‘สอศ.-สพฐ.’ เร่งสร้างสะพานเชื่อมโยงการศึกษา หวังเพิ่มผู้เรียนสายอาชีพ

สอศ.-สพฐ.’ เร่งสร้างสะพานเชื่อมโยงการศึกษา หวังเพิ่มผู้เรียนสายอาชีพ

เมื่อวันที่14 มิถุนายนที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน.พิษณุโลกสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการสะพานเชื่อมโยงการศึกษาพื้นฐานกับการจัดการอาชีวศึกษาโดยมีนายบุญรักษ์ยอดเพชรเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) นายสุเทพชิตยวงษ์เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) ประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษา(สพป.) เข้าร่วมกว่า250 คน

นายบุญรักษ์ กล่าวว่า หลังจากที่สอศ. และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันพื่อเชื่อมโยงการจัดการการศึกษาและกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการผลิตและพัฒนากำลังคนร่วมกันและการประชุมร่วมกันวันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติการเชื่อมโยงงานระหว่างกันเพื่อเพิ่มผู้เรียนในระดับอาชีวะมากขึ้นเพราะการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอาชีวะมีส่วนสำคัญมากแต่เนื่องจากการศึกษาของประเทศถูกแบ่งเป็นช่วงๆและแบ่งการรับผิดชอบการเชื่อมโยงระหว่างกันไม่เกิดขึ้นทำให้เกิดปัญหาคือไม่มีผู้เรียนที่จะป้อนเข้าสู่สถานศึกษาอาชีวศึกษาได้อย่างเพียงพอกับตลาดแรงงาน

นายบุญรักษ์ กล่าวต่อว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้สอศ. และสพฐ. ขับเคลื่อนพัฒนาการทำงานร่วมกันไม่เพียงจะตอบโจทย์พัฒนาการเรียนสายอาชีพในโรงเรียนสังกัดสพฐ.เท่านั้นแต่เป็นการตอบโจทย์ความต้องการของประเทศสิ่งที่สำคัญที่สุดคือขณะนี้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) และผู้อำนวยการโรงเรียนไม่เห็นภาพการศึกษาอาชีวะในปัจจุบันโลกของอาชีพจริงเขาทำอะไรกันบ้างฉะนั้นการส่งเสริมด้านอาชีพในห้องเรียนของสพฐ.จึงยังไม่เกิดขึ้น

หลังจากการประชุมภายในเดือนมิถุนายนประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดทั่วประเทศจะต้องเชิญศธจ. นั่งเป็นประธานคณะทำงานจัดทำหลักสูตรระยะสั้นมาประชุมหารือร่วมกับผู้อำนวยการสพป. ผู้อำนวยการสพม. สถานประกอบการและหอการค้าจังหวัดเพื่อจัดทำหลักสูตรระยะสั้นที่จะต้องสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนของพื้นที่และนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) ผลักดันการเรียนอาชีวะเข้าสู่การศึกษาขั้นพื้นฐานนายบุญรักษ์กล่าว

Advertisement

นายบุญรักษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสพฐ.และสอศ.ได้สร้างสะพานเชื่อมโยง5 สายเพื่อเชื่อมโยงการทำงานไว้ด้วยกันคือ1.สะพานของฝ่ายบริหาร2.สะพานของครู3.สะพานของนักเรียน4.สะพานของผู้ปกครองที่ต้องสื่อสารให้ผู้ปกครองรับรู้ว่าการเรียนอาชีวะและการเรียนสายสามัญไม่มีอะไรที่ดีกว่าหรือเหนือกว่ากันอยู่ที่ตัวตนของนักเรียนมากกว่าและ5.สะพานเชื่อมโยงชุมชนและสถานประกอบการถ้าสอศ.และสพฐ.รีบวางระบบนี้ไว้จะเกิดความยั่งยืนเเม้ตนกับนายสุเทพจะพ้นตำแหน่งไปก็ตามหากระบบนี้ยังอยู่สอศ. สพฐ. และประเทศชาติจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

ด้านนายสุเทพ กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่เกิดความร่วมมือครั้งนี้สพฐ.และสอศ. ต้องรีบดำเนินการและต้องทำต่อเนื่องเพราะความเข้มแข็งของอาชีวะมีสพฐ.เป็นรากฐานที่สำคัญในการผลิตพัฒนานักเรียนที่ส่งต่อออกไปยังสายอาชีพดังนั้นสพฐ.ต้องวางรากฐานการเรียนสายอาชีพให้นักเรียนเพราะการแนะแนวให้นักเรียนในสังกัดสพฐ.ไปเรียนอาชีวะเป็นการแก้ไขปัญหาปลายเหตุไม่ได้เพิ่มผู้เรียนอย่างจริงจังดังนั้นสพฐ.และสอศ. ต้องทำลายกำแพงที่กั้นการศึกษาระหว่างกันและสร้างสะพานเชื่อมโยงการศึกษาร่วมกันเพื่อตอบโจทย์ของประเทศเพราะประเทศต้องการกำลังคนอาชีวะจำนวนมากทั้งนี้สพฐ. และสอศ. มีความตั้งใจและเอาจริงเอาจังต้องการให้ปฏิบัติเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องในทุกระดับและสนับสนุนส่งเสริมให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาและโรงเรียนในสังกัดสพฐ. ร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อทำให้การจัดการศึกษาอาชีวะเป็นไปด้วยดี

Advertisement

หลังจากการปฏิบัติวันนี้สิ่งต้องทำร่วมกันคือจะต้องมีแผนที่สะท้อนถึงความมั่นคงยั่งยืนและแผนนี้จะมอบให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) คนใหม่พิจารณาต่อไป  อีกทั้งผมหวังว่าผู้ที่มาเป็นเลขาธิการสพฐ.และเลขาธิการสอศ.คนต่อไปจะดำเนินการตามแผนนี้ต่อไปเพื่อให้แผนนี้ยั่งยืนและสอดคล้องกับนโยบายของประเทศชาตินายสุเทพกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image