“พิชัย” เชื่อปัญหา ภูมิรัฐศาสตร์ เป็นโอกาสของไทย ทำเลเชื่อมต่อซัพพลายเชนโลก จากสองมหาสมุทร มีสภาพคล่องล้น 4 ล้านล้านบาทรอลงทุน
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ที่โรงแรม ดิ แอทธนี โฮเทล แบงค็อก กรุงเทพฯ นายพิชัย ชุณหวิชร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถา เรื่อง “ความพร้อมประเทศไทยเพื่อการเป็นจุดหมายการลงทุนระดับโลก” ในงาน Ignite Thailand: Invest in Endless Opportunities จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ว่า ในช่วงมากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ไทยเราอาจจะมีกิจกรรมด้านการลงทุนที่น้อยไปหน่อย โดยเฉพาะกับต่างประเทศ ฉะนั้น ใน 3-6 เดือนของรัฐบาล ก็ใช้เวลาไปกับการทำความรู้จักกับตลาด ไม่ว่าจะเป็นทางสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือ ในทวีปเอเชีย ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความคุ้นเคยกับไทยมายาวนานกว่า 60 ปี
นายพิชัย กล่าวว่า โดยหลักจากนั้นก็จะเห็นว่านักลงทุนต่างประเทศเหล่านั้น ก็เข้ามาลงทุนในไทย แต่เป็นอุตสาหกรรมที่เฉพาะ อาทิ ด้านอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ภาคการเกษตร ไบโอเทคโนโลยี รวมไปถึงด้านการท่องเที่ยวและบริการ สะท้อนจากตัวเลขในปี 2567 ที่มียอดคำขอบีโอไอสูงเป็นประวัติการณ์ รวมมูลค่า 3 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 1 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และรถยนต์ไฮบริจ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
“นักลงทุนทุกคนที่เข้ามาไม่ได้แสดงความสนใจลงทุนอย่างเดียวแต่ถามว่าถ้าเข้ามาแล้ว ไทยเรามีการเตรียมความพร้อมอย่างไร ขณะเดียวกัน จากเรื่องปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และการเมืองโลกในตอนนี้เป็นจังหวะ ที่หลายคนบอกว่าเป็นวิกฤต แต่ผมมองว่าเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย”นายพิชัย กล่าว
นายพิชัย กล่าวว่า สำหรับการที่จะประกาศว่าประเทศไทยพร้อมแล้วสำหรับการจะเป็นศูนย์กลางของการลงทุนในภูมิภาคเหมือนที่เคยเป็นในอดีตนั้น สิ่งแรกที่นักลงทุนถามคือ เรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ซึ่งในอดีตเมื่อ 40 ปี ก่อนไทยเคยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง แม้จะเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น แต่ขณะนั้นเป็นช่วงที่มีฐานต่ำ และจากนั้นการรักษาอยู่ในระดับ 4-6% ต่อปี จนมาถึงช่วงโควิดก็ลงมีต่ำประมาณ 2% ดังนั้นวันนนี้เป็นก้าวที่สำคัญในการที่เศรษฐกิจไทย จะเจริญเติบโตในระดับ 3-3.5% ซึ่งเป็นเป้าหมายของรัฐบาลในปีนี้ แต่คงไม่ใช่เป้าหมายนระยะยาว
“สำหรับนักลงทุนที่ขอบีโอไอ รวมกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯนั้น แตกต่างจากนักลงทุนที่ผ่านมาที่ขอลงทุนแล้ว อีก 3 ปีต่อไปกว่าจะใช่เงินลงทุน แต่นักลงทุนกลุ่มใหม่นั้น ต้องการให้การลงทุนรวดเร็ว รัฐบาลการจึงต้องเร่งรัฐการทำงาน เนื่องจากทุกคนต้องการเชื่อมต่อซัพพลายเชนของโลกที่เริ่มสะดุด ซึ่งไทยถือเป็นจุดเชื่อมต่อที่ดีแห่งหนึ่ง ถือเป็นวิน-วิน โซลูชั่น”นายพิชัย กล่าว
นายพิชัย กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นจุดหมายของการลงทุน โดยเรื่องแรกคือ ทำเลที่ตั้ง อยู่ในพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยประชากรโลก 600-700 ล้านคน เรื่องที่สอง คือ ไทยเราน่าจะเป็นประเทศเดียวที่สามารถเป็นจุดเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก กับมหาสมุทรอินเดีย ที่เป็นการเชื่อมคนขายและคนซื้อทรัพยากร เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงเร่งทำโครงการรถไฟรางคู่เพื่อเชื่อมต่อทุกจุดให้ลื่นไหล โดยรถไฟรางคู่จากกรุงเทพ เชื่อมถึงประเทศลาว จะเสร็จสิ้นในอีก 4 ข้างหน้า
นายพิชัย กล่าวว่านอกจากนี้ไทยยังมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าสูง ถึงแม้เศรษฐกิจจะโตต่ำแต่ไทยก็มีการลงทุนด้านการผลิตไฟฟ้า จนทำให้เกิดการผลิตไฟฟ้าได้เกินความต้องการที่จะใช้ในประเทศแล้ว คาดว่ามากกว่า 1 หมื่นเมกะวัตต์ จึงเป็นโอกาสที่ดีในดึงดูดลงทุน เหลือแค่ว่าจะทำอย่างไรให้มีราคาไฟฟ้าที่เหมะสม และแข่งขันได้ รวมถึงการผลิตไฟฟ้าอย่างไรให้มีความเป็นสีเขียว และรัฐบาลก็เร่งสนับสนุนในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องอินเตอร์เน็ต 5จี ก็มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี
นายพิชัย กล่าวอีกว่า สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยนั้น ยืนยันว่ามีเสถียรภาพทางการคลังยังคงเข้มแข็ง แม้ว่ามีจีดีพีจะเติบโตไม่สูง แต่พื้นฐานจากในอดีตทำให้ไทยมีความมั่นคงทางการคลัง และมีเม็ดเงินสำรองระหว่าประเทศในระดับ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐอยู่เสมอ ซึ่งสูงกว่าหนีระยะสั้นของไทยที่มีอยู่ในต่างประเทศมากถึง 3 เท่า
“รวมไปถึงประเทศไทยมีสภาพคล่องที่ยังเหลืออยู่จำนวนมาก ที่ไม่ใช่ไม่อยากใช้ แต่แค่รอว่าจะมีการรับรองว่าเม็ดเงินเห่านี้ถูกดึงไปแล้ว จะมีผลตอบแทนที่มั่นคง และได้คืนหรือไม่ ซึ่งคาดว่ามีเม็ดเงิน 4 ล้านล้านบาท ที่รอไปใช้เพื่อการลงทุน ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจธนาคารไทยมีความแข็งแรง”นายพิชัย กล่าว
นายพิชัย กล่าวว่าและที่ผ่านมานักลงทุนอาจจะรู้สึกว่าการทำงานระบบราชการช้า วันนี้รัฐบาลก็ได้เริ่มปรับปรุงในเรื่องการอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจ โดยระยะแรกคือ การทำศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Service และในระยะถัดไปก็จะต้องยกระดับไปสู่การอนุมัติอัตโนมัติ (automatic approval) บนดิจิทัล แพลตฟอร์ม