ชาวนา พอใจรัฐบาลหนุนเงินไร่ละพัน วอนเตรียมรับมือแล้ง เร่งหาแหล่งน้ำ-พัฒนาพันธุ์ข้าว

ชาวนา พอใจรับเงินไร่ละพัน วอนเตรียมรับมือแล้ง เร่งหาแหล่งน้ำ-พัฒนาพันธุ์ข้าว

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ ในฐานะ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ขอขอบคุณรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง ที่ช่วยเหลือชาวนาและเข้าใจถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนา โดยออกมาตรการพักชำระหนี้ ธ.ก.ส. 3 ปี (สำหรับเกษตรกรรายย่อย ภาระต้นเงินรวมทุกสัญญาไม่เกิน 300,000 บาท) เพราะการพักหนี้พักดอกนี้จะช่วยชาวนาลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการเงินและสภาพคล่องได้มาก ทำให้ชาวนายิ่งมีรายได้เหลือมากขึ้น ลดการไปก่อหนี้นอกระบบเพิ่มและพอมีทุนหมุนเวียนในรอบต่อไป

VIDEO CONTENT AVERTISEMENT

อีกทั้ง ต้องขอขอบคุณที่รัฐบาลอนุมัติเงินช่วยเหลือชาวนา “โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตผู้ปลูกข้าว” จำนวนเงินไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ เพราะโครงการนี้มีความสำคัญต่อชาวนาเป็นอย่างมาก ช่วยให้เกษตรกรชาวนาได้นำเงินส่วนนี้ไปเป็นทุนสำหรับฤดูการผลิตรอบถัดไป หรือนำไปต่อยอดพัฒนาปรับปรุงแปลงนาของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และโครงการชะลอการขาย

โดยเฉพาะชาวนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว เพราะชาวนามียุ้งฉางของต้นเองจะได้รับประโยชน์โดยตรง ทั้งค่าเก็บฝากตันละ 1,500 บาท และหากราคาอยู่ในระดับพอใจ ก็สามารถไถ่ถอนออกมาขายได้ หรือหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินก็ค่อยๆ นำออกมาขาย ที่สำคัญเป็นการสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวนาที่ยังมียุ้งฉางของตนเองอยู่ ถือเป็นการดำเนินการโดยชาวนาเองที่เป็นเจ้าของข้าวเอง

ADVERTISMENT

และอยากจะฝากเน้นย้ำกับพี่น้องเกษตรกรว่า แม้จะมีการพักหนี้ แต่เราก็ยังจำเป็นต้องควบคุมเรื่องวินัยการเงินอย่างมาก เพราะยอดหนี้ทั้งหมดก็ยังคงอยู่ เมื่อครบ 3 ปี ก็ยังจะต้องชำระคืนต่อเช่นเดิม ส่วนเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท ก็ควรที่จะนำไปใช้ให้ตรงวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุด คือ นำไปพัฒนาปรับปรุงแปลงนาให้มีประสิทธิภาพจริง โดยคำนึงถึงเสมอว่าเงินส่วนนี้เป็นเงินทุนที่จะต้องนำไปลงทุนต่อยอด โดยไม่นำไปใช้จับจ่ายในสิ่งที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์หรือสูญเปล่า

อย่างไรก็แล้วแต่ สมาคมชาวนาก็ยังคงอยากเห็นเรื่องของ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพราะเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนมาก เช่น เรื่องแหล่งน้ำ ทั้งน้ำบนดินและใต้ดิน การพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณะ และคลองส่งน้ำ คลองซอยต่างๆ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักของการทำการเกษตร รวมถึงเรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าวทั้งพื้นนุ่ม พื้นแข็ง ทั้งพันธุ์ที่มีกลิ่นหอม และพันธุ์ที่ไม่มีกลิ่นหอม จะต้องเพิ่มให้มีผลผลิตสูงอย่างน้อยข้าวเกี่ยวสดต้องให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1,200-1,300 กก./ไร่ หรือข้าวแห้งต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 กก./ไร่ เนื่องจากการลดต้นทุนเองก็มีขีดจำกัด คือลดได้ต่ำสุดถึงเพียงแค่จุดๆ หนึ่ง

ADVERTISMENT

“แม้ชาวนาจะลดต้นทุนได้แล้ว แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากสภาพดินฟ้าอากาศ โรคพืชโรคแมลง หรือแม้แต่ปัจจัยต่างๆ นอกเหนือการควบคุม จนเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเพิ่มผลผลิตเข้ามาร่วมกับลดต้นทุนควบคู่ไปด้วยกันจึงจะได้ผลลัพธ์ตามที่คาด”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image