‘ยูเนสโก’ยกย่องไทยผู้นำความเสมอภาคทางการศึกษาของเอเชีย

เมื่อวันที่23 กันยายนที่ห้องประชุมกรุงเทพ1 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอทเซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าวได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) กับองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติกรุงเทพฯ(ยูเนสโก)  เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา(SDG4) ทั้งในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกพร้อมจับมือกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงมหาดไทยยูเนสโกองค์การยูนิเซฟและองค์การช่วยเหลือเด็กจัดการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษา“(All for Education) ระดับภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกในปี2563 (2020) ในโอกาสครบรอบ30 ปีปฏิญญาจอมเทียนเพื่อช่วยกันวางยุทธศาสตร์นับถอยหลัง10 ปีสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกด้านการศึกษา(SDG4) ให้สำเร็จภายในปี2030 นี้

นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกสศ. กล่าวว่ากสศ.และยูเนสโกจะร่วมดำเนินโครงการทั้งด้านวิชาการและการสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายระดับชาติและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาซึ่งในปี2563 (2020)จะเป็นวาระครบรอบ30 ปีปฏิญญาการศึกษาเพื่อปวงชนหรือปฏิญญาจอมเทียนซึ่งเป็นเจตนารมย์ของผู้นำเกือบ200 ประเทศที่ต้องการให้เด็กเยาวชนทุกคนเข้าถึงและสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาได้100% และเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือเพื่อการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนอย่างไรก็ตามแม้ข้อมูลสถิติจากสถาบันสถิติแห่งยูเนสโก(UIS) แสดงให้เห็นแนวโน้มความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในระดับนานาชาติที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจำนวนเด็กนอกระบบการศึกษา(ระดับประถมศึกษา) ทั่วโลกที่เคยมีจำนวนมากกว่า100 ล้านคนเมื่อปี1990 ลดลงเหลือราว63 ล้านคนในปี2017 หรือลดลงเกือบร้อยละ40 แต่ตลอด10 ปีที่ผ่านมา(2007-2017) จำนวนเด็กนอกระบบการศึกษาทั่วโลกมีอัตราที่ลดลงน้อยมากแสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมาเริ่มชะลอตัวลงกลุ่มเป้าหมาย5-10% สุดท้ายยังเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษาหรือต้องออกจากการเรียนกลางคันเพราะปัญหาสภาพเศรษฐกิจสังคมสุขภาพฯลฯที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือตัวเลขเด็กนอกระบบการศึกษาเริ่มกลับมามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นระหว่างปี2016-2017 อีกครั้ง

ผู้จัดการกสศ. กล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษากลไกภาครัฐแต่ลำพังไม่สามารถจัดการให้หมดไปได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วยแนวคิดปวงชนเพื่อการศึกษาหรือAll for Education ทั้งภาครัฐภาคเอกชนท้องถิ่นภาคประชาสังคมและองค์กรระหว่างประเทศช่วยกันออกแบบหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืนและหนึ่งในแนวทางที่เป็นวาระซึ่งทั่วโลกกำลังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องคือการปฏิรูปการศึกษาเชิงพื้นที่Area Base Education Reform (ABE) ที่ใช้กระบวนการทำงานเชิงพื้นที่ระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการลดความเหลื่อมล้ำสำหรับประเทศไทยกสศ.สนับสนุนให้เกิดขึ้นแล้วใน20 จังหวัดได้แก่เชียงใหม่แม่ฮ่องสอนลำปางน่านแพร่สุโขทัยพิษณุโลกขอนแก่นมหาสารคามสุรินทร์อำนาจเจริญอุบลราชธานีนครราชสีมากาญจนบุรีนครนายกระยองสุราษฎร์ธานีภูเก็ตยะลาและสงขลา  เบื้องต้นใช้ยุทธศาสตร์2 มาตรการคู่ขนานกันอย่างเป็นระบบเป็นวงจรการแก้ปัญหาเชิงระบบที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบiSEE ของกสศ.เข้ามาช่วยสนับสนุนด้วย  คือ1.มาตราการป้องกัน(OOSCY Prevention) ไม่ให้หลุดออกนอกระบบการศึกษาด้วยโครงการเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไข(CCT) ปัจจุบันกสศ.ช่วยขจัดอุปสรรคในการมาเรียนให้เด็กกลุ่มนี้ทั่วประเทศราว700,000 คนและทุนการศึกษาสายอาชีพสำหรับนักเรียนยากจนจำนวน2,500 ทุนต่อปี  2. มาตรการแก้ไขเร่งด่วน(OOSCY Correction) โดยกสศ. ร่วมกัน20 จังหวัดระดมความร่วมมือหลายภาคส่วนสร้างกลไกช่วยเหลือเด็กนอกระบบการศึกษาเพื่อค้นหาส่งต่อให้เด็กส่วนใหญ่กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือฝึกทักษะด้านการศึกษาและอาชีพส่วนกลุ่มที่ยังไม่พร้อมคืนสู่ระบบการศึกษาก็จะเข้าสู่กระบวนการเยียวยา/ ฟื้นฟูจากทีมสหวิชาชีพต่อไปเบื้องต้นในปี2562 กสศ.สามารถช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ทันที5,000 คนจากจำนวนเด็กเยาวชนอายุนอกระบบการศึกษา670,000 คน(3-17 ปี) ทั่วประเทศ

ด้านนายชิเงรุ อาโอยากิ ผู้อำนวยการยูเนสโกประจำประเทศไทยกล่าวชื่นชมรัฐบาลไทยว่าได้แสดงความเป็นผู้นำในภูมิภาพเอเชียแปซิฟิกเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาด้วยการจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเด็กเยาวชนด้อยโอกาสทั้งในและนอกระบบการศึกษาเป็นการสานต่อความเป็นผู้นำของไทยในเอเชียเรื่องการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาตลอดช่วง30 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การประชุมระดับโลกด้านการศึกษาเพื่อปวงชน(Education for All) ที่หาดจอมเทียนจนเป็นที่มาของปฏิญญาจอมเทียนยูเนสโกประทับใจและชื่นชมความมุ่งมั่นทำงานของไทยในการทำให้การศึกษาเป็นสิ่งเสมอภาคสำหรับทุกคนและหวังให้ประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศอื่นๆในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกเรียนรู้และเอาไทยเป็นแบบอย่างในการริเริ่มดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านการศึกษา(SDG4) ยูเนสโกเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะยังคงเป็นผู้นำด้านความเสมอภาคทางการศึกษาและเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี2030 ต่อไป

Advertisement

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ก็เพื่อสนับสนุนให้เกิดการศึกษาที่เท่าเที่ยมเด็กนักเรียนที่ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้นอกจากนั้นยังได้ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายในระดับนานาชาติรวมถึงการริเริ่มโครงการนำร่องในจังหวัดภูเก็ตยะลาสงขลาและกาญจนบุรีซึ่งจะช่วยให้เด็กๆที่มีปัญหาขาดโอกาสได้เข้าถึงทางการศึกษาเข้ามาสู่ระบบและจะมีการจัดทำคู่มือทั้งภาษาไทยภาษาพม่าและภาษามาเลย์เพื่อความเข้าใจที่มีมากขึ้นทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายกระทรวงไม่ว่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นต้นเพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงานผู้อำนวยการยูเนสโก  กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image