ผอ.สำนักวิจัย”ซีไอเอ็มบี ไทย” ชี้เลือกตั้งปธน.สหรัฐ ผู้ชนะมีเพียงหนึ่ง แต่คนพ่ายแพ้คืออเมริกันทั้งชาติ เหตุต่างฝ่ายล้วน ‘เพิ่มหนี้’

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ซีไอเอ็มบีไทย

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 พฤศจิกายน ที่ห้องประชุมบุญชูโรจนเสถียร ตึกเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มธ. และสมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย ร่วมกันจัดเสวนาเรื่อง โค้งสุดท้ายสู่ทำเนียบขาว ผลกระทบต่ออาเซียนและไทย

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้ชนะมีเพียงหนึ่งเดียว แต่คนที่พ่ายแพ้คือคนอเมริกันทั้งชาติ โพลบอกว่าคนที่เลือกทรัมป์อันดับ 1 เพราะไม่ชอบคลินตัน ถามคนเลือกคลินตันก็บอกว่าเพราะไม่ชอบทรัมป์ กลายเป็นว่า 2 คนนี้คนที่เลือกคือเกลียดอีกฝั่ง นี่คือสิ่งที่เปลี่ยนไป

ในมิติเศรษฐศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตว่าก่อนนางฮิลลารีเป็นเป็น รมต. ต่างประเทศ นายบิล คลินตันได้ค่าตัวเวลาพูดต่างประเทศครั้งละ 1-2 แสนดอลลาร์ แต่หลังนางฮิลลารีเป็น รมต. นายบิลได้ค่าตัวสูงสุดคือ 5 แสนดอลลาร์ต่อครั้ง มันเกี่ยวข้องกับประเด็นการใช้อีเมล์ส่วนตัวหรือเปล่า ซึ่งคนอเมริกันยังไม่ทราบ นอกจากนี้ก็ไม่ทราบแน่ชัดว่า มูลนิธิคลินตัน มีอะไรแอบแฝงข้างในหรือเปล่า มีประเด็นที่คนอเมริกันยังไม่ได้คำตอบ นั่นเพราะทำไมทรัมป์มีคะแนนนำ

ด้านนโยบายการคลัง ทั้ง 2 คนมีความแตกต่าง คนอเมริกันชนชั้นกลางรู้สึกว่ามีความเหลื่อมล้ำสูง ทรัมป์ต้องการบอกว่า ลดภาษีบุคคลธรรมดาให้ต่ำลงทุกระดับชั้น เพราะคนอเมริกันมองว่าถ้าเก็บภาษีสูงก็ลดแรงจูงใจในการทำงาน, ภาษีนิติบุคคลลดจาก 35 เปอรเซ็นต์ ซึ่งสูงที่สุดในโลก เหลือ 15 เปอร์เซ็นต์ ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ผู้ประกอบการสามารถผลักภาระภาษีให้แก่แรงงานได้ ถ้าลดได้ บริษัทมีแรงจูงใจในการจ้างงานให้มากขึ้น จ่ายเงินเดือนมากขึ้นก็มี นโยบายนี้เป้นที่ถูกใจของคนอเมริกันไม่น้อย ขณะที่นาง คลินตันมองว่าความเหลื่อม้ำนั้นเกิดจากการจ่ายภาษีที่ไม่เหมาะสม สร้างอัตราภาษีอีกระดับสำหรับคนรวยมากๆ นี่เป็นนโยบายของแซนเดอร์ที่นำเงินไปดูแลสังคม

Advertisement

สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน ในการโต้วาทีครั้งที่ 3 มีคนถามว่านโยบายทั้ง 2 คน ทราบไหมว่าหนี้สาธารณะอยู่ที่ 77 เปอร์เซ็นต์ ของไทยอยู่ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ ถ้าทรัมป์เป็น ประธานาธิบดี จะพุ่งไปที่ 100 กว่าเปอร์เซ็นต์ ส่วนคลินตันเข้ามาจะพุ่งไปที่กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ทั้งคู่เพิ่มหนี้ทั้งนั้นแล้วประเทศจะอยู่อย่างไร จะมีปัญหาแน่ๆ ไม่ว่าใครจะมา

เรื่องการส่งออก วันนี้ไม่ใช่แค่มองสหรัฐ ทางตรงคือเราส่งออกไปสหรัฐ ต่อให้เขาปิดกำแพง แต่เราเป็นห่วงโซ่อุปทานที่ส่งวัตถุดิบเข้าไปให้เขาผลิต แต่เป็นห่วงผลทางอ้อมคือ ถ้าสหรัฐกีดกันการค้า จีนมีผลกระทบ เราส่งออกไปจีนก็จะมีปัญหา สินค้าปลายทางที่ผลิตในจีนจะเริ่มมีปัญหา ผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ประเทศที่ส่งออกไปจีนมากที่สุดคือ เมียนมา สิงคโปร์ ที่พึ่งตลาดจีน(รวมฮ่องกง) ถ้าประเทศในอาเซียนเกิดการชะลอตัว มีความเสี่ยงที่จะติดลบได้
แต่ถ้าสหรัฐเลือกที่จะกีดกันทางการค้า นี่คือการฆ่าตัวตาย เพราะสหรัฐพึ่งเราเช่นกัน  20 เปอรเซ็น ของการนำเข้าทั้งหมดมาจากจีน ถ้าเขากีดกันการค้า ราคาสินค้าในประเทศเขาจะพุ่งสูง เพราะประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าให้ได้ต้นทุนต่ำสู้จีนไม่ได้ จะส่งผลต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจของเขา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image