สุจิตต์ วงษ์เทศ : บุรีรัมย์ เดิมเรียกเมืองแปะ (แป๊ะ)

ต้นแปะขนาดใหญ่ ไม้ประจำ จ. บุรีรัมย์ (ภาพเล็ก-ผลต้นแปะ)

จ. บุรีรัมย์ อยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาพนมดงรัก (กลายจากคำเขมรว่า พนมดงเร็ก แปลว่าภูเขาไม้คาน) ชายขอบทุ่งกุลาร้องไห้ มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน
เดิมเป็นเมืองแห้งแล้ง มีคำพังเพยว่า “ไปบุรีรัมย์ ต้องตำน้ำกิน”
แต่ปัจจุบันมีพัฒนาการก้าวหน้าและมั่งคั่งกว่าแต่ก่อน ทุกวันนี้เป็นที่สนใจของคนทั่วประเทศและทั่วโลก

บุรีรัมย์ เป็นชื่อทางการ แต่ชาวบ้านเรียก เมืองแปะ ได้จากชื่อต้นไม้ เรียกตามสำเนียงโคราชว่า ต้นแปะ
(มีคำอธิบายอยู่ในหนังสือ ประวัติศาสตร์เมืองบุรีรัมย์ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ พิมพ์เผยแพร่ (ไม่ลงปีที่พิมพ์) หน้า 160-164) ดังนี้

ต้นแปะเป็นต้นไม้ผลัดใบ มีทรงพุ่มขนาดใหญ่ ความสูงของลำต้นมีกล่าวว่าสูงถึง 12 เมตร
เปลือกลำต้นสีเทา-ครีม มักแตกและลอกออก คล้ายๆ ต้นตะแบก
ตามกิ่งจะมีนม ซึ่งเป็นปุ่มคล้ายหนาม เป็นใบประกอบ 3 ใบย่อย จับดูจะรู้สึกสากๆ คล้ายๆ ใบข่อย มีดอกปลายกิ่งสีขาวออกเหลืองๆ
ผลเท่าๆ กับเม็ดมะเขือพวง สีเขียว ตอนผลแก่ก็ยังเห็นเป็นสีเขียวๆ อยู่ อาจมีสีเหลือง/ดำ เพิ่มขึ้นบ้าง ผลของต้นแปะเอามาเคี้ยวแทนหมาก จะได้น้ำสีเหลืองอมแดง รสฝาด
ทางพฤกษศาสตร์ ต้นแปะอยู่ในวงศ์ (Family) LABIATAE สกุล (Genus) Vitex ชนิด (Species) Canescens Kurzt และมีอีกชนิดหนึ่งที่คล้ายกันคือ ชนิด (species) Quinata (Lour)

คำอธิบายภาพ

Advertisement

ต้นแปะขนาดใหญ่ ไม้ประจำ จ. บุรีรัมย์ (ภาพเล็ก-ผลของต้นแปะ)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image