สมศ.ประกาศหยุดลงพื้นที่ประเมินรอบ 4 หลังรับรองได้พียง 3.5 พันร.ร.

สมศ.ประกาศหยุดลงพื้นที่ประเมินรอบ 4 หลังรับรองได้พียง 3.5 พันร.ร. เหตุโควิดระบาด

สมศ.ประกาศหยุดลงพื้นที่ประเมินรอบ 4 หลังรับรองได้พียง 3.5 พันร.ร. เหตุโควิดระบาด เล็งดูข้อกม.ยกยอดไปรอบ5 เตรียมทำเกณฑ์ใหม่เน้นใช้เทคโนโลยี ลดภาระครู นักเรียน

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน นายจรูญ ชูลาภ รักษาการประธานคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  เปิดเผยว่า ตามที่สมศ. ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพสถานศึกษาภายนอกรอบสี่ พ.ศ.2559-พ.ศ.2563 ในระดับปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษานั้น ที่ผ่านมาสมศ.มีการประเมินรับรองผลให้แก่สถานศึกษาแล้วว่า 3,569 แห่ง ส่วนปี2563 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการประเมิน มีโรงเรียนส่งรายงานการประเมินตนเอง หรือSAR เข้ามาจำนวน 6,649 แห่ง โดยสมศ.ได้ตั้งทีมวิเคราะห์ผลการประเมินแล้ว กว่า 80% รวมถึงได้ส่งทีมลงไปประเมินยังสถานศึกษาแล้ว 20%  แต่เนื่องจากเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19  ที่ประชุมคณะกรรมการสมศ. ที่มีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน จึงมีมติให้ระงับการลงพื้นที่ไว้ก่อน ส่วนที่เหลืออีก 80% ห้ำผลประเมินตัวเองไปใช้ในรอบที่ห้า ที่จะเริ่มในปี2564-2568 หากไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย

“จากนี้สมศ.จะ เตรียมความพร้อมพัฒนาเกณฑ์การประเมินให้สอดคล้องกับระบบการศึกษา รวมถึงพัฒนาคุณภาพโดยการใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีใหม่ๆเน้นการประเมินเพื่อการพัฒนาคุณภาพ และลดภาระให้แก่ครูผู้สอน สถานศึกษาเป็นสำคัญ  ส่วนการประเมินมหาวิทยาลัยนั้น  เนื่องจากพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562  ที่มีการปรับแก้ได้กำหนดให้สมศ. มีฐานะเป็นองค์กรมหาชน ทำหน้าพัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาที่มิใช่การจัดการอุดมศึกษา ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หรือกระทรวงอื่น ๆ  ทั้งนี้เหตุที่มีสถานศึกษาเข้ารับการประเมินน้อย เพราะที่ผ่านมามีการปรับแก้กฎ ศธ. การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ให้สถานศึกษาเข้ารับการประเมินด้วยความสมัครใจ สถานศึกษาที่เข้ารับการประเมิน จะสามารถนำผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนั้นอยากให้สถานศึกษา เข้ารับการประเมิน เพื่อให้เกิดการพัฒนา”นายจรูญ

น.ส.ขนิษฐา ตั้งวรสิทธิชัย รักษาการผู้อำนวยการสมศ.  กล่าวว่า  จากการสรุปผลการประเมินในภาพรวมนั้นพบว่า สถานศึกษาที่เข้ารับการประเมินภายนอกในแต่ละดับส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ผลการประเมินเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ยังพบว่า การให้ข้อเสนอแนะแก่สถานศึกษาศึกษาของผู้ประเมินภายนอกเป็นประโยชน์ และสถานศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงเกือบทุกสถานศึกษา ดังนี้  การศึกษาปฐมวัย คุณภาพผู้เรียนส่วนใหญ่  กระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษา การจัดการประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  ด้านข้อเสนอแนะที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำเป็นจะต้องนำไปปรับใช้นั้นควรมีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ให้มากยิ่งขึ้น  การศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าคุณภาพผู้เรียนส่วนใหญ่ การบริการจัดการ และประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งหมดอยู่ในระดับดีมาก ข้อเสนอแนะควรมีการปรับการจัดการเรียนการสอนให้เป็นแบบ Active learning นำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น ส่วนข้อเสนอแนะควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกิจกรรมหรือโครงการที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพ

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image