนกรกฎาคม) และช่วงครึ่งหลังฤดูฝน(เดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 5

อนึ่ง ช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้
ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ซึ่งจะท้าให้เกิดการขาดแคลนน้้าในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่
โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้้าซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้้าเพื่อประโยชน์สูงสุด
ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูง
ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่
และก่อให้เกิดสภาวะน้้าท่วมฉับพลัน น้้าป่าไหลหลาก รวมทั้งน้้าล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่

ลักษณะอากาศทั่วไป

Advertisement

ช่วงประมาณปลายเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและ
ต่อเนื่อง โดยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ กับจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่งเว้นแต่ บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยโดยจะมีกาลังแรงเป็นระยะๆ ประกอบกับในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆนอกจากนี้ในบางช่วงจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก่อตัวบริเวณทะเลอันดามัน แล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นหรือพายุไซโคลน และเคลื่อนตัวเข้าใกล้ด้านตะวันตกของประเทศไทย

จากนั้น ในช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝน
จะลดลง และจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ทั้งนี้เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลงส่วนร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน

สำหรับช่วงตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ประเทศไทยจะกลับมามีฝนตกชุกหนาแน่นอีกครั้ง
โดยส่วนใหญ่จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้าล้นตลิ่งในบางแห่ง ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย จะกลับมามีกำลังแรงและต่อเนื่อง ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนกลับลงมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนในบางช่วง

ส่วนในเดือนตุลาคม เหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงและ
เริ่มจะมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนของภาคเหนือ ประกอบกับในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน นอกจากนี้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย จะเริ่มเปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมแทน

รายละเอียดตามภาคต่างๆ

ภาคเหนือ เดือนพฤษภาคม กรกฎาคมและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ
173, 189 และ 117 มิลลิเมตร ตามล าดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน ปริมาณฝนรวมน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ153 มิลลิเมตร) ส าหรับเดือนสิงหาคมและกันยายน ปริมาณฝนรวมน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 237 และ222 มิลลิเมตร ตามลำดับ)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนพฤษภาคมและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ
(ค่าปกติ 189 และ 105 มิลลิเมตร ตามล าดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน สิงหาคมและกันยายน ปริมาณฝนรวมน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 198, 270 และ 253 มิลลิเมตร ตามลำดับ) สำหรับเดือนกรกฎาคม ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 235 มิลลิเมตร)

ภาคกลาง เดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคมและกันยายน คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่า
ค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 166, 151, 165, 186 และ 259 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนตุลาคม ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 183 มิลลิเมตร)

ภาคตะวันออก เดือนพฤษภาคม มิถุนายน สิงหาคม กันยายนและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะ
น้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 205, 259, 286, 352 และ 219 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนกรกฎาคม ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 289 มิลลิเมตร)

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) เดือนพฤษภาคมและกันยายน คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียง
ค่าปกติ (ค่าปกติ 130 และ 147 มิลลิเมตร ตามล าดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน กรกฎาคมและสิงหาคม ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 118, 119 และ 128 มิลลิเมตร ตามลำดับ) สำหรับเดือนตุลาคม ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 20 (ค่าปกติ 254 มิลลิเมตร)

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน) เดือนพฤษภาคม มิถุนายนและกรกฎาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวม
จะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 301, 336 และ 349 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนสิงหาคมและกันยายน ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 419 และ 429 มิลลิเมตร ตามล าดับ) สำหรับเดือนตุลาคม ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 369 มิลลิเมตร)

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เดือนพฤษภาคม กันยายนและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะ
ใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 207, 336 และ 289 มิลลิเมตร ตามล าดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน กรกฎาคมและสิงหาคมปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 196, 183 และ 227 มิลลิเมตร ตามลำดับ)
ข้อควรระวัง

1. บางช่วงจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันหลายวัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน จึงขอให้ประชาชนติดตามข่าวอากาศประจ้าวันอย่างใกล้ชิดต่อไปด้วย

2. ช่วงที่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเคลื่อนผ่านประเทศไทย จะมีลักษณะของพายุลมแรง ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ส่วนบริเวณชายฝั่งจะมีคลื่นลมแรง ความสูงของคลื่นอาจสูงถึง 3-4 เมตรในบางช่วง จึงขอให้ประชาชนและชาวเรือระมัดระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติ และขอให้ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดในช่วงที่มีพายุหมุนเขตร้อนด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image