ศธ.เร่งเครื่องปฏิรูปการศึกษาปี65 ปักธง5บิ๊กร็อก-พัฒนาหลักสูตร

ศธ.เร่งเครื่องปฏิรูปการศึกษาปี65 ปักธง5บิ๊กร็อกพัฒนาหลักสูตร

นายสุภัทร  จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปทางการศึกษา ที่มีน..ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเมื่อเร็ว นี้ มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบรายละเอียดการดำเนินงานต่าง ก่อนเสนอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯพิจารณา รวมถึงหารือกรณีคณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งหมดวาระไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ว่ายังสามารถดำเนินงานได้หรือไม่ โดยให้ยืนตามมติเดิม คือสามารถรักษาการได้จนกว่าจะมีกรรมการชุดใหม่ ส่วนการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในปี 2565 นั้น ที่ประชุมไม่ได้มีการหารือเรื่องดังกล่าว แต่เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ที่กำหนดเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วนไว้ 5 เรื่องหรือ 5 บ๊อกร็อก 10 ตัวชี้วัด และต้องแล้วเสร็จภายในปี 2565 ทั้งนี้ซึ่งยอมรับว่าการดำเนินการค่อนข้างล่าช้าด้วยปัจจัยหลายด้าน แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ศธ. ต้องขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบาย

นายสุภัทร กล่าวต่อว่า สำหรับ 5 บิ๊กร็อกที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ 1.การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 2.การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 3.การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน 4.การจัดการอาชีวศึกษา ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบนำไปสู่การจ้างงานและการสร้างงาน และ 5.การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลาง ทั้งหมดนี้ ไม่มีผลกระทบต่อวิทยฐานะครูหรือสิทธิประโยชน์ที่ครูจะได้รับ แต่ก็อาจมีผู้ไม่พอใจ เพราะสถานศึกษาและครูต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เช่น การยกร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่หมายความว่า สถานศึกษาต้องบูรณาการศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ขณะที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ต้องเข้าไปช่วยพัฒนาครูในรูปแบบแอคทีฟเลินนิ่ง เพื่อให้สอดรับกับหลักสูตรการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

ทั้งหมดต้องดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป คงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือนเพราะสุดท้ายหลักสูตรฐานสมรรถนะ ต้องขึ้นอยู่กับสถานศึกษาที่ต้องไปออกแบบการเรียนการสอน ขณะที่ครูเองต้องปรับวิธีการสอน ช่วงแรกอาจมีคนส่วนหนึ่งไม่พอใจบ้าง แต่ก็ต้องเร่งดำเนินการ ส่วนบิ๊กล็กที่ 4 การจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นทวิภาคี ให้นักศึกษาอาขีวะไปฝึกปฏิบัติงาน เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องตำแหน่งงานในสถานประกอบการที่ต้องประสานความร่วมมือ สถานประกอบการต้องเว้นตำแหน่งว่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าไปฝึกงาน ซึ่งต้องขอความร่วมมือกับภาคเอกชน ดังนั้นจึงค่อยดำเนินการเพราะคงไปได้ค่อนข้างช้า เพราะสภาพเศรษฐกิจเองอาจไม่เอื้ออำนวยให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมทำCSR หรือทำงานเพื่อสังคมได้มากเท่าที่ควรนายสุภัทร กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image