ควายหนีน้ำท่วมพัทลุงตายเพราะติดเชื้อ ส่งทีมสัตว์แพทย์เร่งช่วยที่เหลือให้พ้นวิกฤต

นายสัตวแพทย์ หรือน.สพ.เศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ เลขานุการกรมปศุสัตว์ ในฐานะรองโฆษกกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงกรณีฝูงควายน้ำในพื้นที่หมู่ 7 ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ทยอยล้มตายหลังอพยพหนีน้ำท่วมไปยังพื้นที่สูงว่า ได้สั่งการให้สำนักงานปศุสัตว์จ.พัทลุงร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและหาสาเหตุการตายของควายน้ำในพื้นที่ดังกล่าว พบว่าเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2560 ควายน้ำได้เริ่มล้มตายลงจำนวน 5 ตัว และ 2-3 วันต่อมาตายเพิ่มอีก 2 ตัว ปัจจุบันมีควายตายไปแล้ว 8 ตัว และป่วยรวม 13 ตัว เป็นของเกษตรกร 4 ราย

น.สพ.เศรษฐเกียรติ กล่าวว่า ทีมสัตวแพทย์ได้เก็บตัวอย่างเลือดควายที่ตายส่งตรวจวิเคราะห์พบว่ามีโรคพยาธิในเม็ดเลือดเกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว คือบาบีเซีย ไบเจมีนา ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อจากเห็บ สัตว์ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวจะไม่อยากกินอาหาร มีสภาวะเลือดจางมาก เยื่อบุตาเป็นสีแดง เยื่อเมือกบริเวณอวัยวะเพศแดง ปัสสาวะมีสีแดงเข้ม (สีโค้ก) ทั้งยังมีอาการอ่อนแรงและล้มตายได้ เบื้องต้นทางสัตวแพทย์ได้ทำการรักษาพยาบาลควายที่ป่วยและติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ขณะนี้ได้ส่งตัวอย่างเลือดควายไปตรวจหาโรคติดต่ออื่นๆ ที่มีอาการใกล้เคียงกันที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างอุจจาระควายส่งตรวจหาพยาธิใบไม้ตับด้วย

“ควายที่ตายนี้อยู่ในฝูงที่อพยพขึ้นมาจากทะเลน้อยมาอาศัยอยู่บนถนนประมาณ 450 ตัว รวมกับฝูงโคเนื้อประมาณ 200 ตัว รวมกันอยู่อย่างหนาแน่นจึงมีโอกาสที่เห็บโคซึ่งเป็นพาหะนำโรคพยาธิในเม็ดเลือดมาดูดกินเลือดจากควายทำให้เกิดโรงดังกล่าวขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวน สัตว์ขาดสารอาหารและเกิดความเครียด ร่างกายอ่อนแอลง จึงเกิดอาการป่วนและล้มตายได้ ซึ่งปัญหาน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ครั้งนี้มีควายน้ำจากทะเลน้อยได้รับผลกระทบกว่า 2,706 ตัว จากเกษตรกร 272 ราย ส่วนโคยังไม่พบรายงานว่าป่วย”

น.สพ.เศรษฐเกียรติ กล่าวว่า ส่วนฝูงควายน้ำในพื้นที่ตำบลบ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา มีจำนวน 1,875 ตัว เป็นของเกษตรกร 87 ราย ทางกรมฯได้จัดส่งหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดน้ำท่วมพบว่ามีควายตายไม่เกิน 1% ซึ่งไม่ได้เกิดจากโรคระบาด แต่ตายเพราะร่างกายอ่อนแอของลูกสัตว์แรกเกิดและควายที่ขาดสารอาหารและร่างกายซูบผอม กรมฯจึงจัดทีมสัตวแพยท์ไปรักษาและส่งมอบเสบียงสัตว์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นการเฉพาะหน้า โดยมอบหญ้าแห้งให้เกษตรกรในพื้นที่ทะเลน้อยใช้เลี้ยงความน้ำไปแล้วกว่า 300 ตัน และยังสนับสนุนหญ้าแห้งอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละกว่า 42 ตัน เพื่อเลี้ยงฝู
หลังจากต้อนฝูงควายน้ำอพยพขึ้นไปยังพื้นที่สูง กรมฯได้จัดทีมสัตวแพทย์เข้าไปรักษาควายที่ป่วยและได้รับบาดเจ็บจากการอพยพ โดยการรักษาตามอาการและฉีดวิตามินบำรุงร่างกาย ทั้งยังส่งมอบเสบียงสัตว์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นการเฉพาะหน้า โดยมอบหญ้าแห้งให้เกษตรกรในพื้นที่ทะเลน้อยใช้เลี้ยงควายน้ำไปแล้วกว่า 300 ตัน ขณะนี้ได้สนับสนุนหญ้าแห้งอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละกว่า 42 ตัน เพื่อหล่อเลี้ยงฝูงควายทะเลน้อยให้อยู่รอดผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปให้ได้

Advertisement

น.สพ.เศรษฐเกียรติ กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาพื้นที่เลี้ยงควายที่ทะเลน้อยในระยะยาว ด้วยการทำเกาะจำนวน 9 แห่ง เพื่อให้ฝูงควายได้อยู่อาศัยโดยหลังน้ำลดและกลับเข้าสู่ภาวะปกติจะดำเนินการปรับระดับเนินดินให้มีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร และสูงจากระดับน้ำ 2.5 เมตร ปูด้วยแผ่นพื้นสำเร็จรูป คาดว่าจะสามารถรองรับควายได้แห่งละ 100 ตัว รวม 900 ตัว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image