บสย. รับ 3 โจทย์ใหญ่ เร่งค้ำ แก้หนี้รายย่อย ร่วมตั้งบริษัทบริหารหนี้

บสย. รับ 3 โจทย์ใหญ่ เร่งค้ำ แก้หนี้รายย่อย ร่วมตั้งบริษัทบริหารหนี้

เมื่อวันที่ 17 เมษายน นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า การดำเนินงาน บสย. ตลอดปี 2567 เป็นความท้าทายใหม่ มาจาก 2 แนวทาง แนวทางแรก คือความท้าทายที่เป็นการดำเนินงานงานตามยุทธศาสตร์องค์กร บทบาทหลักด้านการค้ำประกันสินเชื่อ การส่งเสริมความรู้ทางการเงินแก่เอสเอ็มอีและรายย่อย เสริมแกร่งบทบาทและการพัฒนา บสย. F.A. Center สู่การเป็น Credit Mediator ภายในปี 2568-2569 การช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและรายย่อย เข้าถึงสินเชื่อผ่านกลไกค้ำประกัน ลดต้นทุนธุรกิจ การช่วยลูกหนี้แก้หนี้อย่างยั่งยืน และการขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ต่อเนื่องอย่างเข้มแข็ง ภายใต้ SMEs Digital Gateway เชื่อม Platform ค้ำประกันสินเชื่อกับ Eco System ด้วยบริการใหม่จาก Line OA และนำ Data มาใช้ในการพัฒนา New Business Model

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย บสย. สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มอบหมาย 3 เรื่องหลัก คือ 1.แก้หนี้ SMEs และหนี้ครัวเรือน 2.ให้ บสย. ใช้กลไกการค้ำประกัน เป็นหลักประกันช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 3. ให้ บสย. ร่วมขับเคลื่อน โครงการ IGNITE Thailand โดยให้ความสนใจการดำเนินงาน บสย. ในส่วนกระบวนการค้ำประกันสินเชื่อ และ การปรับโครงสร้างหนี้ ของลูกหนี้ บสย. โดย รมช. คลัง จะเร่งนำเสนอต่อครม.เพื่อพิจารณา โครงการ Portfolio Guarantee Scheme 11 (PGS11)วงเงินเบื้องต้น 50,000 ล้านบาท เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs เพื่อการขับเคลื่อนโครงการ IGNITE Thailand

นายสิทธิกร กล่าวต่อว่า แนวทางที่ 2 ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทาย คือการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อการบริหารจัดการหนี้ ตามนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย โดยขณะนี้ บสย. อยู่ระหว่างการพิจารณาผู้ร่วมทุน ซึ่งเบื้องต้นได้ร่วมหารือกับกลุ่มแบงก์รัฐ โดยยังมีรายละเอียดอื่นๆเข้ามาพิจารณาร่วมด้วย อย่างไรก็ตามโครงการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนตามกำหนดการจะต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีนี้

Advertisement

ขณะที่การบริหารจัดการหนี้ตามนโยบายรัฐแก้หนี้ยั่งยืน ตามมาตรการ บสย. ซึ่งประสบความสำเร็จมากตลอดระยะเวลาการดำเนินงานต่อเนื่อง 3 ปีนับตั้งแต่เปิดโครงการ โดยได้ต่อยอดและขยายความช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อให้กลับมาเดินหน้าธุรกิจได้ต่อไป ซึ่งปี 2567 นี้ ได้ต่อยอดด้วยมาตรการ ปลดหนี้ ซึ่งมีจำนวนลูกหนี้เข้าร่วมโครงการปลดหนี้เพิ่มขึ้น

” คาดว่าในไตรมาส 2-3 จะเห็นความชัดเจนของจำนวนลูกหนี้ที่ร่วมโครงการ ทั้งนี้คาดว่า ผลดำเนินงาน บสย.ช่วง 3 เดือน จะ มียอดอนุมัติค้ำประกันมากกว่า 12,000 ล้านบาท โดยจะสามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ภายในสัปดาห์นี้ ” นายสิทธิกร กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image