ศธ.เร่งพัฒนาศักยภาพการเรียนของคนในชาติ หลัง ครม.อนุมัติร่างแผนปฏิบัติการภาษาแห่งชาติ

 ศธ.เร่งพัฒนาศักยภาพการเรียนของคนในชาติ หลัง ครม.อนุมัติร่างแผนปฏิบัติการภาษาแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน น..ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบ ร่าง แผนปฏิบัติการด้านนโยบายภาษาแห่งชาติ พ..2564-2565 ตามที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รภ.) เสนอ พร้อมกับมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนงาน โครงการ ที่มีความสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ..2564-2565 เป็นต้นไป โดยแผนนี้มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ 1.ภาษาเพื่อการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ชุมชนและความสมานฉันท์ของคนในชาติ 2.ภาษาเพื่อการรับรู้ เข้าใจ และการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน และ 3.ภาษาเพื่อการพํฒนาเศรษฐกิจ ประเด็นสำคัญที่สุดในการพัฒนา คือ การใช้ภาษาแม่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทยที่เป็นภาษาราชการ และเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เนื่องจากสอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ โดยไม่ละเลยการใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส

..ตรีนุช กล่าวต่อว่า มียุทธศาสตร์การดำเนินงาน 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1.ขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่การยอมรับและมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขทั้งในและต่างประเทศ 2.พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชาติด้วยการเรียนรู้ภาษาที่หลากหลาย 3.ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยในฐานะภาษาประจำชาติ 4.รักษา สืบทอดการใช้ภาษาท้องถิ่นหรือภาษาแม่ทั้งในชีวิตประจำวันและในระบบการศึกษา 5.พัฒนาทักษะและความสามารถด้านภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ6.ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยและสื่อเพื่อการสื่อสารการดำรงชีวิตและรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มคนด้อยโอกาส 

ศธ. จะเป็นผู้ดูแลโดยตรงในยุทธศาสตร์ที่ 2 โดยจะนำกรอบนี้ไปพัฒนาศักษภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป ส่วนยุทธศาสตร์อื่นๆ ศธ.จะเป็นผู้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผลักดันประชาชนได้เรียนรู้และใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป..ตรีนุช กล่าว

..ตรีนชุ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ครม. อนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง เสนอหลักการ และกรอบหลักเกณฑ์การขอยื่นกู้สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู)  ซึ่งจะช่วยโรงเรียนเอกชนที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาหรือค่าธรรมเนียมอื่น ได้แก่ โรงเรียนเอกชนที่รับเงินอุดหนุน โรงเรียนเอกชนที่ไม่รับเงินอุดหนุนทั้งประเภทสามัญ  โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทวิชาชีพ โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทศิลปะและกีฬา โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิต โดยโรงเรียนเอกชน สามารถกู้ได้ไม่เกินรายละ 20 ล้านบาท ดอกเบี้ย 2% ระยะเวลา 6 เดือนแรก รัฐบาลจะช่วยเหลือด้วยการจ่ายดอกเบี้ยแทน

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image