โฆษกศธ.ถามกลับคนค้าน ทำไมนักเรียน-ครู ใช้ห้องน้ำร่วมกันไม่ได้ ชี้ ไม่เคยทำใช่ว่าจะทำไม่ได้

โฆษกศธ.ถามกลับคนค้าน ทำไมนักเรียน-ครู ใช้ห้องน้ำร่วมกันไม่ได้ ชี้ ไม่เคยทำใช่ว่าจะทำไม่ได้

จากกรณี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปรับปรุงห้องน้ำในโรงเรียน ต่อไปนักเรียนและครูสามารถใช้ร่วมกันได้เพื่อความเท่าเทียม

นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ เป็น โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก

“บางคนก็จะถามว่า คิดได้ยังไงให้ครูใช้ห้องน้ำร่วมกับนักเรียน เอาอะไรคิด
ถ้างั้น ผมถามกลับกันนะครับ แล้วทำไม ถึงใช้ร่วมกันไม่ได้ละครับ มันต่างกันตรงไหน
น่าจะเรื่องความสะอาดใช่ไหมครับ ครูอยากใช้ห้องน้ำสะอาด แล้วเด็กเขาอยากใช้ไหม
ครูรู้จักรักษาความสะอาด แล้วสอนเด็กให้รักษาความสะอาดด้วยได้ไหม
แม่บ้าน ภารโรง ก็กำลังตั้งงบ จ้างให้ ไม่พอก็ช่วยกันรักษาความสะอาด
งบประมาณในการซ่อมปรับปรุงห้องน้ำ ก็ทยอย จัดสรรให้ ให้ไปปรับปรุง ให้ห้องน้ำใช้การได้ดี สะอาด ถูกสุขอนามัย
หลายโรงเรียนครูกับนักเรียนใช้ห้องน้ำร่วมกันนะครับ บางโรงเรียนสถานที่อาจจะไม่เหมาะ แต่ก็ขอให้รักษามาตรฐานความสะอาดให้ได้ใกล้เคียงกัน
อาจจะเป็นสิ่งใหม่ ที่ต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถ้าวันนี้ เราเริ่มสร้างวินัยตั้งแต่การดูแลเรื่องส่วนตัว คือ ความรับผิดชอบในสมบัติสาธารณะร่วมกัน ไม่คิดว่ามันจะมีประโยชน์กับเด็กหรือครับ
ความเห็นอาจจะหลากหลายนะครับ แต่เป็นครู อาจารย์ การแสดงความเห็นของท่านบางเรื่อง มันอาจสะท้อนให้เห็นว่าท่านมี ทัศนคติกับนักเรียนอย่างไร
ไปห้าง ไปร้านอาหาร เราก็ใช้กับใครก็ได้ ถ้าห้องน้ำสะอาด
อย่าเพิ่งตีโพยตีพาย (โดยเฉพาะคนที่ไม่เกี่ยว) ลองทำดู ค่อยๆปรับให้คุณภาพชีวิตของเด็กๆ ดีขึ้น
ฝากไว้ให้คิด
ปล.ผมฝากให้ดู บางโรงเรียนเขาเปลี่ยนแปลงก่อน คำสั่งจะออกแล้วครับ นี่ตัวอย่าง เดียวนะครับ แต่ละโรงเรียนทำตามกำลังความสามารถ
ไม่เคยทำ ไม่ได้แปลว่าไม่มีคนทำได้นะครับ”

Advertisement

ซึ่งหลายคนได้เข้าไปคอมเมนต์เห็นด้วย อาทิ

ครูโทนี่ ที่ไปคอมเมนต์ว่า “เป็นโครงการที่ดีที่ขอชื่นชมครับท่าน รมช. ขอบพระคุณที่ใส่ใจในสุขอนามัยของเด็ก ๆ
เรื่องห้องน้ำสะอาด หรือไม่สะอาด เราพบเจอกันได้ทั่วไปทุกที่ครับ ประเด็นนี้อาจจะมีปัญหาสำหรับคุณครูบางท่าน แต่หลาย ๆ ท่านก็ยินดีใช้ร่วมกับนักเรียน ช่วยกันดูแล ช่วยกันทำความสะอาด เกิดความเท่าเทียม และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับนักเรียนเสมือนลูกหลาน
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการใช้ห้องน้ำร่วมกัน อาจจะมีประเด็นอื่นอีกครับ ยกตัวอย่างเช่น เห็นใจครูโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่พิเศษครับ เด็ก 4,000+ ครู 200 แค่ห้องน้ำครูเข้ากันเอง ยังต่อคิวกัน เข้าไม่ทัน จนกระทบกับเวลาสอนเลยครับ
บางโรงเรียนเขาก็จัดการด้วยตนเอง แบ่งสัดส่วนตามความเหมาะสม ตามบริบทของโรงเรียน (School-based management) ได้ดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตัดเสื้อขนาดเดียวกันแล้วบังคับให้ทุกคนใส่ครับ
ด้วยความเคารพครับท่าน”

Advertisement
แฟ้มภาพ ห้องน้ำโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี ที่ปรับปรุงเพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

นอกจากนี้ยังมีคอมเมนต์อื่นๆ อาทิ

“อันนี้ดีครับ เด็กก็จะได้ไม่แอบสูบบุหรี่ในห้องน้ำ เพราะกลัวว่าห้องข้างๆ อาจจะเป็นคุณครูเข้าอยู่”

“การพัฒนาการศึกษาตลอด 10-20 ปีที่ผ่านมา ได้ผลประโยชน์กันทุกคน คนที่ไม่ได้อะไรเลยคือ “นักเรียน” โครงการนี้อย่างน้อยๆก็ช่วยปรับปรุงห้องน้ำนักเรียนที่สร้างมาแล้วเป็น 10-20 ปี ให้ดีขึ้นบ้างครับ”

“-ครูก็อยากให้ นร ใช้ห้องน้ำดีๆ ทำโครงการปรับปรุงห้องน้ำ นร ดีมาก เห็นด้วยมากค่ะ ถ้าได้ชักโครกแบบนั่งจะดีมาก
-ครูก็สอน นร นะ เพราะเคยรอ นร ใช้ห้องน้ำครูนานมาก ซักพักได้ยินเสียงเล่นเกม เลยต้องรอ นร ออกมา แล้วต้องแนะนำค่ะ (ครึ่งชั่วโมงยังไม่ออกมา ก็ไม่ไหวอะค่ะ)
-ห้องน้ำมีคนทำความสะอาดทั้งของครูและนรค่ะ
-การที่เราสอน นร คงต้องมีโครงการสอนแบบชัดเจนให้ทั่วถึง นร ส่วนใหญ่มีการใช้ห้องน้ำอย่างดี แต่บางคนต้องอาศัยการแนะนำเพิ่มเติม (บางทีบางคนก็ไม่รู้ใครด้วย ยากจัง)
-รร ที่ ครู นร สองพันกว่าๆ สร้างห้องน้ำเพิ่ม อีกได้ป่าว มีงบให้ทั่วถึงไหมคะ หรือต้องทยอยเข้าช่วงคาบเรียน เพราะช่วงเปลี่ยนคาบ ไม่พออะค่ะ รอนานอะ”

“คิดว่า คนไม่เห็นด้วยต้องการที่ระบาย ต้องการแสดงเหตุผลของตนเช่นกัน ลองเปิดพื้นที่ประชาพิจารณ์ จะบังคับกันไม่โน้มน้าวกัน ก็คงมีแต่ไม่ชอบกัน ลองมาทำการการปรึกษาหารือกันก่อนดีกว่า เพราะไม่ใช่น้อย ๆ ที่ไม่เห็นด้วย แม้คนเห็นด้วยจะมีหลักการและเหตุผลดีกว่า แต่ถ้าเสียงส่วนมากเห็นอีกแบบ ก็อยู่กันยาก / ต้องเกลี้ยกล่อมกันก่อน จะดี”

“ในฐานะที่เคยเป็นอาจารย์สอนมาก่อน ผมมองว่าการใช้ห้องน้ำร่วมกันไม่ใช่ปัญหานะครับ เวลาผมเข้าห้องน้ำก็ได้เจอนักเรียน ก็เหมือนมีคนช่วยดูแลสอดส่องพฤติกรรมนักเรียนในอีกด้าน ยกตัวอย่างเช่นห้องน้ำผู้ชายปัญหานักเรียนสูบบุหรี่ก็จะลดลงเพราะไม่กล้าทำกลัวเจออาจารย์รวมถึงปัญหาเล็กๆน้อยๆเช่นการเปิดน้ำทิ้งไว้ การใช้ห้องน้ำแล้วไม่รักษาความสะอาด”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image