“ดีอี”ขอกำลังเพิ่ม100อัตราเสริมทัพ-ชงอัดฉีดเงินเดือนล่อสูงสุดถึง218,400 บาท

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) เปิดเผยความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างกระทรวงดีอี ว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมาได้มีการหารือกับ นางเมธินี เทพมณี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ถึงการขอกำลังพลในส่วนที่ขาดหายไปของกระทรวงดีอี ภายหลังปรับเปลี่ยนมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) โดยกระทรวงได้ร้องขอกำลังคนไปทั้งสิ้น 100 อัตรา ภายในปี 2560 เพื่อเสริมอาวุธในการทำงาน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวกระทรวงได้เสนอขึ้นเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าพนักงานราชการทั่วไป เพื่อเป็นการจูงใจบุคคลที่มีความสามารถเข้ามาทำงาน เนื่องจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถส่วนใหญ่มักไม่เลือกทำงานกับหน่วยงานรัฐ เนื่องจากราชการมีฐานเงินเดือนจูงใจที่น้องกว่าเอกชน โดยรายละละเอียดการดำเนินงานต่างๆคาดจะสามาถจัดทำเสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายนนี้

นายพิเชฐ กล่าวว่า สำหรับฐานเงินเดือนขอบุคคลการทั้ง 100 คน ประกอบด้วย ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกิจ เงินเดือน 37,680-68,350 บาท, ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ระดับ1 เงินเดือน 109,200 บาท, ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญภายในประเทศ เงินเดือน 163,800 บาท และตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญระดับสากล เงินเดือน 218,400 โดยทุกตำแหน่งจะมีการจ้างงานในลักษณะพนักงานอัตราจ้างทำสัญญา 4 ปี จากนั้นจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน(เคพีไอ) เพื่อพิจารณาต่อสัญญา รวมทั้งพนังงานในส่วนดังกล่าวทางกระทรวงดีอีจะมีสวัสดิการให้ในระดับเดียวกันกับบุคคลากรขององค์การมหาชน ซึ่ง สำหรับการสรรหา เฉพาะตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกิจเท่านั้นที่จะมีการเปิดการสรรหา ส่วนตำแหน่งอื่นจะสรรหาโดยวิธีการชักชวน หรือทางทามบุคคลที่มีความสามารถในสาขาต่างๆที่ตรงกับความต้องการ และขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยต่างๆให้ช่วยสรรหาบุคคลากรระดับหัวกระทิมาทำงานร่วมกับกระทรวงดีอี

อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติเบื้องต้นที่กระทรวงดีอีต้องการ คือ ต้องเป็นผู้ที่มีประวัติการทำงานดี เช่น เคยสอนหนังสือระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หรือเคยทำงานองค์การนาซา เป็นต้น ซึ่งทางกระทรวงไม่จำกัดเรื่องของอายุ หรือการทำงานปัจจุบัน อยู่ภาครัฐ หรือ เอกชน และในหรือนอกประเทศ

นายพิเชฐ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังรับว่าโครงสร้างการทำงานของกระทรวงดีอีปัจจุบันยังไม่เป็นลักษณะดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเต็มรูปแบบ เนื่องจากยังไม่มีการดำเนินการภารกิจงานใน 2 ส่วนสำคัญ 1.ฝ่ายกำกับดูแลฮาร์ดแวร์ เช่น การดูแลห้องวิจัยด้านดิจิทัลต่างๆ อาทิ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมด้าน Internet of Things(ไอโอที) หรือ ศูนย์จัดเก็บข้อมูล(ดาต้าเซ็นเตอร์) และ 2.ยังไม่มีศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านดิจิทัลของตนเอง ทั้งที่เรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเราจำเป็นต้องวิเคราะห์เรื่องต่างๆ เช่น ประเทศอื่นมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไอโอทีอย่างไร ประเทศไทยควรพัฒนาด้านใด เพื่อว่างกลยุทธ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านดิจิทัลในด้านต่างๆของประเทศ ทั้งนี้ บุคลากรบางส่วนที่กระทรวงดีอีจะสรรหาในครั้งนี้ จะนำมาดำเนินการใน 2 ด้านดังกล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image