‘ตรีนุช’ เปิดโครงการ ‘อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ’ ตั้งเป้าดึงเด็ก 5.2 พัน เข้าระบบการศึกษา นำร่องวิทยาลัย สอศ. 87 แห่ง

เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง .ลำพูน ..ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เป็นประธานในการเปิดโครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศและร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ดึงเด็กยากจนเข้าสู่ระบบการศึกษา

.. ตตรีนุช กล่าวว่า โครงการนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องกับโครงการพาน้องกลับมาเรียนโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างโอกาสทางการศึกษา และการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ขาดโอกาสทางการศึกษาได้เข้าศึกษาต่อในสายอาชีพ ตามนโยบาย ศธ. ที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ตกหล่น จากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคบังคับ ได้เรียนต่อ 100% ซึ่งเป็นการผนึกกำลัง บูรณาการการทำงานภายในร่วมกันของ 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สอศ. สพฐ. สช. และ กศน. ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กนักเรียนโดยตรง

โครงการนี้ ทาง สอศ.ได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับปีการศึกษา 2565 ไว้แล้ว โดยสามารถให้การสนับสนุนน้องๆที่สนใจเข้าเรียนทางสายอาชีพในระดับประกาศณียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 5,200 คน ในวิทยาลัยการอาชีพ และวิทยาลัยเกษตร จำนวน 87 แห่ง โดยเป็นการเรียนฟรี และมีที่พักมาตรฐานให้พักฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลา3 ปีของการเรียน อีกทั้งยังสนับสนุนให้น้องๆ มีรายได้ผ่านการจัดทำโครงการหารายได้ระหว่างเรียน รวมถึงการหาแหล่งงานให้ทำภายหลังจบการศึกษาอีกด้วย คาดหมายว่าตลอด 10 ปีของโครงการ จะรับได้จำนวน 8 รุ่น จะมีน้องๆที่เข้าร่วมโครงการ ประมาณ 110,000 คน และภายใต้การดูแลของวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศใน 77 จังหวัด รวม169 แห่ง..ตรีนุช กล่าว

..ตรีนุช กล่าวต่อว่า ในปีการศึกษา 2565 เราจะเปิดทุกสาขาวิชาของระดับ ปวช. ที่สถานศึกษานั้นเปิดทำการสอนโดยจะเน้นให้ความสำคัญในภาคปฏิบัติ ส่วนวิชาสามัญที่เป็นพื้นฐานในการเรียนยังคงมีอยู่ แต่จะบูรณาการเข้ากับการเรียนเนื้อหาทางวิชาชีพ ในทางปฏิบัติ ทาง สอศ.จะประสานกับ สพฐ.เพื่อสำรวจนักเรียนที่กำลังจะจบการศึกษา.3 ที่มีความประสงค์ในการเรียนต่อทางด้านสายอาชีพ แต่ครอบครัวขาดทรัพย์ที่จะให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นเด็กกลุ่มเป้าหมายหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำ และป้องกันเด็กตกหล่นจากระบบการศึกษา ให้เข้ารับการศึกษาสายอาชีพแทน

Advertisement

ด้านนายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า สอศ.ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายศธ. ภายใต้โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศหรืออาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพโดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้คัดเลือกสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการรับผู้เรียนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 87 แห่ง ทั่วประเทศ โดยสามารถรับปริมาณนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ ได้จำนวน 5,200 คน ระยะที่ 2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เพิ่มสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการรับผู้เรียนเข้าร่วมโครงการฯ ให้ได้จำนวนรวมทั้งสิ้น 169 แห่ง ทั่วประเทศ โดยสามารถสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน จำนวนรวมทั้งสิ้น 116,000 คน

เด็กกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการ มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นเด็กที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาไปแล้ว คือ จบม.3 แล้วไม่ได้เรียนต่อ ซึ่งตกค้างมาหลายปี จะสามารถเข้ามาเรียนในโครงการนี้ได้ทั้งการศึกษานอกระบบและการศึกษาปกติ และกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่กำลังจะจบ .3 ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กกลุ่มนี้ตกหล่นจากระบบการศึกษาเนื่องจากวิเคราะห์แล้วพบว่ามีเด็กที่คาดว่าจะตกหล่นจากระบบการศึกษาด้วยสาเหตุหลักคือเรื่องของฐานะทางครอบครัวที่ยากจน และความไม่พร้อมในการศึกษา ถึงแม้จะมีโครงการเรียนฟรี15 ปี แต่ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเรียน ทั้งค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่นอีก แต่โครงการนี้จะมีทั้งหอพักให้อยู่ฟรี มีอาหารเลี้ยง 3 มื้อ และยังให้เด็กทำงานหารายได้ระหว่างเรียนอีกด้วยนายสุเทพ กล่าว

Advertisement

นายธีรศักดิ์ อรุณวัชรพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพป่าซาง .ลำพูน กล่าวว่า ทางวิทยาลัยการอาชีพป่าซางเน้นบริหารจัดการศึกษา ภายใต้แนวคิดการอาชีพเพื่อชุมชนที่ต้องการส่งเสริมให้เด็กที่มีต้นทุนชีวิตไม่มาก ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อสายอาชีพ ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่ เป็นชนเผ่าชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ม้ง อาข่า กะเหรี่ยง จากดอยสูงสู่การเรียนรู้ 7 สาขาวิชาอาชีพ ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในศาสตร์ที่ผู้เรียนมีความสนใจ

สำหรับจำนวน 87 สถานศึกษาที่จะเปิดรับนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น ในระยะแรก ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิค 1 แห่งวิทยาลัยการอาชีพ 39 แห่ง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 47 แห่ง แยกเป็นภูมิภาค ประกอบด้วยภาคเหนือ 26 แห่ง ภาคกลาง 19 แห่ง ภาคใต้ 19 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 แห่งภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image