‘พิชัย’ แนะไทยถึงเวลา ‘Time for Action’ กุญแจ 3 ดอกไขประเทศไทย สู่เป้าหมายลดคาร์บอน

‘พิชัย’ แนะไทยถึงเวลา ‘Time for Action’ กุญแจ 3 ดอกไขประเทศไทย สู่เป้าหมายการลดคาร์บอน

วันที่ 22 สิงหาคม ที่แกรนด์ฮอลล์ ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก (เพลินจิต) หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ จัดงาน PRACHACHAT ESG FORUM 2024 หัวข้อ Time for Action : พลิกวิกฤต โลกเดือด โดย นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการะทรวงการคลัง เปิดงานสัมมนาและปาฐกถาพิเศษคือวันนี้ประเทศอยู่ห่างจากเป้าหมายที่มีพันธกิจไว้สักเท่าไหร่ โดยข้อมูลล่าสุด ประเทศไทยมีการปล่อยคาร์บอนไดร์ออกไซด์ประมาณ 370 ล้านตัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราสัญญาว่าในอีก 6 ปี ข้างหน้าจะลดให้ได้ 30% ของคาร์บอนไดร์ออกไซด์ที่ปล่อยในปัจจุบัน ก็คิดง่ายๆว่า ต้องลดที่ 120 ล้านตัน แต่ที่ผ่านมาเกือบ 10 ปี ก็ยังอยู่เท่าเดิม ยังไม่ได้มีการลดอะไร และตอนนี้เหลือ 6 ปีแล้ว จะทำอย่างไรให้ลดลงได้ 120 ล้านตัน

ทั้งนี้ 370 ล้านตัน เกิดจาก ภาคพลังงาน อาทิ การผลิตไฟฟ้า ผลิตน้ำมัน 70% ภาคการเกษตร ซึ่งคาดว่ามีเนื้อที่ 70 ล้านไร่ คิดเป็น 15% อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีการผลิต 10% และขยะ ทั้งขยะทั่วไปที่เราทิ้ง และขยะจากอุตสาหกรรม ประมาณ อีก 5% ตอนนี้คือ “Time for Action” ซึ่งใครจะแอคชั่น ส่วนไหนก็ต้องมาดูกัน แม้กระทั้งตลาดหลักทรัพย์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ Time for Action แน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่ได้

ส่วนคำตอบว่าเราจะทำตามเป้าได้สำเร็จไหมใน 6 ปีนั้น ถ้าเราจะลดได้ เราต้องโชว์ให้ชาวบ้านดู ว่าเราผลิตไฟฟ้าจาก renewable เช่น การผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน ซึ่งในหนึ่งปีไทยใช้ได้ 365 วัน 24 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นทั้งปี คือ 8,740 ชั่วโมง และการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน สามารถทำได้ ครึ่งหนึ่งของปี หรือราว 4,000 หน่วย

ADVERTISMENT

ทั้งนี้ ถ้ารวบรวมเขื่อนทั้งหมดที่ไทยมี และอยู่รอบๆประเทศ แล้วเรา commit ด้วยตนเอง ได้สัก 7,500 เมกกะวัตต์ ซึ่งบ้านเราใช้ไฟอยู่ 3.1-3.2 หมื่นเมกกะวัตต์ และประสิทธิภาพทำงานของเชขื่อนตามจริงประมาณ 50% หรือ 3,750 เมกกะวัตต์ ดังนั้น ก็จะประมาณ 1 ใน 8 ที่ต้องการใช้ แล้วรันทั้งปี ก็จะได้ประมาณ 30 ล้าน REC หรือใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) ซึ่ง 2 REC เท่ากับ 1 คาร์บอน เพราะฉะนั้น 30 ล้านREC เท่ากับลดคาร์บอนได้ 15 ล้านตันคาร์บอน จากที่ต้องลด 120 ล้านตัน

ADVERTISMENT

ถ้าเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากการใช้โซล่าเซลล์ ที่มีประสิทธิภาพตามจริง 19% ดังนั้นกำลังผลิต 7,500 เมกกะวัตต์ ได้จริงก็จะลดคาร์บอนได้เพียง 5 ล้านตันเท่านั้น รวมแล้วก็ทำได้เพียง 20 ล้านตันเท่านั้น จาก commitment เราทำไว้ว่าจะลด 120 ตันคาร์บอน ขาดอีก 100 ตันคาร์บอน ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญของประเทศ ขณะที่ด้านการเกษตรซึ่งใน 60 ล้านไร่ที่ปลูกข้าว ถ้ามีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเก็บคาร์บอน 10-20 ล้านไร่ ซึ่งปีหนึ่ง ถ้าผลิตข้าวได้ประมาณ 2 รอบ ก็จะลดการปล่อยคาร์บอนได้ 10-20 ล้านตัน หรือ หรือ 1 ไร่ ทำได้ ครึ่งตัน

ทำไมการเปลี่ยนการปลูกข้าวเพื่อลดคาร์บอนถึงได้ผลเยอะนั้น มีงานศึกษา ระบุว่า การปลูกข้าวของไทยเป็นแบบโบราณ ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้ว น้ำในนาก็จะอยู่ได้ 15 วันก็แห้ง และถ้าปลูกแบบความเชื่อเดิม เมื่อน้ำแห้งก็ต้องสูบน้ำมาเติม ขังไว้ 15 วัน แต่จริงงานวิจัย ระบุว่าไม่จำเป็น เพราะแม้ 15 วันน้ำจะแห้งไป แต่ต้นข้างมีรากลึกพอที่จะเติบโตต่อได้ ดังนั้นค่อยเติมน้ำหลังจาก 30 วันก็ได้ และการที่มีน้ำขังในนาน้อยลงก็จะทำให้มีเทนน้อย ซึ่งมีเทน เป็นตัวที่หนักกว่าคาร์บอนอีก มีผลต่อค่าความร้อนในอากาศมาก

ส่วนขยะก็เป็นปัญหาโลกแตกของประเทศไทย ผังกลบ ไม่ผังกลบ ขยะอุตสาหกรรม ซากรถยนต์ ซากเหล็ก ซึ่งในทุกวันนี้ มีแค่ผู้ประกอบการรายย่อย ระดับขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เท่านั้นที่รับจัดการต่อ วันนี้ยังไม่มีตื่นตัวว่าจะทำสิ่งเหล่านี้ เพราะคิดว่ามันเปลืองและไม่คุ้ม

ดังนั้น กุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในเรื่องนี้ มี 3 สิ่ง ซึ่งต้องมีทั้ง 3 สิ่งนี้พร้อมๆกัน เพื่อจะทำให้สิ่งที่เราต้องการสำเร็จ คือ 1.คาร์บอนเครดิต และใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) เพียงพอ ซึ่งพูดเหมือนง่าย มีเยอะๆ เพื่อพิสูจน์ต่อชาวโลก การจะทำได้ต้อง 2.นโยบาย ระเบียบ ที่ผ่อนปรน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ว่ากระบวนการตัดเก็บคาร์บอน เป็นสากลและเป็นที่ยอมรับของชาวโลก และมีมูลค่า

ซึ่งของจะมีมูลค่าได้ ก็ต่อเมื่อมี 3.การซื้อขาย เหมือนเครื่องมือทางการเงินทั่วไป มีดิจิทัล แพลตฟอร์มที่ใช้ซื้อขาย ซึ่งตอนนี้ก็ดูไปที่ TDX หรือ Thai Digital Assets Exchange หรือ บริษัท ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จำกัด ที่ทุกวันนี้ไม่ได้แอคทีฟ เหมาะกับการใช้ และอยากผลักดันให้เกิด เพื่อให้เห็นว่า 1REC มีค่าเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ตอนนี้ สิงคโปร์ มีมาตรการเกี่ยวการลดคาร์บอนแล้ว คือใครที่จะส่งสินค้าเข้าไปในสิงคโปร์ ถ้ามีส่วนที่ปล่อยคาร์บอนอยู่ จะต้องเสีย 25 เหรียญดอลลาร์สิงคโปร์ หรือราว 17 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 REC และเขาก็มีการปรับขึ้นเป็นขั้นบันได ซึ่งในปี 2030 จะเพิ่มขึ้นไปเป็น 70 เหรียญดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 49 เหรียญสหรัฐ ต่อ1 REC และ 2Rec เท่ากับ 1 ตันคาร์บอน ดังนั้น ราคาของคาร์บอนในปี 2030 จะอยู่ราว 98 เหรียญสหรัฐ ซึ่งราคานี้พอๆกับราคาที่ซื้อขายคาร์บอนในยุโรป ราว 100 เหรียญสหรัฐต่อตัน สะท้อนว่าโลกกำลังเดือด

แต่วันนี้ในไทยมีคนที่ เก็บ REC อยู่เหมือนกัน แต่ซื้อขายกันที่ราคาเพียง 2 เหรียญสหรัฐ เทียบกับกับราคาในสิงคโปร์ที่ตลาดอยู่ติดกันแล้ว ต่างกันมาก แต่ถ้ามีการเทรดกันในตลาดราคาก็จะวิ่งขึ้นแน่นอน ดังนั้น REC ซื้อได้ เราอาจจะเห็นคนจากระเทศอื่นซื้อ แล้วก็เข้าแพลตฟอร์ม แล้วทำไม่เราจะต้องคนอื่นไม่ได้

ถ้าทำสิ่งเหล่านี้แล้ว ส่วนที่ 1 ก็อยากจะเห็นศักยภาพ ที่มองไปรอบๆแล้วถ้าเราซีเรียสที่จะทำ ก็อยากจะเห็นก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง เมื่อเราเกิดการตื่นตัวทั้งประเทศ ที่ทำทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระบบปัจเจกบุคคล เอสเอ็มอี บริษัทขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำแอคทิวิตี้อะไรก็ช่วยลดได้ จะจัดแข่งกีฬา มีผู้ชม 4-5 หมื่นคน แล้วมีแคมเปญลดไม่ทิ้งกระป๋อง ขวดน้ำ ก็ทำได้ เก่งๆหน่อย ถ้าบริษัทน้ำมันจะทำการเก็บคาร์บอน จากในอ่าวก็ยิ่งช่วยได้

ส่วนที่ 2 คือ อยากเห็นการเพิ่มสัดส่วนขึ้น renewable ใน Power Grid ในไทย เพราะตอนนี้สัดส่วน renewable ในบ้านเรายังน้อย เพราะบ้านเราตอนเกิดใหม่ๆในราคาแพง แต่ตอนนี้ก็ให้ราคาถูกเกินจนไม่คุ้มทุน เพราะฉะนั้น จึงไม่ค่อยเกิด ส่วนที่ 3 ก็ต้องดู การลงทุนในตัว renewable energy ที่ตอนนี้มีรีเทริ์นที่ 6% อาจจะต่ำไปหรือไม่ แต่พอรวมกับ REC ที่ผ่านการรับรองและนำไปซื้อขายได้ ก็ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว อาทิ เขื่อน 100 เมกกะวัตต์ เราสามารถมีรายได้ 500 ล้านบาทได้

ส่วนที่ 4 การเพิ่มความน่าสนให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะ FDI ซึ่งถ้านักลงทุนรู้ว่าไทยกำตื่นตัวเรื่องนี้ ก็จะรีบมากันเลย ว่าที่ไทยเป็นบรรยากาศที่เหมาะกับที่เขาจะอยู่ สินค้าที่ผลิตเป็นที่ต้องการของทั่วโลก สุดท้าย ส่วนที่ 5 ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา หรือ commitment ได้ เป็นชื่อเสียง เป็นหน้าตาม และเป็นส่วนหนึ่งประชาคมโลก และพร้อมขีดความสามารถของประเทศในเทวีโลก นี้คือสิ่งที่ไทยเราจะได้

ทั้งนี้ หันกลับมาในหมวกของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลก็ต้องมี commitment ด้วย โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็มีการตั้งหน่วย คือ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่จะดูแลเรื่องนี้โดยตรง และมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นองค์กรอิสระที่อาสาทำเรื่องนี้เช่นกัน

“ทั้งหมดนี้ คือความเดือดร้อนโลกเดือด ปัญหาที่ประเทศไทยต้องกล้า แต่มันก็มีความท้าทายซ่อนอยู่ ถ้าเราทำได้มากกว่าที่เราเป็น ประเทศไทยก็จะสามารถก้าวไปเป็นผู้นำใรอาเซียน กลายเป็นผู้ส่งออกคาร์บอนเครดิต แทนที่เราเป็นคนต้องซื้อ” นายพิชัย กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image