ดีอี ลุยนโยบาย โก คลาวด์ เฟิร์ส ดันระบบทำงานรัฐแบบไร้กระดาษ เล็งทำนิติกรรมที่ดินโดยไม่ต้องไปสำนักงาน

ดีอี ลุยนโยบาย โก คลาวด์ เฟิร์ส ดันระบบทำงานรัฐแบบไร้กระดาษ เล็งทำนิติกรรมที่ดินโดยไม่ต้องไปสำนักงาน

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่ ห้อง Ballroom 1 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ หนังสือพิมพ์มติชน และมติชนออนไลน์ จัดสัมมนา “Matichon Leadership Forum 2025 Trust Thailand : เชื่อมั่นประเทศไทย”

โดยในภาคบ่ายเมื่อเวลา 13.35 น. ศ.(พิเศษ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) บรรยายพิเศษ หัวข้อ “ดิจิทัล-ไซเบอร์ สู่ความเชื่อมั่น” ว่าถ้าพูดถึงโลกดิจิทัล เราอาจจะเข้าใจว่าเป็นโลกที่ห่างไกลตัว และการพัฒนาในปัจจุบันนั้นดิจิทัจเป็นโครงสร้างพื้นฐาน มีความสำคัญเท่ากับถนน แม่น้ำ สะพาน ณ เวลา นี้ตัวเลขของผู้ที่ใช้อี-เพย์เมนท์ในประเทศไทยอยู่ที่ 8 ล้านล้านบาทต่อปี มูลค่าของอี-คอมเมิร์ซไทย อยู่ที่ 6 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งเทียบกับงบประมาณรัฐบาลอยู่ที่ 3 ล้านล้านบาทต่อปีเท่านั้น หมายความว่าการหมุนเวียนของระบบดิจิทัลไทยอยู่ในระดับที่ดี

ส่วนความเชื่อมั่นกับดิจิทัลนั้น ส่วนตัวมองว่าในการสร้างความเชื่อมั่นเราไม่สามารถมาบอกได้ว่าเราต้องเชื่อมั่น เพราะความเชื่อมั่นจะเกิดได้เมื่อเรามีความรู้ ความเข้าใจ และรู้ว่าเราจะไปไหน ฉะนั้น ความเชื่อมั่นจะเกิดได้เมื่อเรารู้ว่าไทยมีความสามารถในการแข่งขันในเรื่องนั้นๆดีหรือไม่ดี ซึ่งปัจจุบันโลกเรามีการวัดความสามารถในการแข่งขันดิจิทัล

ADVERTISMENT

ศ.(พิเศษ) วิศิษฏ์ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ในแรงกิ้งดิจิทัลนั้น อยู่ประมาณกลางๆ โดยหน่วยงานจัดอันดับที่ได้รับความเชื่อถือกัน คือ International Institute for Management Development หรือ IMD จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศ ประจำปี 2567 นั้นไทยอยู่อันดับที่ 37 จาก 67 เขตเศรษฐกิจ ส่วนรัฐบาลไทยนั้นตั้งเป้าหมานว่าไทยควรอยู่อันดับที่ 30 ให้ได้ ก็ตะถือว่าเป็นอันดับท็อปของโลก

ADVERTISMENT

ทั้งนี้ เวลาวัดการจัดอันดับให้ลึกลงไปนั้น จะมองที่ กรอบที่ 1 คือมีองค์ความรู้ในเรื่องดิจิทัล ซึ่งจะวัดในเชิงลึกทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และคนในประเทศ มีความรู้ ได้รับการเรียนรู้ มีความสามารถซึ่งไม่ใช่แค่ความสามารถในการดิจิทัล แต่รวมไปถึงการทดสอบ อาทิ โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) เป็นต้น ซึ่งคะแนนของไทยยังไม่ดีเท่าไหร่

กรอบที่ 2 คือความสามารถด้านเทคโนโลยี อาทิ ความสารถของอินเตอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ระบบแพลตฟอร์ม และกรอบที่ 3 คือ ความพร้อมที่จะเดินไปในอนาคต (future readiness) ซึ่งตัวสำคัญคือ ความพร้อมในการเป็นรัฐบาลดิจิทัล

“คะแนนทั้ง 3ตัวของไทย ถ้าไปดูไทยมักจะไม่เป็นสองรองใคร อยู่ในระดับท็อป คือด้านเทคโนโลยี ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่อะไร คนไทยเข้าถึงได้หมด คนมีไอแพดใช้จำนวนมาก และเรื่องอินฟราสตรัคเจอร์ด้านดิจิทัล ประเทศไทยก็อยู่ในอันดับ 20 ต้นๆ”

ศ.(พิเศษ) วิศิษฏ์ กล่าวว่า แล้วถ้าจะทำให้อันดับเหล่านี้ดีขึ้นนั้น จากที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบในเชิงยุทธศาสตร์ เราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน การเชื่อมโยงสายอินเตอร์ จนไปถึงการที่ตั้งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของดาต้า เซ็นเตอร์ และไทยก็มีทรัพยากรที่พร้อมมาก ซึ่งรัฐบาลได้ก็ได้มีการชักชวนนักลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ ทั้งในไทย และจากต่างประเทศ อาทิ คลาวด์ (Cloud) ก็เป็นดาต้า เซ็นเตอร์ประเภทหนึ่งเช่นกัน ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลไว้ในที่ที่หนึ่งไม่ต้องหาที่เก็บไม่ต้องมานั่งดูแล เพราะฉะนั้น มีการศึกษาแล้วว่า ถ้ามีการใช้คลาวด์ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายจำนวนมากของแต่ละหน่วยงาน เพราะทำให้ลดการดูแล เรื่องไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ ซึ่งเป็นต้นทุนมหาศาล

เพราะฉะนั้น ทำให้รัฐบาลมีกรประกาศนโยบาย “โก คลาวด์ เฟิร์ส” คือ การย้ายการทำงานจากระบบปกติไปอยู่บนคลาวด์ ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดว่าคลาวด์ต้องอยี่ไหนบ้าง ซึ่งแน่นอน คลาวด์นั้นต้องอยู่ในประเทศไทย ซึ่งการลงทุนคลาวด์นั้น ไม่ได้พูกในระดับพันล้าน แต่อยู่ในระดับ 50,000-100,000 ล้านบาท ขึ้นไปในแต่ละที่ซึ่งคลาวด์ จะเป็นโครงสร้างสำคัญควบคู่ไปกับระบบอินเตอร์เน็ต นอกจาก นโยบาย “โก คลาวด์ เฟิร์ส” รัฐบาลได้ประกาศนโยบายอัพเกรดงานของรัฐบาลทั้งหมดขึ้นไปอยู่บนคลาวด์ ซึ่งเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับ กรอบที่ 3 ความพร้อมที่จะเดินไปในอนาคต (future readiness) หรือ การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(e-Government)

“อาจจะไม่เชื่อว่าระบบงานราชการจำนวนมาก จะทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มร้อย อาจจะมองว่าทำไปก็ไม่ได้ใช้หรอก แต่อยากจะบอกว่ากระทรวงดีอี กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ และอีกหลายกระทรวงนั้น ได้ดำเนินการในการทำระบบการลดหรืองดใช้กระดาษ หรือ paperless ซึ่งจะทำ paperless ได้ก็ต้องทำคลาวด์ แบ็คอัพ ทุกวันนนี้ไม่ต้องพกปากกาแล้ว และการทำงานได้ทุกที่ เหมือนเล่นไลน์ แต่คลาวด์มีระบบยืนยันตัวตนที่ปลอดภัยกว่า”

ศ.(พิเศษ) วิศิษฏ์ กล่าวว่า ทั้งหมดนี้หมายความว่า รัฐบาลได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานอีกหลายตัว ตัวแรกคือ software access service mที่ในปีหน้ารัฐบาลกำหนดว่า ข้าราชการใช้ระบบกว่า 1 ล้านคน โดยปัจจุบันมีข้าราชการใช้อยู่ 1 แสนคน ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้หน่วยงานเข้าสู่ระบบมากขึ้น อาทิ สํานักงานเลขาธิการสํานักนายกรัฐมนตรี สํานักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมไปถึง องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. ฉะนั้น เราจะเห็ฯระบบราชการเป็น paperless

และ ระบบ paperless จะมีความสำคัญในการช่วยให้การทำงานรวดเร็ว จ่อไปนี้ประชาชนที่ติดต่อกับราชการจะใช้ดิจิทัลไอดีมากขึ้น ทุกคนต้องมีดิจิทัลไอดีมากกว่าหนึ่ง อาทิ ข้อมูลบุคคลของกรมการปกครอง ข้อมูลจากเอกชน อย่างเช่น การบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (NDIN) ซึ่งสำคัญในการทำให้ประชาชนติดต่อ ยื่นคำร้องโดยไม่ต้องใช้ไปดำเนินการที่สถานที่ตั้งหน่วยงาน อย่างการจดทะเบียนที่ดิน ก็จะไม่ต้องไปสำนักงานที่ดินอีกต่อไป กระบวนการทั้งหมดจะลดต้นทุกเรื่องการติดต่อ ดีอีจึงให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้

ทั้งนี้ปัจจุบันมีคนถือดิจิทัลไอดีแล้วกว่า 30 ล้านคน ขณะเดียวกันถ้าระบบหลังบ้านของราชการเข้าสู่ระบบดิจิทัล ก็จะทำให้การทำงานราชการต่อไปนี้เป็น fully paperless ในที่สุด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image