เกรียงไกร ให้ทริก ยื่นมรดกโลกไม่ถูกตีตก ต้องตะโกน “คุณค่าที่คุณคู่ควร”

เกรียงไกร ให้ทริก ยื่นมรดกโลกไม่ถูกตีตก ต้องตะโกน “คุณค่าที่คุณคู่ควร”

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ห้องนิทรรศการ มิวเซียมสยาม สำนักพิมพ์มติชน ผนึกกำลังพันธมิตร จัดงานใหญ่ “Knowledge Book Fair 2024 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม” ครั้งที่ 2 มหกรรมความรู้ระดับประเทศ ที่รวม 7 ความเต็มอิ่มที่สุด ครบทั้งความรู้และความสนุก

โดยภายในงานเต็มไปด้วยคาราวานหนังสือจากกว่า 16 สำนักพิมพ์ เวทีทอล์ก ฟังความรู้จากกว่า 40 วิทยากรชั้นแนวหน้าของไทย วอล์กทัวร์กับผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ไปจนถึงเวิร์กช็อปฮาวทูสุดสร้างสรรค์ พบกับ Book Healing ครั้งแรกของการพูดคุยเพื่อฮีลใจ พลาดไม่ได้กับคอลเล็กชั่นสุดพิเศษช่วง พ.ศ.2475 เต็มอิ่มกับ 50 ร้านอร่อย พร้อมฟังดนตรีในสวนกันให้ใจฟู 16-18 ก.พ.นี้ เวลา 12.00-21.00 น. ที่มิวเซียมสยาม

บรรยากาศเวลา 14.40 น. รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร ผู้เขียนหนังสือ ‘จอร์จทาวน์: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก ร่วมเสวนา Book Talk : มรดกไทยจะไปมรดกโลก (อีกไหม ?) ดำเนินรายการโดย นายสมชาย แซ่จิว นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน

Advertisement

เมื่อถามว่า มรดกโลกคืออะไร ทำไมเราถึงต้องได้ ?

รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวว่า ส่วนตัวศึกษาเรื่องมรดกโลก อย่างเรื่องโบราณสถานศรีเทพ หากจะทำความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อ่านเล่มนี้จะเข้าใจ ส่วนหนึ่งข้อมูลต้องพร้อม มีการศึกษายอมรับ เราต้องศึกษาข้อมูลมากมายมหาศาล เพราะการจะเขียนสักบรรทัดหนึ่ง ต้องมีผลงานวิชาการอ้างอิง เพราะเวลาพิจารณาแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม การให้คุณค่าของแต่ละคนต่างกัน อาจจะมีไบแอส โน้มเอียงได้ ดังนั้นการบรรจุสิ่งใดเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ต้องดีเบตกันเยอะ

Advertisement

เมื่อถามถึงการแบ่งมรดกโลก หลักๆ คือแบ่งเป็นมรดกทางธรรมชาติกับทางวัฒนธรรมใช่หรือไม่ ?

รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวว่า มรดกโลก เวลาเราทำความเข้าใจ ในอดีตเราแยกส่วนโดยดูจากเกณฑ์ 10 ข้อว่าเข้าข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ เช่น มีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล สามารถนำเสอให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้

“ต้องดีแคลร์คุณค่าที่สากลให้การยอมรับ เช่น สถาปัตยกรรม อาคารชุดนี้ต้องบอกเล่าพัฒนาการทางวัฒนธรรมของสังคม และมวลมนุษยชาติได้” รศ.ดร.เกรียงไกรชี้

รศ.ดร.เกรียงไกร อธิบายต่อว่า ยูเนสโก้ แบ่งเป็น 6 เกณฑ์มรดกโลกทางวัฒนธรรม และอีก 4 ข้อคือเกณฑ์แหล่งแหล่งมรดกธรรมชาติ แต่ระยะหลังมองว่าความจริงไม่ได้แยกส่วนขาดขนาดนั้น มีแหล่งต้นทุนทางธรรมชาติ ก่อรูปขึ้นเป็นวัฒนธรรม ระยะหลังจึงเลือกคร่อมได้ เช่น บางแหล่งที่เวียดนามภาคเหนือ ฮานอย เลือกทั้ง 2 คุณค่าทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ซี่งเป็นเรื่องที่สากลให้ความยอมรับและต้องการมาก เราต้องทำเรื่องนี้เพื่อสร้างกลไกให้เกิดความเข้าใจและอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เป็นการมองแบบองค์รวมไม่แยกออกจากกัน

“เวลาดูมรดกโลก ต้องประกอบไปด้วยเสา 3 ต้น ดูว่าแหล่งของเรานำเสนอคุณค่า สอดคล้องใน 10 ข้อหรือไม่ คือต้องแสดงคุณค่าแบบนางงามจักรวาล แบบคุณค่าที่คุณคู่ควร อีกส่วนคือ Historic City บอกเล่าความสมบูรณ์ในมิติต่างๆ ได้ แต่ถ้าเป็นแหล่งวัฒนธรรม ต้องไม่ได้ถูกบิดเบือนคุณค่า หรือความหมายทางวัฒนธรรมไป ซึ่งเป็นแนวคิดที่ซับซ้อน เมื่อก่อนการเปลี่ยนหิน เป็นปราสาทราชวังที่มีความคงทน สะท้อนความจริงแท้ของวัสดุ แต่เมื่อแนวคิดถูกท้าทายเราสร้างอาคารด้วยไม้ ถ้าเราถอดไม้ชิ้นนี้ออกมรดกโลหจะเสียไหม เกิดคำถามแบบนี้ขึ้น จึงเกิดการเขียนข้อตกลงขึ้น”

“ที่ญี่ปุ่นมีศาลเจ้า ที่รื้ออาคารลงทุก 20 ปี เขาสร้างอาคาร 2 หลังสลับกัน มีการปลูกป่าใช้สอย ถอดรหัสภูมิปัญญา เรียนรู้ สร้างใหม่ทุก 20 ปี ญี่ปุ่นบอกว่า แล้วอย่างนี้แล้วศาลเจ้าฉันก็ใหม่สิ ความจริงแท้ยังมีอยู่ไหม? จึงไปประชุมกับผู้เชี่ยวชาญ ความจริงแท้ อาจไม่ได้อยูที่แมททีเรียลแบบโลกตะวันตก แต่อยู่ที่ภูมิปัญญา มรดกทางความคิด วิธีการจัดการ ศาสนา และคอนเซ็ปต์ที่เกี่ยวเนื่องด้วย ทำให้เกิดเกณฑ์ใหม่ในการบอกเล่าคุณค่า” รศ.ดร.เกรียงไกรชี้

รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวต่อว่า อีกอย่างเวลาเราเสนอแหล่งมรดกโลก ต้องเสนอแผน เราต้องบอกว่าคุณค่าโดยเด่นอันเป็นสากลของฉันเป็นอย่างไร และมีวิธีรักษาอย่างไร ถ้าเป็นแหล่งอยุธยา อนุรักษ์มาแล้วกี่ครั้ง เวลามีปัจจัยคุกคาม น้ำท่วมจัดการอย่างไร คือเสา 3 ต้น ของการขึ้นเป็นมรดกโลก

“เวลาผมทำเวิร์กช็อปกับท้องถิ่น บ้านเราปัญหาใหญ่ คือกระบวนการทำงาน ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ ที่นำไปสู่ข้อค้นพบที่สำคัญ อย่างเกณฑ์ข้อที่ 1 เป็นตัวแทนด้านศิลปวัฒนธรรม อย่างโบราณสถาน ‘อังกอร์’ ‘เสียมเรียบ’ ก็เลือกเกณฑ์นั้น สะท้อนความยิ่งใหญ่เหมือนกับ ‘ทัชมาฮาล’ แต่บ้านเรา บางทีไปเลือกบางไซต์ เช่นเรามีแหล่งที่เสนอ อยู่ในลิสต์ ที่ไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนเกณฑ์ไปแล้วหรือยัง เช่น พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช เราดีแคลร์ เกณฑ์ข้อที่ 1 เมื่อเทียบกับนครวัด ถูกออกแบบแน่ๆ ไม่อย่างนั้นไม่สามารถสร้างได้ แต่ของเรา บางอย่างที่มีความเป็นพื้นถิ่น อาจจะไม่ได้มีคุณค่าในมิตินี้ แต่มีในมิติอื่น ดังนั้นต้องเลือกเกณฑ์ให้ถูก ไม่อย่างนั้นจะถูกตีตก

“ไม่จำเป็นต้องเก่าเป็นพันปี อย่าง ‘โอเปร่าเฮาส์’ ก็สร้างไม่นาน ที่ผ่านมาเรามองในแง่มรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อย่างเดียว แต่โอเปร่าเฮาส์ สะท้อนเทคโนโลยีใหม่ๆ นวัตกรรมการก่อสร้าง บอกประวัติศาสตร์ พัฒนาการของมนุษยชาติได้ ลองมองแบบใหม่ๆ ดูบ้าง”

“ความจริงแล้ว มรดกสมัยใหม่ก็มีความสำคัญ และเป็นมรดกโลกได้ด้วย ต้องขยายมุมมอง โอบอุ้ม ไม่สามารถเลือกปฏิบัติ ประวัติศาสตร์ทุกหน้ามีความสำคัญ แต่ชหน้าประวัติศาสตร์ขุดนั้นๆ มีผลต่อความเป็นสากลอย่างไร ไม่อย่างนั้นจะถูกจัดเป็นมรดกชาติ ซึ่งพอเป็นมรดกชาติบางทีเราไม่อยากจะมองด้วยซ้ำ อาคารถูกรื้อทิ้ง เปลี่ยนรูปแบบมากมาย” รศ.ดร.เกรียงไกรชี้

รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวอีกว่า หรืออย่างเช่น มรดกสมัยใหม่ ในยุคล่าอาณานิคม Singapore Botanic Gardens ที่สิงคโปร์ อายุ 100-200 ปี ไม่เก่ามาก ไซต์ไม่ใหญ่ แต่เขียนการดีแคลร์แวลู่เก่งมาก ว่าเป็นที่เพาะเมล็ดพันธุ์ยางพารา จากอเมริกาใต้ 13 เมล็ด และเปลี่ยนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเชิงกายภาพ แลนด์สเคป อีโคโนมิค จะไม่ให้ก็ไม่ได้ เขาหยิบมันมาทำให้คม

เกณฑ์ข้อที่ 2 คือ แสดงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่าของมนุษย์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง อย่าง ‘ฮอยอัน’ ในเวียดนาม มีการรวมตัวกันของจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม เกิดเป็นหมู่บ้านการค้า สะท้อนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เป็นต้น สะท้อนการรับวัฒนธรรมต่างแดน ให้ตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งก็จะสอดคล้องเกณฑ์ข้อ 2

“หรืออย่างหลวงพระบาง จะเห็นว่าวัดวาอารามสวยงามมาก แต่เมื่อไปอ่านคำอธิบาย พูดถึงการวางผังเมือง การที่ตะวันตกเข้ามามีอิทธิพล เวลาไปศึกษาพวกนี้จะเป็นความคิด บริบท สังคม วัฒนธรรม ที่อยู่เบื้องหลังการเขียน ซึ่งความจริงไม่มีอะไรปลอดการเมือง 100 เปอร์เซ็นต์” รศ.ดร.เกรียงไกรระบุ

ข้อ 3 สิ่งที่ยืนยันหลักฐานทางวัฒนธรรม และทุกวันนี้ตัดขาดจากชีวิตประจำวันไปแล้ว เรียกว่า เป็นอนุสรณ์สถาน เช่นที่ จ.อยุธยา เราเลือกเกณฑ์ข้อ 3

ข้อ 4 เป็นตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของพัฒนาการด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เช่น บ้านถู่โหลว ที่ฝูเจี้ยน วางผังหน้าตาน่าสนใจ สร้างเทคโนการก่อสร้าง วิศวกรรมศาสตร์ในพื้นที่ เป็นมรดกโลกที่สัมพันธ์กับมรดกอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าสนใจมาก

“มรดกโลก อาจจะเป็นเส้นทางวัฒนธรรม (Cultural route) ก็ได้ อย่างของเรามีแต่บ้านเชียง อยุธยา สุโขทัย ไม่มี historical heritage เราได้ศรีเทพมา ก็มีแผนทำเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ แต่การทำเรื่องความเป็นอยู่ ยากมากที่จะคงคุณค่าไว้ได้ เพราะทุกอย่างมีพลวัต เช่น จอร์จ ทาวน์

ข้อ 5 เป็นตัวแทน เป็นสัญลักษณ์อันเด่นชัด ขนบทางสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง ที่ฮานอย เวียดนาม มี ‘ภูมิทัศน์ตรังอัน’ เป็นภูเขาหินปูนที่มีประวัติศาสตร์การสู้รบเพื่อปลดแอกจากจีน เขาอาศัยตรงนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ เวลาเรามอง บางทีเป็นภูเขา แต่ทำไมเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมได้ หรือย่าง ‘ภูเขาไฟฟูจิ’ ไม่ได้บอกว่าเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติอย่างเดียว แต่อยู่ในสำนึกทางวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นทุกคน คนที่มีภาพจำญี่ปุ่น ก็จากภูเขาไฟ เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม

“สายวิชาการ เรามักต้องตั้งคำถาม เพื่อเสนอข้อค้นพบใหม่ ให้ขอบเขตความรู้ ความคิด ขยายพรมแดนออกไป แต่ในไทยเรามักติดกับดักอยูกับการอธิบายประวัติศาสตร์วัฒนธรรม อย่างเดียว แต่ไม่ได้เชื่อมโยงยุคสมัยว่าคนรุ่นปัจจุบัน จะได้รับคุณค่าอย่างไร เรามองความงาม ประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์อย่างเดียว แต่โลกเขาไม่ได้ให้ความสนใจแล้ว ประวัติศาสตร์ 300-400 ปี มันอาจจะไม่ได้ส่งผลเท่ากับประวัติศาสตร์สมัยใหม่” รศ.ดร.เกรียงไกรชี้

หรือเพราะเรามักเขียนประวัติศาสตร์ที่ไม่มีผู้คนอยู่ในนั้น ?

รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวว่า ส่วนหนึ่งเราเลือกไซต์ที่ตัดขาดไปแล้ว เราไม่พยายามมองหาแหล่งที่มีความหมาย ที่เป็นพลวัต

อย่างของ อินโดนีเซียมี 2 อันที่น่าสนใจ พูดถึงระบบความคิดที่ก่อรูปเป็นวัฒนธรรม ทำระบบการจัดการน้ำ ให้เข้ากับโบราณสถาน และวิถีทั้งหมด พูดถึงเชิงคอนเซ็ปต์อย่างมาก หลักฐานเชิงกายภาพเป็นแค่ส่วนซัพพอร์ต ซึ่งไทยเราอาจติดขัดเรื่องหลักฐาน

ศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวต่อว่า เรากำลังบอกให้คนเข้าใจคุณค่าของประวัติศาสตร์ ถ้าเราเรียนรู้จากความหลากหลายทางวัฒนธรรม เราจะเคารพซึ่งกันและกัน นั่นคือเป้าหมาย ยูเนสโกตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดสันติภาพ อย่างของญี่ปุ่นดีแคลร์ว่า เป็นเฮริเทจ บนความเจ็บปวดและความอับอายที่กลับไปแก้ไม่ได้ ซึ่งอาจเป็นกลไกสำคัญที่อาจทำให้โลกมีสันติภาพในอนาคตได้เหมือนกัน ไม่ได้มองแค่ความงาม ความสวย เป็นอนุสรณ์สถานเตือนใจว่าเราจะไม่ผิดพลาด ไม่ให้เกิดสงครามอีกครั้ง ประวัติศาสตร์ที่เราไม่อยากจดจำ ก็ดีอาจเป็นกลไกสำคัญให้เราไม่เห็นภาพซ้ำรอยอีกต่อไป

ส่วนข้อ 7-10 เป็นเกณฑ์แหล่งทางธรรมชาติ

รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวต่อว่า เข้าข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ เช่น ฮาลองเบย์ เป็นภูมิทัศน์แลนด์สเคป ทางธรณีวิทยา สะท้อนความเปลี่ยนแปลงเป็นแสนเป็นล้านปี

สมมติญี่ปุ่นเสนอฮิโรชิม่า เข้าไป แล้วเราเสนอสะพานข้ามแม่น้ำแคว ก็ต้องดีเบต การเขียนประวัติศาสตร์มรดกโลก คือการเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ หลายๆ เทรนด์จึงสัมพันธ์กับบริบทสังคมร่วมสมัยในห้วงเวลาต่างๆ ด้วย

“เราต้องพยายามส่งคนของเราเข้าไปเป็น 1 ใน 21 คนในคณะกรรมการมรดกโลกด้วย เพื่อทำคำอธิบาย ถ้าไซต์ปราศจากคำถาม ไซต์ทางธรรมชาติไม่ยาก เพราะคุณค่าชัดเจน แต่ถ้าเป็นแหล่งทางวัฒนธรรม เราต้องไปทำคำอธิบาย ไปหาเพื่อน เรามีเพื่อนเวทีสากลมากน้อยแค่ไหน เป็นคำถามด้วย เราต้องตีฆ้องร้องป่าว ยิ่งก่อนยื่น ถ้ามีการขุดค้น มีการตีพิมพ์หลักฐาน ทำให้กระจ่างชัด จะง่ายขึ้น” รศ.ดร.เกรียงไกรชี้

รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวต่อว่า แหล่งล่าสุด ‘ศรีเทพ’ ด้วยความคิดส่วนตัว มีคำถามเยอะอยู่พอสมควร ถ้าไม่ได้พบจารึก อาจจะเป็นวัฒนธรรมร่วมเวลากันก็ได้ โดยส่วนตัว ศรีเทพ ช่วยเติมเต็ม (fullfill) ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ข้อที่ทำให้ศรีเทพมีศักยภาพ คือการเติมเต็มให้ประวิติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มีหมุดยึด

“ประเทศเราควรทำต่อ มีหลายไซต์มากที่เป็นแหล่งทวารวดี ทั้งอ่างทอง คูบัว เหมือนฮาลองเบย์ ที่เขามีกลยุทธ์ในการดีแคลร์ เขาก็เลือกไซต์ อยากได้เร็ว ก็ตีขอบ เอาไซต์ที่มีปัญหาน้อย เสนอเข้าก็ก่อน แล้วค่อยปรับขอบเขต” รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าว และว่า

ถ้าผนวกเข้าไป ไม่ต้องเข้าคิวใหม่ แต่อาจต้องมีการศึกษาลึกลงไป มองในเชิงการจัดการ คุณค่ า ความหมาย อาจได้ศรีเทพมา แต่ทัวร์ลง เกินขีดจำกัดความสามารถในการรองรับของศรีเทพ เพราะไม่มีแผนการรักษา การที่คนเข้าไปพร้อมกันเยอะๆ อาจทำให้สูญเสียคุณค่าได้มาก เช่นกัน

“ไทยไม่ค่อนมีใครทำแผน ว่า คนจะไปเที่ยว นอนไหน แม่ค้าพร้อมทำกับเขาวกับปลาไหม ดังนั้น เวลาทำงานต้องดูทั้งหมดในภาพรวม”

เมื่อถามว่า เหรียญมีสองด้าน ควรจะต้องดูกรณีศึกษาจากเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นกระจกส่องทางเรื่องการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก ซึ่งตัวอย่างที่ดี น่าจะะเป็นจอร์จ ทาวน์ มีหลายเรื่องที่เรายังไม่ค่อยรู้ ซึ่งน่าสนใจมาก ?

รศ.ดร.เกรียงไกร กล่าวต่อว่า แหล่งในบัญชีรายชื่อที่รอรับการพิจารณาในไทย สีเหลืองคือ แหล่งทางวัฒนธรรม สีเขียว ทางธรรมชาติ มองในเชิงกลยุทธ์สีเขียว ได้ไม่ยาก เพราะเป็นที่ต้องการ ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีมาก บังคับให้สเตดปาร์ตี้ต้องออกแบบกลไกในการรักษาแหล่งธรรมชาติ ซึ่งของเราดีแคลร์กลุ่มสีเหลืองเยอะ มองมรดกทางวัฒนธรรม

“เวียดนาม วิ่งเร็วมาก เขาไม่เิงเอิง จะเอาอะไร มีเป้าชัด ไปถึงเป้า ไดรฟ์ทุกอย่างให้วิสัยทัศน์สำเร็จ จะเห็นว่ามี 7-8 แหล่งในเวียดนาม พยายามนำเสนอคุณค่าระหว่างรัฐ กับธรรมชาติ

จากปกติ เราจะต้องไปเข้าคิวแหล่งวัฒนธรรม คิวยาวมาก เป็นพัน แต่แหล่งทางธรรมชาติสั้นกว่า ผมมองว่าศักยภาพของเรา ถ้าดีแคลร์ว่าเป็น แหล่ง ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมยิ่งสั้นใหญ่ อย่างเข่น ภูพระบาตร ถ้าเราดีแคลร์เป็น ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม อาจเข้าถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น อธิบายว่าวันนึงพุทธศาสนาเข้ามา เปลี่ยนความหมายของพื้นที่

เรื่องพวกนี้มีกลยุทธ์ด้วย ที่จะทำงานเกี่ยวเรื่องแหล่งมรดกของเรา มีที่ เชียงใหม่ ดีแคลร์ขึ้นไปถึง เชิงดอยสุเทพ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ภูพระบาท วัดพระธาตุพนม พนมรุ้ง ประสาทเขาปลายบัด ที่น่าสนใจวิธีคิดให้ทำกลไกคู่เทียบ กับแหล่งที่เป็นมรดกโลกแล้ว ถ้าต่างคนต่างคิด จะยิ่งไปใหญ่ มองว่าเรามีคุณค่า เช่น เทียบกับอังกอร์ เราจะไปได้หรือไม่” รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าว

รศ.ดร.เกรียงไกร กล่าวต่อว่า มันมีความหมายหลายมิติ ในยุโรป บางอันทำเส้นทางข้ามทวีป เช่นเหมืองแร่เงิน ในอเมริกาใต้และยุโรป

“ถ้าอยากจะเข้าใจถ่องแท้ ต้องอ่านเล่มนี้ ‘จอร์จทาวน์ ปีนัง’ เป็นเมืองมรดกโลกที่ทำกรอบ Serial Nomination เช่นกัน มีคอร์โซน เต็มไปด้วยแหล่งที่มีคุณค่าและความหมาย และบัฟเฟอร์โซน อนุญาตให้มีกิจกรรมที่ซับซ้อนขึ้นได้

“ที่มาเลเซีย มีปัญหาคล้ายบ้านเราที่ไม่มีแหล่งพลวัต สงขลา ภูเก็ต พยายามทำ แต่ยังติดปัญหา อย่างน้อยๆ เราอาจต้องทำ ทำเคสเปรียบเทียบ กับจอร์จทาวน์ มะละกา ก่อนเพราะเป็นเมืองแบบเดียวกัน ตอบคำถามว่าทำไมเราถึงจำเป็นต้องทำ อย่างสงขลา ควรดีแคลร์แวลู่ ให้สัมพันธ์กับทะเลสาปสงขลา ที่มีลักษณะเป็น พอร์ททาวน์ ในลากูน เราต้องหาจุดต่างและมีคุณค่าในระดับสากลให้ได้ ถ้าเราไปทื่อๆ จะเห็นผลตอนทำคอมมูนิเคชั่น สตัดดี้

หรืออย่าง Think city มีปัญหาเกี่ยวกับเมืองเก่าเล่นกัน ตั้งเป็นกองทุนขึ้นมา ถ้าจะทำทำได้แค่หน้าบ้าน ‘ฟาซาด’ หรือพลับบิกสเปซ เท่านั้น

รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวต่อว่า ความจริง มะละกา มีกลไกนำเสนอโดยภาครัฐ แต่จอร์จทาวน์ โดยเอกชน มีโอกาสมากมายทางเศรษฐกิจ มีเดเวลล็อปเปอร์เช่นเรา มีเงินหร่อยก็สร้างตลาด และสร้างตึกแถวล้อมตลาดให้คนเช่า เช่ามา 3 เจนเนอเรชั่น แอคทีฟซิติเซ่นก็คิดว่าถ้าวันนึงนายทุนเข้ามาซื้อที่ จะทำอย่างไร จึงดึงเอากลไกการอนุรักษ์แบบสากลมาบาลานซ์ เวลาบริหารจัดการเมือง ย่อมมีพลวัต แผนปรับตลอดเวลา มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงเนื้อเมือง อาจจะมีคัมมเมอร์ มาเปลี่ยนแปลงเมืองบ้าง มีการไปขอเช่าในราคาที่สูง เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงเนื้อเมืองของจอร์จทาวน์เหมือนกัน จะต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรให้ไม่ทอดทิ้งรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะกลไกเศรษฐกิจเคลื่อน จึงต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนพื้นเมือง

“ถ้าไม่มีกลไกทำเรื่องอย่างนั้น จะกลายเป็นว่า เรารักษาได้แค่อาคาร แต่รักษาวิถีผู้คนไว้ไม่ได้ อย่างโรงเตี๊ยม ร้านขายยาโบราณ เปลี่ยนเป็นโรงแรม แต่ธุรกิจเหล่านี้ต้องมีจิตใจในการดูแลทุนวัฒนธรรมดั้งเดิม ถ้าเปลี่ยนไปหมดเลย ก็จะไม่มีจุดดึงดูดอะไร วันนึงก็หมดเสน่ห์ สิ่งที่ซื้อไม่ได้ด้วยเงิน คือความรู้ คุณค่าทางประวัติศาสตร์”

“เราไปอ่านข่าว หลวงพระบาง อยุธยาจะถูกถอด จากมรดกโลกหรือเปล่า ผมจึงเอากลไกมาให้ดู สิ่งที่เราต้องรักษา คือการเมนเทนคุณค่าเหล่านั้นไว้ ถ้ารักษาไว้ไม่ได้ ถึงขั้นถูกคุกคาม มรดกก็อาจถูกถอดไป ส่งสัญญาณเตือนว่าถ้าไม่ทำแผน จะถอดออก” รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าว

เมื่อถามว่า กรณีของไทย มีแหล่งที่อยู่ในภาวะเสี่ยงหรือไม่ ?

รศ.ดร.เกรียงไกรชี้ว่า กรณีอโยธยา รถไฟความเร็วสูง เวลาเราจะทำอะไร ต้องรอบคอบในการทำงานที่อาจส่งผลต่อแหล่งมรดก ต้องมีการประเมินผลกระทบ ที่ไม่ได้มีแค่มิติกายภาพ แต่รวมถึงชุมชน ท้องถิ่น จะสูญเสียรายได้ แหล่งอาศัยหรือไม่ มีกลไกหลายเรื่องที่รัฐ ภาคีสมาชิกที่จะดูแลอยู่ ต้องประเมิน และดีแคลร์ได้ว่า จะลดผลกระทบให้ได้มากที่สุดอย่างไร

“เขาไม่ได้ห้ามการพัฒนา แต่การพัฒนานั้นไม่ได้ทำบนที่เปล่าว่าง จึงต้องมีรายละเอียด นี่คือความท้าทาย เช่นการทำรถไฟความเร็วสูง ต้องมีสถานีเป็นอย่างไร มุมมองแกนหลักอยู่ดีๆ มีสร้างมลทัศน์ทางสายตา เกิดขึ้นเร็วหรือไม่ รวมถึงแผนในการบริหารจัดการผู้คน คนตัวเล็กสูญเสียรายได้อย่างไรบ้าง ซี่งตอนนี้ ทางสำนักนโยบายร่วมกับ กรมศิลปากร ทำแผนเรื่องนี้แล้ว ในอนาคตจะมีคู่มือออกมา”

รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวอีกว่า การสร้างรถไฟฟ้า จะเกิดความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่อย่างไรบ้าง อยู่ใต้ดิน แต่ดึงทราฟฟิกให้ผู้คนเข้าในพื้นที่ ต้องตระหนักถึงหลายมิติ อย่างเชียงใหม่ ที่เรากำลังจะมีรถราง ว่างบนผิวจราจร

รศ.ดร.เกรียงไกรกล่าวอีกว่า ทำไมใช้เวลา 30 เราปีถึงได้ศรีเทพ เราเพิ่งเข้าเป็นสเตทปาร์ตี้ ในการเสนอบ้านเชียง สุโขทัย ในช่วงนั้นยังไม่มีเงื่อนไขซับซ้อนเท่าปัจจุบัน

“เรามองแค่คุณค่าที่อยากเล่า แต่ความจริงคุณค่านั้นสากลต้องยอมรับด้วย อีกคำที่สำคัญมากคือ คอมมูนิตี้ มีวิถีของบรรพบุรุษของเขา แต่เราเอาวิธีเดียว เครื่องมือเดียวไปจับ ถ้าเราเข้าใจว่ายูเนสโกต้องการเสรีภาพ ยอมรับความหลากหลาย” รศ.ดร.เกรียงไกรชี้

ทั้งนี้ ภายหลังจบการเสวนา มีผู้ต่อคิวร่วมซื้อ ‘จอร์จทาวน์: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก ของ รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ และ ‘จอร์จทาวน์: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก และ ศรีเทพ สถาปัตย์-ปฏิมา เมืองมรดกโลก’ โดย ศิวพงศ์ สีเสียดงาม อย่างล้มหลาม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image