สวก. ร่วมมือมรภ.เพชรบุรีพร้อมเครือข่ายช่วย SMEs ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรอาหารในภาคกลางตอนล่างผ่าน RAINs for LCP Food Valley

สวก. ร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีพร้อมเครือข่ายช่วย SMEs ด้านอาหารฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจสร้างมูลค่าเพิ่ม สินค้าเกษตรอาหารในภาคกลางตอนล่างผ่าน RAINS (Research and Innovation Network Support) for LCP (Lower Central Provinces) Food Valley โดยการนำงานวิจัย และนวัตกรรมมาพัฒนา  และแปรรูปผลผลิตการเกษตรในพื้นที่ภาคตะวันตก ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ (Heathy Food) และอาหารวัฒนธรรม (Cultural Food) ตามความต้องการของผู้บริโภค (Demand Driven) และเสริมศักยภาพการแข่งขันทั้งตลาดใน และต่างประเทศ โดยรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ หรืออาหารวัฒนธรรมของผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรีที่เข้าร่วมโครงการฯในปี 2565 – 2566 คาดการณ์ในปีแรกจะมี Return มากกว่า 130 เปอร์เซนต์ ในการจัดนิทรรศการ RAINs for LCP Food Valley 2565 – 2566 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์การค้า Robinson Lifestyle เพชรบุรี 

โดย ผศ.ดร.เสนาะ กลิ่มงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้วาง วิสัยทัศน์ ว่า “ภายในปี 2570 เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านอาหาร การท่องเที่ยว และวิทยาการสุขภาพ ภายใต้ความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ด้วยการบูรณาการศาสตร์ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” แผนงานวิจัย RAINs for LCP Food Valley 2565 – 2566 เป็นแผนงานวิจัยหนึ่งที่ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวก. และแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยได้ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ไปข้างหน้าอย่างชัดเจนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยใช้งานวิจัย และพัฒนาในการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอาหารในจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และภกาญจนบุรี เป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ และอาหารวัฒนธรรมที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ SMEs ด้านอาหารในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง และเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้แข็งแกร่งซึ่งเป็นความร่วมมือแบบ Quad-Helix ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ SMEs ด้านอาหาร และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และหมู่บ้านจอมบึง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่

นายธรรมนูญ ศรีวรรธนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวเปิดงาน จังหวัดเพชรบุรี มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบครบวงจรจากฐานการค้า การลงทุน การบริการ การท่องเที่ยวและการเกษตร สู่ความมั่งคั่งยั่งยืน แผนงานวิจัย RAINs for LCP Food Valley เป็นแผนงานวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดเพชรบุรี และเป็น prototype model การพัฒนาสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า และเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดภาคกลางตอนล่างอย่างชัดเจน และจังหวัดเพชรบุรี ยินดีสนับสนุนในการขับเคลื่อนแผนงานวิจัย RAINs for LCP Food Valley ในปีถัดไป และขอขอบคุณสวก. ที่สนับสนุนทุนวิจัยดีให้จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดในภาคกลางตอนล่าง

นางสาวกุลวรา โชติพันธุ์โสภณ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สวก. ได้มีการสนับสนุนทุนวิจัยด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ทุกกลุ่มด้านอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ในรูปแบบของ RAINS (Research and Innovation Network Support) for Thailand Food Valley สวก. เริ่มดำเนินการจากงบประมาณวิจัยตั้งต้นจาก วช. โดยมีการปรับรูปแบบการดำเนินงานจากการถอดบทเรียนจาก Food Valley ของประเทศเนเธอแลนด์ ในอยู่ในบริบทของ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เน้นให้มหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาคเป็นฐานในการบริการเสมือนเป็นห้องแลปหรือห้องทดลองสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ปัจจุบันมี 11 เครือข่ายทั่วประเทศ ให้บริการกับผู้ประกอบการในแต่ละภูมิภาคไม่ต่ำกว่า 100 ราย โดย สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัย RAINs for Lower Central Provinces Food Valley ปีงบประมาณ 2565 ให้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในฐานะ Node ของแผนงานวิจัย พร้อมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และหมู่บ้านจอมบึง ได้นำงานวิจัย และนวัตกรรมมาขับเคลื่อนแปรรูปสินค้าเกษตรในท้องถิ่นที่อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ 

Advertisement

รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรศักดิ์ อาลัย ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย RAINS for LCP Food Valley ได้กล่าวว่า แผนงาน RAINS for LCP Food Valley ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรีและราชบุรี ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยแบบ Quad-Helix ได้แก่ ผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค องค์กรภาคธุรกิจ กับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งสามแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และมีนักวิจัย/อาจารย์ในมหาวิทยาลัยร่วมดำเนินการในโครงการ 21 ท่าน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการทำงานแบบประชารัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากในภูมิภาคภาคกลางตอนล่าง” โดยผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคและฐานสินค่าเกษตรอาหารในพื้นที่ ในกลุ่มอาหาร 2 กลุ่ม คือ Healthy food และ Cultural food เพื่อเพิ่มมูลค่า เพิ่มศักยภาพการแข่งขันสินค้าอาหารทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่เพื่อสุขภาพจากสมุนไพรท้องถิ่น Healthy Jelly Drink และผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าหมี่วีแกนบอล Vegan Ball ผลิตภัณฑ์อาหารวัฒนธรรม 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ขนมเม็ดขนุนเพื่อสุขภาพ Low Sugar ผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งให้พลังงานสูง Energy Bar และผลิตภัณฑ์คุกกี้ลำดวนผสมข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผลจากผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ และวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นมาภายใต้แผนงานวิจัยสามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEs อาหาร เพื่อขยายตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ซึ่งผลการดำเนินงานประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีออร์เดอร์ทั้งในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ เช่น เกาหลี จีน ฮ่องกง เวียดนาม ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมันนี เป็นต้น นอกจากสวก. ได้นำผลิตภัณฑ์ในแผนงานวิจัยที่มีความพร้อมสูงไปจับคู่ธุรกิจในงาน THAIFEX – Anuga Asia 2023 ท้ายนี้แผนงานวิจัยฯ ขอขอบคุณ สวก. ที่ได้จัดสรรทุนวิจัยที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอาหาร และสร้างเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างอย่างยั่งยืน สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ แผนงานวิจัย RAINs for LCP Food Valley มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โทร 0989709415  เราคนไทยมาช่วยกันสนับสนุนสินค้าไทย เรียกว่า “ไทยช่วยไทย พัฒนาสินค้าไทย ปลอดภัยต่อสุขภาพ และเศรษฐกิจฐานรากเติบโตอย่างยั่งยืน”

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image