คุรุสภาร่วมมือยูเนสโก-ซีมีโอ จัดงานวันครูโลก พร้อมเปิด‘กรอบสมรรถนะวิชาชีพครูอาเซียน’

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่ห้องประชุมบุณยเกตุ อาคารหอประชุมคุรุสภา นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา เป็นประธานในการประชุมวิชาการเนื่องในโอกาสวันครูโลก ประจำปี 2561 (World Teachers’ Day 2018 Forum) เรื่อง สิทธิทางการเรียนรู้กับครูคุณภาพ (The Right to Education Means the Right to a Qualified Teacher) ร่วมกับ นายชิเกรุ อาโอยากิ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การ การ ศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประจำประเทศไทย และนายGatot Hari Priowirjanto ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมกว่า 200 คน

นางวัฒนาพร  กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย คุรุสภาในฐานะสภาวิชาชีพครูได้ร่วมมือกับซีมีโอ องค์การยูเนสโก กรุงเทพมหานคร และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดประชุมวิชาการเนื่องในโอกาสวันครูโลก ในปี2561 ซึ่งปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “สิทธิทางการเรียนรู้กับครูคุณภาพ” ซึ่งองค์การยูเนสโก ได้กำหนดให้วันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี ตรงกันวันครูโลก มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครูและให้สาธารณชนตระหนักและรำลึกถึงบทบาทหน้าที่ครูที่มีส่วนในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม รวมทั้งหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน ชี้แนะ และเป็นแบบอย่างที่ดี แก่ผู้เรียนและสังคมในทุกด้าน 2.ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างครู นักวิชาการ และหรือผู้ที่อยู่ในวิชาชีพเดียวกัน และ3.ส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของนักการศึกษาทั่วโลก

“บทบาทภารกิจของคุรุสภา ในการพัฒนาครูเพื่อตอบสนองนโยบายไทยเเลนด์ 4.0 ของรัฐบาล คุรุสภาจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพครู ทุกกลุ่มให้เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง พัฒนาครูที่มีคุณภาพเช่นกัน คือ การพัฒนาและยกระดับ มาตรฐานวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล การพัฒนาครูในประเทศ คุรุสภาได้พัฒนาและส่งเสริมให้ผู้ครูรวมตัวกันเป็นชุมชนวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน (PLC) และพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาครูให้มีคุณภาพ ส่วนการพัฒนาครูร่วมกับนานาชาติ คุรุสภาร่วมมือแลกเปลี่ยนครูระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเมื่อไม่นานมานี้มีตัวเเทนครูไปแลกเปลี่ยนในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น” นางวัฒนาพร กล่าวว่า

นางวัฒนาพร กล่าวต่อว่า ในวันนี้ได้มีการประกาศกรอบสมรรถนะวิชาชีพครูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนาย Gatot ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความสุข โดยแบ่งเป็น 4 ประเด็นใหญ่ ได้แก่ 1.รู้เเละเข้าใจในสิ่งที่ครูสอน โดยเพิ่มพูนเรื่องที่จะสอนให้กว้างและลึกขึ้น เข้าใจกระเเสนิยมในโลกการศึกษา รวมถึงนโยบายเเละหลักสูตร ติดตามข่าวสารเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2.ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ ครูต้องรู้จักนักเรียน ใช้วิธีการสอนที่ได้ประสิทธิผลสูงสุด และประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะกับนักเรียน 3.ให้ชุมชนมีส่วนร่วม ร่วมมือพ่อแม่ คนในชุมชน ส่งเสริมให้เด็กมีความเคารพและเข้าใจในความหลากหลาย และ 4.เป็นครูที่ดีขึ้นในทุกวัน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน รู้จักตนเองเเละผู้อื่น ทั้งนี้ กรอบดังกล่าว ถูกเขียนในรูปแบบภาษาอังกฤษเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของฉบับภาษาไทยอยู่ระหว่างดำเนินการแปลคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนนี้

Advertisement

นางวัฒนาพร ระงับทุกข์

นายชิเกรุ ได้อ่านสาส์นร่วมเนื่องในโอกาสวันครูโลก ปี2561 (2018) “สิทธิที่จะได้รับการศึกษาหมายถึงสิทธิที่จะเป็นครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม” ใจความตอนหนึ่งว่า การศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและเป็นบริการสาธารณะ การศึกษาจะเปลี่ยนแปลงชีวิต ในสถานที่ต่างๆ ทั่ว ปัจจุบันเด็กและเยาวชนมากกว่า 263 ล้านคนก็ยังไม่ได้เข้าโรงเรียน เด็กและวัยรุ่น 617 ล้านคน เกือบร้อยละ 60 ทั่วโลก มีชีวิตไม่มั่นคง ไม่รู้หนังสือและการคำนวณขั้นพื้นฐาน รวมทั้งคนที่อยู่อาศัยในเขตที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะไม่ได้ไปโรงเรียน ความตั้งใจของประชาคมระหว่างประเทศที่จะทำ ปี 2573 เด็กทุกคนทั่วโลกได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้การศึกษาอย่างมีคุณภาพต้องมีการจัดหาครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 69 ล้านคน

Advertisement

นายชิเกรุ กล่าวต่อว่า แม้ว่าจะมีการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าครูเป็นกุญแจสำคัญในการบรรลุความสำเร็จของการสร้างการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกๆ คน  ดังนั้น  เพื่อเป็นการแก้ปัญหารัฐบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการศึกษาต้องดำเนินการอย่างกล้าหาญเพื่อการปรับปรุงคุณภาพของการฝึกอบรมสำหรับครูใหม่ๆ และครูฝึกหัด  ชักนำครูอย่างมีประสิทธิภาพเข้าสู่วิชาชีพครู และมีโอกาสพัฒนาวิชาชีพครูที่มีคุณภาพสูงเพื่อเพิ่มทักษะของครูตลอดช่วงของการมีอาชีพครู และครูต้องแสดงให้สาธารณชนได้เห็นว่าอาชีพการสอนนั้น  เป็นวิชาชีพที่ทรงคุณค่าโดยการจ่ายเงินเดือนที่เหมาะสมและปรับปรุงสภาพการทำงานสำหรับบุคลากรด้านการศึกษาในทุกระดับของการศึกษา

“ในโอกาสวันครูโลกนี้ เราเฉลิมฉลองเพื่อแสดงความซาบซึ้งในการที่ครูอุทิศตนอย่างมากเพื่อปรับปรุงชีวิตเด็กๆ และเยาวชนทั่วโลก และขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งในเรื่องความมุ่งมั่นของเราที่จะเพิ่มการจัดหาครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั่วโลก ขอร่วมผลักดันให้รัฐบาลทั่วโลกและประชาคมระหว่างประเทศเพื่อร่วมมือกับเราในความพยายามนี้  เพื่อที่ว่าเด็กๆ และเยาวชนทุกคน  ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพการณ์ใดๆ ก็ตามจะสามารถรักษาสิทธิของพวกเขาให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและอนาคตที่ดีกว่า” นายชิเกรุ กล่าว

นายชิเกรุ อาโอยากิ

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image