กระทรวงเกษตรฯรับช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยืดรับซื้อต่อครบ 10,000 ตัน

กระทรวงเกษตรฯรับช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยืดรับซื้อต่อครบ 10,000 ตันตามเป้า หวังพยุงราคากุ้งขาวในท้องตลาดให้ขยับสูงขึ้นต่อเนื่อง

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือความก้าวหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง สมาคมแช่เยือกแข็งไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมหารือแนวทางแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำร่วมกัน โดยมีมติเสนอความช่วยเหลือในโครงการประชารัฐรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไม ปี 2561 ดำเนินการรับซื้อกุ้งขาวแวนนาไมจากเกษตรกรในราคานำตลาด เพื่อพยุงไม่ให้สถานการณ์ราคากุ้งตกต่ำอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายจำนวน 10,000 ตัน ระยะเวลา 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม-23 กรกฎาคม 2561 นั้น ขณะนี้ สถานการณ์ราคากุ้งขยับตัวขึ้นเป็น 120 บาท/กก. (กุ้งขนาด 100 ตัว/กก.) จากเดิมราคา 105-110 บาท/กก.

“สำหรับประเด็นหารือในวันนี้ สมาคมแช่เยือกแข็งไทย ได้เข้าชี้แจงความก้าวหน้าโครงการประชารัฐรักษาเสถียรภาพราคากุ้งฯ ขณะนี้ รับซื้อได้เพียง 195 ตัน จากเป้าหมาย 10,000 ตัน เนื่องจากมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยเป็นหลัก ซึ่งมีต้นทุนการเลี้ยงสูง และขั้นตอนดำเนินการจับคู่ธุรกิจซับซ้อน จึงทำให้ใช้เวลานานกว่ากระบวนการรับซื้อจะแล้วเสร็จ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯได้ขอความร่วมมือสมาคมแช่เยือกแข็งไทย ขยายเวลารับซื้อกุ้งให้ครบ 10,000 ตันต่อไป ในขณะเดียวกัน สมาพันธ์เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งไทย ยื่นข้อเสนอให้กระทรวงเกษตรฯพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ขอให้ช่วยเหลือดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในอัตราร้อยละ 3 ซึ่งกระทรวงเกษตรฯได้ประสานกระทรวงพาณิชย์ เตรียมเสนอเรื่องต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวันที่ 7 มิถุนายน นี้ 2) ขอให้ปรับอัตราค่าไฟฟ้าเป็นอัตราไฟเกษตร เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยได้ประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และกระทรวงมหาดไทยรับไปพิจารณาแล้ว และ 3) การขอเลี้ยงกุ้งในเขตชายฝั่ง และการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด โดยกระทรวงเกษตรฯได้ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลโดยตรงรับไปพิจารณาต่อไป” นายกฤษฎากล่าว

จากกรณีที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับผลกระทบจากคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 6/2553 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจออกคำสั่งตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เพื่อระงับการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืดในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตท้องที่จังหวัด

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image