“ดีอี”ส่งเทียบเชิญ”เฟสบุ๊ก-กูเกิ้ล-อเมซอน”ตั้งสำนักงานที่ดิจิทัลพาร์ค-ติงคิดให้ดีก่อนเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซหวั่นทำนวัตกรรมใหม่สดุด

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) เปิดเผยความคืบหน้าในการจัดตั้ง ดิจิทัลพาร์ค ไทยแลนด์ ว่า ในขณะนี้นี้ทางกระทรวงดีอี ได้จัดทำหลักการการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ดิจิทัลพาร์ค ไทยแลนด์ ในเบื้องต้นเสร็จสิ้นแล้ว โดยในวันที่ 13 มีนาคมนี้ จะนำหลักการดังกล่าวเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการด้านการประชุม คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (อีอีซี) ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน โดยหากคณะกรรมการจุดดังกล่าวเห็นชอบ จะมีการนำเสนอบอร์ดอีอีซี ชุดใหญ่ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประเทศ เพื่อความเห็นชอบในลำดับถัดไป

นายพิเชฐ กล่าวว่า สำหรับหลักการของ ดิจิทัลพาร์ค ไทยแลนด์ คือ เขตนิคมอุตสากหรรมเพี่อสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านดิจิทัล เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างสรรค์งานด้านดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งขณะนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าจะมีขึ้นในพื้นที่ 500 ไร่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งปัจจุบันเป็นของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) โดยล่าสุดทางกระทรวงดีอี ได้เริ่มมีการหารือและเชิญบริษัทชั้นนำของโลกให้มาตั้งสำนักงานในดิจิทัลพาร์ค ไทยแลนด์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาทิ เฟสบุ๊ก กูเกิ้ล และอเมซอน เป็น โดยในส่วนของสิทธิประโยชน์บริษัทที่จะเสนอให้แก่บริษัทที่จะมาตั้งสำนักงานในดิจิทัลพาร์ค ไทยแลนด์ คือ ยกเว้นภาษี 8 ปี และลดหย่อน 50% ในอีก 5 ปีถัดมา เท่ากับสิทธิประโยชน์สูงสุดของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ส่วนผู้ที่ทำงานในพื้นที่ของดิจิทัลพาร์ค ไทยแลนด์ จะมีให้เลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.การเสียภาษีแบบขั้นบันไดตามปกติ และ 2.การเสียภาษีในอัตราคงที่ 17%

นายพิเชฐกล่าวว่า นอกจากนี้จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่าจะมีการจัดเก็บภาษีจากบริการด้านไอทียักษ์ใหญ่ของต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการการขายสินค้าออนไลน์(อี-คอมเมิร์ซ) อาทิ เฟสบุ๊ก กูเกิ้ล ไลน์ ยูทูป และ ลาซาด้า เป็นต้น โดยจากกรณีดังกล่าว ส่วนตัวเห็นว่าควรต้องชั่งน้ำหนักกันระหว่างการจัดเก็บภาษี และส่งเสริมนวัตกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ของโลก จนโลกตามไม่ทัน

“ฉะนั้นเมื่อเทคโนโลยีกำลังอยู่ในช่วงเติบโตอย่างรวดเร็ว เราก็ไม่ควรที่จะรับ/ไปเบรก เพราะหากรีบไปเบรกการพัฒนาก็จะไม่เกิด ซึ่งการการจะเก็บภาษีบริษัทเหล่านี้หรือไม่ รัฐบาลเอกก็จะต้องดูกระแสโลกด้วยเช่นกัน” นายพิเชฐ กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image