‘การศึกษายืดหยุ่น’ นครนายก ช่วยตัดวงจร ‘เด็กนอกระบบ’

ร่างกายมีความเสี่ยงสูงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี และควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม หรือทำงานที่เสี่ยงต่อสารเคมีเพิ่มเติมŽ

คำเตือนจากแพทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อ.องครักษ์ จ.นครนายก ที่บอกกับ กฤษณะ มูฮัมหมัด หรือ อานัดž เด็กหนุ่มนอกระบบการศึกษาวัย 16 ปี หลังรับการตรวจคัดกรองสุขภาพ และสารเคมีในเกษตรกร

คำเตือนจากแพทย์สร้างความกังวลให้กับอานัด จนเริ่มทบทวนตัวเองว่าต้องเลิกรับจ้างพ่นยาฆ่าแมลงหลังหยุดเรียนมาประมาณ 1 ปีเศษ เนื่องจากยอมเสียสละตัวเองมอบโอกาสให้น้องชายได้เรียนหนังสือต่อ

อานัดเป็นหนึ่งในเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษา และต้องได้รับความช่วยเหลือเร่งด่วน ด้วยกลไกความช่วยเหลือ อานัดถูกนำเข้าสู่การเยียวยาในเบื้องต้น ผ่านการช่วยเหลือจากกลไกจังหวัดนครนายก ซึ่งเป็น 1 ใน 20 จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ผ่านโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากงานรับจ้างพ่นยาฆ่าแมลง และกลับสู่ระบบการศึกษาทันที หลังกลับไปเรียนที่โรงเรียนภัทรพิทยาจารย์ อานัดต้องจัดการแก้ไข ร ที่ค้างอยู่ถึง 6 วิชาให้สำเร็จ แรงสนับสนุนจากทุกส่วน ประกอบกับไม่ต้องรับจ้างฉีดยาฆ่าแมลง ทำให้อานัดทำสำเร็จด้วยความรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือน

Advertisement

วันนี้จึงเป็นอีกวันที่ตราตรึงความทรงจำของอานัด เพราะได้สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาต้น จากโรงเรียนภัทรพิทยาจารย์

นายกฤษณะเล่าถึงความรู้สึกในวันรับใบประกาศนียบัตรว่า ตอนออกจากโรงเรียนไปทำงานพ่นยาฆ่าแมลงเพื่อหาเงินจุนเจือครอบครัว คิดเสมอว่าวันหนึ่งจะต้องได้กลับมาเรียนหนังสืออีกครั้ง แต่ยังมองไม่เห็นว่าจะหาทางออกได้อย่างไร จนได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน แล้วเมื่อวันที่รอคอยมาถึง จึงขอแสดงความขอบคุณไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนที่เข้ามาช่วยเหลือให้ครอบครัวดีขึ้น ได้หยุดจากงานพ่นยาฆ่าแมลง และสำคัญที่สุดคือได้วุฒิ ม.3 มาได้สำเร็จ รู้สึกโล่งใจ และภูมิใจในตัวเองมากๆ ครับ

“ผมอยากเอาใบประกาศให้พ่อกับแม่ดูว่าผมทำได้แล้ว จากนี้ผมตั้งใจไว้ว่าจะเรียนต่อให้ได้วุฒิ ม.6 พร้อมกับเรียนฝึกอาชีพช่างแอร์ไปด้วย ดีใจจริงๆ ครับ วุฒิที่ได้มานี้ทำให้ผมไม่ต้องกลับไปพ่นยาอีกแล้ว ตอนนั้นที่ไปรับจ้างพ่นยาผมรู้ว่ามันเป็นอันตราย แต่ผมไม่มีทางเลือก คิดแต่ว่าต้องหาเงิน วันนี้ผมผ่านมาได้แล้ว อยากขอบคุณทุกคนที่ช่วยครับŽ” กฤษณะกล่าว

Advertisement

นายไพรัตน์ บำรุงจิตต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนภัทรพิทยาจารย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาโรงเรียนมองเห็นปัญหาการหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กและให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพราะอย่างน้อยที่สุดหากเด็กได้จบการศึกษาภาคบังคับ คือชั้น ม.3 เขาจะมีทางเลือกในชีวิตมากขึ้นทั้งในด้านเรียนต่อหรือประกอบอาชีพ กรณีของนายกฤษณะ เมื่อโรงเรียนทราบว่าเด็กต้องออกไปทำงานที่อันตรายเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว เป็นเหตุให้ไม่ได้เรียนต่อ จึงให้ความช่วยเหลือดูแลเป็นพิเศษ
ขณะที่ นางกุลพรภัสร์ จิระประไพ สถิติจังหวัดนครนายก

หนึ่งในทีมติดตามค้นหาเด็กนอกระบบ จ.นครนายก กล่าวว่า จากนี้จะนำอานัดเข้าเรียนฝึกอาชีพที่สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้มีทักษะอาชีพติดตัว ระหว่างนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเจ้าตัวว่าจะเรียนต่อในรูปแบบใด ทั้งนี้ได้วางแผนให้อานัดไปเรียนฝึกอาชีพในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้ก่อน เพราะเขาต้องมีทักษะอาชีพติดตัว จากนั้นค่อยมาดูว่าเจ้าตัวอยากไปทางไหนต่อ

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
 

เพิ่มเพื่อน
นายสุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษา ราว 670,000 คน ซึ่งระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นจะเป็นคำตอบของปัญหาเด็กนอกระบบ เพราะหากส่งเด็กกลุ่มนี้กลับเข้าระบบการศึกษาแบบเดิม โดยโรงเรียนไม่เปลี่ยนแปลง ก็จะไม่ได้ผล เด็กกลุ่มนี้จะหลุดออกจากระบบอีก

ฉะนั้น ในปี 2563 จึงร่วมกับภาคีจังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเด็กนอกระบบในพื้นที่ 20 จังหวัดนำร่อง จำนวน 55,000 คน ให้สามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น และการฝึกทักษะอาชีพตามศักยภาพ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image