‘มรภ.สงขลา’ เจ๋งงานวิจัยผสมยางธรรมชาติ-ยางสังเคราะห์ เพิ่มความยืดหยุ่น  คว้างรางวัลบทความดีเด่น

ปัจจุบันมีการนำยางธรรมชาติไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด ด้วยว่ามีสมบัติเด่นคือมีความต้านทานต่อแรงดึงสูง แม้ไม่ได้เติมสารเสริมแรง ความร้อนสะสมภายในที่เกิดขณะใช้งานต่ำ การเหนียวติดกันที่ดี และยังมีความต้านทานต่อการฉีกขาดสูง ทั้งที่อุณหภูมิต่ำและอุณหภูมิสูง

แต่ข้อเสียหลักคือ เสื่อมสภาพเร็วภายใต้แสงแดด ออกซิเจน โอโซน และความร้อน ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)สงขลา นำโดย นายวัชรินทร์ สายน้ำใส อาจารย์โปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนักศึกษา 4 คน คือ นายอดิศักดิ์ เหมือนจันทร์ น.ส.ชาวดี ปะตาแระ น.ส.อัสมา ศิกะคาร และ น.ส.อาตีฟ๊ะ บุตรา จึงทำวิจัยแก้ไขข้อด้อยเหล่านั้น ด้วยการเลือกเอาสมบัติที่ดีจากยางสังเคราะห์ชนิดอื่นมาทดแทน โดยการผสมยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ยางมีสมบัติเหมาะสมในการใช้งาน เช่น ความทนทานต่อการขัดถูของยางบีอาร์ (บิวทาไดอีน, BR) ความทนทานต่อน้ำมันของยางไนไตรล์ (NBR) ความทนทานต่อความร้อนและโอโซนของยางเอทธิลีนโพรพิลีนไดอีน (EPDM) ความทน

และได้นำเสนอผลงานวิจัยน 2 เรื่อง คือ 1. การใช้ฟูมซิลิกาในผลิตภัณฑ์โฟมยางที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ และ2.การอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญเสียของยางธรรมชาติผสมยางบีอาร์ และยางธรรมชาติผสมยางเอสบีอาร์ ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 พัฒนางานวิจัย สร้างสรรค์อุดมศึกษาไทย ก้าวไกลสู่ Thailand 4.0

ปรากฏว่างานวิจัยเรื่องหลังได้รับรางวัลบทความดีเด่น กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image