นิทานสุภาษิตจีน (136) 成语故事 (一百三十六)

ที่มาภาพ https://www.xuehua.us/2018/09/25/

นิทานสุภาษิตจีนที่ “เรียนไทยได้จีน” จะนำเสนอในฉบับนี้คือ入木三分 rù mù sān fēn (รู่ มู่ ซาน เฟิน) โดย คำว่า 入 rù (รู่) แปลว่า เข้า ซึมเข้า 木 mù (มู่) แปลว่า ไม้ ท่อนไม้ 三 sān (ซาน) แปลว่า สาม จำนวนนับลำดับที่ 3 分 fēn (เฟิน) แปลว่า ส่วน ซึ่งจะหมายถึงในสิบส่วน หรืออาจหมายถึงเซ็นติเมตร เมื่อนำมารวมกันแปลว่า ซึมลึกเข้าเนื้อไม้สามส่วน เป็นคำที่ใช้เปรียบเทียบกับความลึกซึ้ง ความลุ่มลึกทางด้าน ความเข้าใจ รายละเอียดดูตัวอย่างจากนิทานสุภาษิตนี้

จีนในยุคสมัยราชวงศ์จิ้น 晋朝 / 晉朝 Jìn cháo (จิ้น เฉา)เป็นยุคที่แผ่นดินจีนเพิ่งจะสงบสุขจากศึกสงครามภายในอันยาวนานของยุคสามก๊ก จึงเกิดการพัฒนาการของตัวอักษรจีนให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ในยุคนี้มีปราชญ์ผู้รู้ด้านอักษรศาสตร์มากมาย หนึ่งในนั้นชื่อ หวาง ซีจือ 王羲之 Wánɡ Xīzhī เป็นผู้ให้กำเนิดตัวอักษรแบบหวัด หรือสิงชู 行书 / 行書 xínɡ shū เขามีสุดยอดผลงานชิ้นหนึ่งที่เป็นตัวแทนของเขาและเป็นสุดยอด ผลงานการเขียนอักษร ที่ได้รับการยอมรับมา 中国成语故事《入木三分》形容书法笔力刚劲有力

ทุกยุคสมัย นั่นก็คือ หลานถิง จี๋ ซวี่ 《兰亭集序》/《蘭亭集序》Lántínɡ
jí xù งานเขียนชิ้นนี้ส่งผลให้เขากลายเป็นสุดยอดนักเขียนอักษรจีนของจีนแห่งยุคนั้น ซึ่งกว่าเขาจะมีความสามารถได้ถึงเพียงนี้ ก็ต้องฝึกฝนอย่างหนัก และมุ่งมั่นศึกษา โดยมีเรื่องเล่าว่า ตอนหวางซีจืออายุเจ็ดขวบก็ชอบการเขียนพู่กันจีนแล้ว เมื่ออายุได้สิบสองขวบ ฝีมือในการเขียนพู่กันจีนของเขานั้นหาเด็กรุ่นเดียวกันเปรียบได้ยาก แต่เขาก็ยังไม่รู้สึกพอใจกับผลงานของตัวเอง มีวันหนึ่ง หวางซีจือบังเอิญได้พบตำราการเขียนพู่กันจีนเล่มหนึ่งของพ่อเข้า เขาจึงเอามาอ่าน พ่อรู้เข้าก็ลงโทษและกล่าวแก่เขาว่า เจ้ายังเด็ก ไม่เหมาะที่จะรู้ความลับในการเขียนอักษรของตำราเล่มนี้ เพราะเดี๋ยวลูกจะเอาความลับไปแพร่งพรายได้ หวางซีจือร้องไห้คุกเข่าอ้อนวอนขอให้เขาได้อ่านตำราเล่มนี้ และขอให้พ่อสอนเคล็ดลับการเขียนพู่กันจีนให้กับตน หากรอให้โตจะเสียเวลา และเสียโอกาสในการฝึกฝนของตนได้ พ่อเห็นความตั้งใจของลูก จึงฝืนคำสั่งบรรพชน นำตำราเล่มนั้นมาสอนให้กับหวาง ซีจือ ด้วยเหตุนี้หวางซีจือจึงเป็นคนมีชื่อเสียงด้านการเขียนพู่กันจีนตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่อโตขึ้นได้รับราชการ ก็มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่ง จักรพรรดิแห่งจิ้น จะเสด็จไปทำพิธีบวงสรวงสุสานบรรพบุรุษ จึงทรงรับสั่งให้หวางซีจือเขียนคำบวงสรวงบูชาลงบนแผ่นไม้ แล้วทรงให้ช่างหลวงนำไม้แผ่นนั้นไปแกะสลัก ช่างหลวงนำแผ่นไม้นั้นไปแกะตามรอยหมึกอักษรที่หวางซีจือขีดเขียน ช่างก็ต้องพบกับความประหลาดใจ เมื่อเขาใช้สิ่วแกะสลักลงบนเนื้อไม้ พบว่าหมึกนั้นได้ซึมแทรกเข้าไปในเนื้อไม้ลึกมาก ช่างต้องแกะลึกลงไปถึงสามส่วน (สามเซนติเมตร) ถึงค่อยพบว่าน้ำหมึกหมดไป เรื่องนี้จึงเป็นที่เลื่องลือในยุคนั้นอย่างยิ่งว่า ฝีมือการเขียนพู่กันจีนของหวางซีจือนั้น ลุ่มลึกและมีพลังยิ่งนัก ต่อมาในภายหลัง
คำนี้จึงกลายมาเป็นคำสุภาษิตที่ใช้เปรียบเปรยความรู้ ว่ารู้อะไรต้องรู้อย่างลึกซึ้ง มิใช่รู้อะไรแบบงูงูปลาปลาแล้วมาทำอวดเก่ง

ข้อคิดจากประโยคสุภาษิตนี้

Advertisement

成语比喻:对文章或事物见解深刻、透彻。

成語比喻:對文章或事物見解深刻、透徹。

Chénɡyǔ bǐyù :Duì wénzhānɡ huò shìwù jiànjiě shēnkè, tòuchè.

Advertisement

เฉิงยหวี่ ปี่ยวี่ : ตุ้ย เหวินจาง ฮั่ว ฉื้ออู้ เจี้ยนเจี่ย เฌินเค่อ โท่วเช่อ

สุภาษิตเปรียบว่า เข้าใจต่อเนื้อหาบทความ หรือเรื่องราวต่างๆ อย่างลึกซึ้งทะลุปรุโปร่ง

你可别小看他的评语,他的评语虽只几句,却是入木三分。

你可別小看他的評語,他的評語雖只幾句,卻是入木三分。

Nǐ kě bié xiǎo kàn tā de pínɡyǔ, tā de pínɡyǔ suī zhǐ jǐ jù, què shì rù mù sānfēn.

หนี เข่อ เปี๋ย เสี่ยวคั่น ทา เตอะ ผิงยหวี่, ทา เตอะ ผิงยหวี่ ซุย จื่อ จี่ จวี้, เชว่
ฉื้อ รู่ มู่ ซาน เฟิน

คุณอย่าได้ดูถูกความคิดเห็นของเขา แม้ว่าความคิดเห็นของเขาจะมีเพียงไม่กี่คำ แต่ว่ามันลึกซึ้งถึงแก่นนะ

ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image