สรท. คาดพิษภาษีทรัมป์ ฉุดส่งออกครึ่งปีหลังร่วง เล็งปรับลดเป้าจากเดิมโต 1-3%

สรท. คาดพิษภาษีทรัมป์ ฉุดส่งออกครึ่งปีหลังร่วง เล็งปรับลดเป้าจากเดิมโต 1-3%

เมื่อวันที่ 3 เมษายน นายธนากร เกษตรสุวรรณ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า การที่สหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าประเทศไทย 36% สูงเกินคาดหมาย โดยคำนวณจากยอดเกินดุลการค้าของไทย ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารประเมินมูลค่าความเสียหายจากการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐได้ ซึ่งจะมความชัดเจนมาขึ้นในเดือนพ.ค.นี้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลควรใช้โอกาสนี้ปฏิรูปโครงสร้างการผลิต และทบทวนนโยบายกับประเทศคู่ค้าทั้งหมด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการในประเทศ

“สรท.ตั้งเป้าการส่งออกทั้งปี ขยายตัว 1-3% โดยอาจจะมีการปรับเป้าหมายการส่งออกอีกครั้งในไตรมาส 2 โดยขอหารือกับผู้ประกอบการเพื่อประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมาเป็นรายสินค้าแต่ละตัว ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง”นายธนากร กล่าว

นายธนากรกล่าวว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เสมือนระเบิดเวลาที่จะกระทบการส่งออกไทย ประกอบด้วย 1.Trade War Trump 2.0 ความไม่นอนของเศรษฐกิจโลกและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ 2. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่ยังไม่มีข้อยุติทั้ง รัสเซีย-ยูเครน และ อิสราเอล-กลุ่มฮามาส 3. ค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวน เป็นผลมาจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และทองคำ 4. ค่าระวางเรืออาจเพิ่มขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า และ 5.ความกังวลเกี่ยวกับมาตรการของสหรัฐฯ ต่อเรือขนส่งสินค้าที่ต่อในประเทศจีน (Chinese-Built vessel)

ADVERTISMENT

นายธนากร กล่าวว่า สรท. มีข้อเสนอ 3 เร่งที่สำคัญ คือ 1. เร่งเจรจาสหรัฐ โดย ส่งเสริมการลงทุนไทยในสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการกีดกันทางการค้า ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เร่งนำเข้าสินค้าที่ไทยต้องการจากสหรัฐฯ เพื่อลดการเกินดุลการค้าและ ใช้แนวทาง ASEAN+ ในการเจรจา เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองกับสหรัฐ

2. เร่งเจรจาและใช้ประโยชน์ FTA กับประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น เพื่อกระจายความเสี่ยงทางการค้า และกระจายสินค้าไปในตลาดอื่นได้มากขึ้น ซึ่งภาครัฐ โดยเฉพาะทูตพาณิชย์ ต้องมีการทำงานอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน

ADVERTISMENT

3. เร่งปฏิรูปการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย โดยสนับสนุนการลงทุน ใช้วัตถุดิบและทรัพยากรในประเทศไทยเป็นส่วนประกอบหลัก การมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมต้นน้ำและซัพพลายเออร์ภายในประเทศ เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านำเข้า จากการหลบเลี่ยงมาตรการสหรัฐเข้ามาทุ่มตลาดไทย รวมถึงการทำ re-export ผ่าน Free Zone และ เร่งปฏิรูประบบโลจิสติกส์และการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อลดต้นทุนการค้าระหว่างประเทศของไทย ให้แข่งขันได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image