รายงานการศึกษา : รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง แก้ปัญหาขยะบน ‘เกาะพะงัน’

รายงานการศึกษา : รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง แก้ปัญหาขยะบน ‘เกาะพะงัน’

เมื่อเร็วๆ นี้ ซีพี ออลล์-เซเว่น อีเลฟเว่น ยกทัพภาคีเครือข่ายโรงเรียน ชุมชน และองค์กรไร้ถัง ทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมพลิกโฉมการจัดการขยะบนเกาะ เปิดตัวโครงการ Green Living “รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง” นำร่องแก้ปัญหาขยะล้นกว่า 50 ตันต่อวันของ 3 เทศบาลบนเกาะพะงัน ได้แก่ เทศบาลตำบลเกาะพะงัน เทศบาลตำบลเพชรพะงัน และเทศบาลตำบลบ้านใต้ จ.สุราษฎร์ธานี ขยายผล “โครงการต้นกล้าไร้ถัง” ภายใต้มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ของซีพี ออลล์

นายประสิทธิ์ ฉกาจธรรม รองกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาความยั่งยืน บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP ALL ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับสมาชิกทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศการจัดการขยะ แก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบาย 7 GO GREEN เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง ร่วมกันแก้ปัญหาการจัดการขยะระดับพื้นที่เกาะ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มักมีปริมาณขยะจำนวนมาก ให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Advertisement

สำหรับแนวทางการดำเนินโครงการนั้น จะให้ โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา หนึ่งในโรงเรียนในโครงการของ CONNEXT ED จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางโครงการ Green Living “รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง” มอบองค์ความรู้ด้านการ Reuse, Recycle และ Upcycle เป็นต้นแบบการจัดการขยะแก่ชุมชน ผ่าน 3 หลักการ ลด แยก และขยายเครือข่าย อีกทั้ง ถ้าการดำเนินการที่ “เกาะพะงัน” ประสบความสำเร็จ อาจขยายผลสู่เกาะอื่นๆ เพิ่มเติม

นางภัทรภร พุทธรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา อ.เกาะพะงัน กล่าวว่า โรงเรียนได้นำโครงการต้นกล้าไร้ถังมาพัฒนาให้เกิด “เกาะพะงันไร้ถัง” ตามแนวทางโครงการ Green Living “รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง” โดยเริ่มให้ทุกห้องเรียนลด และแยกวัสดุอย่างละเอียด พร้อมต่อยอดองค์ความรู้เป็นวิธีการ Upcycle ขยะพลาสติกสู่ “อิฐรักษ์โลก” เพื่อขยายผลเป็นวิสาหกิจโรงเรียน-ชุมชนในอนาคต

Advertisement

“เราแปรรูปขยะพลาสติกกำพร้าในโรงเรียน เช่น ซองขนม เปลือกลูกอม บรรจุหีบห่อ หรือที่เป็นขยะแห้ง นำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เข้าสู่กระบวนการทำอิฐรักษ์โลก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน ยืดหยุ่นดี มาปูเป็นลานกีฬาเอนกประสงค์รักษ์โลกขนาด 80 ตารางเมตร เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์กลางการสร้างองค์ความรู้ในการจัดการขยะ และคัดแยกวัสดุอย่างถูกต้อง หากดำเนินการต่อเนื่อง เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาขยะในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างรายได้จากอิฐรักษ์โลก เข้าสู่โรงเรียน และชุมชน” นางภัทรภร กล่าวเสริม

น้องแพรว ชลลดา บัวสมุย ชั้น ม.6 โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา กล่าวว่า ขยะก็คือขยะ แต่พอทีมงานมาส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะ ทำให้เห็นคุณค่าของขยะมากขึ้น มองเป็นวัสดุชิ้นหนึ่งที่สร้างรายได้ หลังจากนี้จะเริ่มไปจัดการขยะที่บ้านของตัวเอง แยกเป็น 3 ประเภท คือ ขวดพลาสติก ขยะจากเศษอาหาร และขยะพลาสติกทั่วไป

นับเป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการขยะ ผ่านการปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชน ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image