วศินบุรี ยัน ไม่เคยมองข้าม ภาพลักษณ์-ความรู้สึกชุมชน ปมย้าย ประติมากรรม ‘เด็กดิน’

วศินบุรี ยัน ไม่เคยมองข้าม ภาพลักษณ์-ความรู้สึกชุมชน ปมย้าย ประติมากรรม ‘เด็กดิน’

จากกรณีที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ ประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าราชบุรี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2560 มีเนื้อที่รวม 1.57 ตารางกิโลเมตร

ต่อมา เฟซบุ๊ก ข่าวราชบุรี ได้เผยแพร่ข่าว ระบุว่า “ครม.มีมติเห็นชอบให้ราชบุรีเป็นเมืองเก่า เมื่อ 11 เม.ย.2560

ประติมากรรม “เด็กดิน” ชิ้นนี้ อยู่ใจกลางเขตเมืองเก่า ดูแล้วขัดต่อสถาปัตยกรรมของความเป็นเมืองเก่า และไม่ได้สื่อความหมายอะไรกับเมืองราชบุรี แถมยังบดบังทัศนียภาพริมเขื่อนรัฐประชาพัฒนาและหอนาฬิกา

Advertisement

คณะอนุกรรมการการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าราชบุรี น่าจะพิจารณา ย้าย #เด็กดิน ไปอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกเขตเมืองเก่า อันจะทำให้ หอนาฬิกาและโอ่งมังกรพ่นน้ำ เป็นจุดสังเกตที่โดดเด่นขึ้น และเขื่อนรัฐประชาก็จะมีพื้นที่ทำกิจกรรมมากขึ้นตามไปด้วย”

ทำให้เกิดการถกเถียงในแวดวงศิลปะ โดย ติ้ว-วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ คือ ทายาทรุ่นสามของ เถ้า ฮง ไถ่ เจ้าของ รางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการออกแบบ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เล่าที่มาของประติมากรรม เด็กดิน โดยได้ย้อนเล่าที่มาของโครงการราชบุรี เมืองศิลปะและประติมากรรมร่วมสมัย ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2542 เพื่อ นำศิลปะยุคปัจจุบันมาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต และเรียนรู้ ของคนในชุมชน

Advertisement

โดยเด็กดิน เป็นผลงานของศิลปินนักออกแบบ ทวีศักดิ์ ศรีทองดี หรือที่รู้จักในชื่อ ‘โลเล’ เป็นประติมากรรมขนาด สูง 6.50 เมตร กว้าง 7.50 เมตร ทำจากวัสดุไฟเบอร์กลาส เสริมโครงเหล็กภายใน รูปร่างเหมือนเด็ก กึ่งนามธรรม นั่งปั้นก้อนดินในมือ หันหน้าเข้าหาแม่น้ำ โดยมีแนวความคิดจากความซื่อและความไร้เดียงสาของดิน ที่แปรสภาพและเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทต่างๆ ตามธรรมชาติ และก้อนดินที่ปกติไม่มีราคาอะไร แต่ถ้าเรานำมาใช้โดยใส่จินตนาการและความฝันเข้าไปก็จะเป็นการเพิ่มคุณค่าของสิ่งนั้นๆได้

ทั้งยังบอกเล่ามุมมองว่า ดิน ไม่ได้เป็นตัวแทนแค่การทำโอ่ง และการสร้างศิลปะเท่านั้น แต่คือตัวแทนทุกๆสิ่งที่คนในชุมชนทำ หากทำด้วยความเข้าใจและมีจินตนาการ มีความรัก ก็จะทำให้ คุณค่า มูลค่า และความสำเร็จไม่ไกลเกินจริง และการมีงานศิลปะ ไม่ได้หมายความอยากให้ทุกคนเป็นศิลปิน แต่คือตัวกระตุ้นของจินตนาการ ที่มีประโยชน์ต่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพของคนในชุมชน

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ ข่าวเพชรบุรี ได้แชร์เนื้อหาในโพสต์เดิม พร้อมระบุต่อด้วยว่า “การสร้างศิลปะ ประติมากรรม ในสถานที่หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะประติมากรรมจะมีบทบาทอย่างมากต่อ ภูมิทัศน์ ที่จะทำให้เกิดคุณค่าทางความงาม และความหมายทางด้านศิลปะ รวมทั้งคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ของสถานที่นั้นๆ ประติมากรรม หากอยู่ในที่ที่เหมาะสมจะทรงคุณค่า หากอยู่ในที่ที่คนไม่รู้ค่า และไม่เข้าใจ ก็ไร้ประโยน์”

ต่อมา เมื่อวันที่ 22 เมษายน นายวศินบุรี ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุุ๊ก โดยว่า

“ยาวมาก แต่ ขอโอกาส พูดบ้างครับ ผมไม่รู้จะย่ออย่างไร เพื่อให้เข้าใจ ความรู้สึกผมบ้างครับ ผมเหนื่อยเเละไม่คิดว่าจะต้องมาเจออะไรเเบบนี้จริงๆ จนวันนี้ผมก็ยังไม่ทราบว่า เขาต้องการอะไร ?
เเละ เมื่อวานทางเพจต้นเรื่องได้เเนะนำบอกให้เรา และ รวมถึงผม “เปิดใจ”
ที่จริงผมเปิดใจมาตลอด คั้งแต่ ทำเรื่องโครงการศิลปะต่างๆ ในเมือง
ทุกคนที่รู้จักผมจะทราบว่า ผมพูดเสมอว่าผมเป็นเด็กที่เกลียด ศิลปะ แต่วันหนึ่ง โอกาสได้เข้ามาในชีวิต ทำให้ผมได้ไปศึกษาต่อ และ ทำให้ผม เข้าใจว่า ผม ไม่ได้เกลียด ศิลปะ แต่ แค่ ยังไม่ได้เจอสิ่งที่ตัวเอง เข้าถึงได้ และ ชอบ เท่านั้น
จึงเป็นเหตุผลที่อยากทำให้ ราชบุรี มีความหลากหลายทางด้านศิลปะมากขึ้น เพื่อที่ใครสักคน ไม่ต้องใช้เวลานานแบบผมจะเจอสิ่งที่ตัวเองชอบ

ก่อนผมกลับมา ใน ปี 1999 ตึกเหลืองของพิพิธภัณฑ์ เพิ่งจะซ่อมเสร็จ และท่านหัวหน้าในตอนนั้น แจ้งว่า ยังไม่มี เรื่องการใช้งานที่ชัดเจน ผมเลยขอว่าถ้าเอางานของศิลปินเยอรมัน มาสะสม มาแสดงได้หรือเปล่า ท่านคิดว่า น่าจะได้ ก่อนจบผมก็เริ่มของาน เพื่อนๆ ที่เรียน และ เพื่อนศิลปิน มา และบอกว่า อยากทำพื้นที่ศิลปะให้กับบ้านเกิดของผม เพื่อนๆ 20 กว่าคน ได้มอบงานแบบให้เปล่ามากับผม
แต่พอตู้ที่ใส่ของมาถึง ท่านหัวหน้าแจ้งว่า สรุป ต้องใช้อาคารทำเป็นสำนักงาน ผมไม่รู้เบื้องลึก หนาบางอะไร แต่สุดท้ายจำต้องมอบงานที่ขอเพื่อนๆมาทั้งหมดให้กับ หอศิลป์เจ้าฟ้า ที่เป็นหอศิลป์ร่วมสมัยไม่กี่แห่งที่บ้านเรามี ในตอนนั้นไป
เสียใจ เสียดาย แต่ ไม่อยากเอาของที่เพื่อนๆให้มา ด้วยความตั้งใจดี เก็บไว้เพื่อประโยชน์ ส่วนตัว

หลังจากนั้นก็ทำกิจกรรมอื่นๆ ส่งเสริมศิลปินให้ได้มาทำงานดินเผาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จัดงานดินเผาในกทม. แต่ไม่เคยลืมเรื่องอยากให้ศิลปะ มีเพิ่มมากขึ้นในราชบุรี
และ หลายๆคนบอกว่า บ้า เพ้อฝัน ภาพของชุมชนๆหนึ่ง อาจไม่จำเป็นต้องมีคำว่าศิลปะมาอยู่ ก็ยังเป็นภาพที่ชัดเจนได้ แต่ ถ้าความสมบูรณ์ของชุมชน เป็นหลายๆ ชิ้นส่วนที่ต้องประกอบกัน ถ้าชิ้นเล็กๆ ที่คนมองข้ามแบบคำว่าศิลปะนี้ยังไม่มีใครสนใจและอยากทำขึ้นมา
ผมก็อยากเริ่ม และ ทำสิ่งที่รักให้เกิดขึ้น เพื่อเราจะได้เป็นชุมชนที่มีทุกชิ้นส่วนอย่างสมบูรณ์

จนวันหนึ่ง พ่อผมได้ซื้ออาคารไม้เก่ามา อาคารที่ผมเดินผ่านทุกวัน และ ชอบมาก พอรู้ว่าพ่อไปซื้อมา เลยขอเพื่อจะทำหอศิลป์ ให้กับราชบุรี บ้านของเรา การบูรณะใช้เวลานานหลายปีกว่าจะซ่อมและทำเสร็จ
สุดท้าย กลายมาเป็นหอศิลป์ d Kunst
ผมคิดตอนนั้นว่าไม่น่ายาก ทำหอศิลป์ในพื้นที่กลางเมือง ขายกาแฟในช่วงที่วัฒนธรรมกาแฟยังไม่บูมแบบวันนี้ คนน่าจะเข้ามา แต่ สุดท้ายไม่ได้เป็นแบบที่คิดเลย ทำให้ ถามว่า ถ้าคนไม่เข้ามาหอศิลป์ ทำไมเราไม่เอาศิลปะ เข้าไปอยู่ในพื้นที่ ที่คนเข้าไปอยู่แล้ว เช่น ร้านค้า ร้านทำผม เรือข้ามฟาก รถทัวร์ จึงเกิดเป็นงาน ปกติศิลป์ ทุกบ้านคือแกลเลอรี ทุกที่คือหอศิลป์ ขึ้นมา
ตอนนั้น ผมเดินๆ ไปกับน้องเกรซ เราคิดว่าแค่ 20 พื้นที่ ก็พอ แต่สุดท้ายกลายเป็น 75 พื้นที่รอบเมือง เพราะยิ่งเห็น ยิ่งรัก และ อยากเก็บทุกๆ ที่ไว้ เป็นความทรงจำของเมือง และ อยากให้ ทุกๆ คนได้เห็นถึงความสวยงามของราชบุรี บ้านเรา อย่างรู้ตัว และเก็บรักษาไว้เพื่อส่งต่อให้ใครสักคนต่อไป
ผมคุย และ อธิบายถึง เหตุและผล และสิ่งที่ฝันไว้ ให้กับทุกที่ ที่เข้าไป ทุกครั้ง ทุกงานเสมอ สิ่งที่ผมคิดคือเรื่องรักษา และ เก็บความสวยงามของชุมชน เป็นเรื่องที่ตอนนั้น อาจเป็นนามธรรมมากๆ คนจะยังนึกไม่ถึงและไม่เห็นภาพ
ผมเลยต้องเล่าเรื่อง ของแถมที่เราจะได้มาก่อน คือ สร้างเศรษฐกิจ และ ทำให้คนมาเที่ยวราชบุรี มากๆๆขึ้น ในวันนั้น ที่ราชบุรีไม่ได้เคยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวเลย
ถ้าใครสักคนกล่าวหาว่าผมไม่พูดคุย ไม่ชี้แจ้ง ท่านคงเข้าใจผมผิด แต่ สุดท้าย ผมอาจไม่สามารถเข้าถึงทุกคน ที่ไม่มีโอกาสเข้าไปคุยได้เช่นกัน

ผมไม่ค่อยเล่าบ่อย ที่จริง งานนี้ ควรมี 76 ที่ แต่ มีที่หนึ่งที่คุยกันแล้ว เขาตกลง แต่ ไม่นาน บางคนจากที่นั่นโทรเข้ามา บอกผมไปคุยกับพ่อแม่เขา ไม่บอกเขา ผมพยายามอธิบายและบอกว่าผมคิดว่าพ่อแม่เข้าตัดสินใจเองได้ ไม่ได้โกรธหรือกวนพูดแบบพยายามยื้อ
แต่ เขาอยู่ ๆ จบประโยค ว่า กูไม่ให้มึงทำ ไอ้เหี้. !!!
ผม SMS ไปถามว่าขอโทษครับคุณด่าผมว่า เหี้.? แต่เขาไม่ตอบ สักพักพี่ชายเข้าโทรมา บอกว่าพี่ ทางครอบครัวเรายินดี พี่ทำเลย
แต่ผมบอกว่า ไม่เป็นไรครับ ผมไม่อยากให้โครงการที่เราเพิ่งเริ่มจะทำ ไปสร้างความแตกแยกให้กับใคร หรือ สร้างความไม่สบายใจให้กับครอบครัวไหนทั้งสิ้น
เพราะนี่ เป็นเจตนารมณ์ ของผม ที่อยากให้เกิดความเข้าใจกันให้ได้มากที่สุด

สุดท้าย เราได้เกิดงาน ปกติศิลป์ ARTnormal มา ในปี 2011
แต่ ก่อนที่งานจะเกิดและคิดรูปแบบงาน ผม คิดว่า ถ้าในเมือง มีงานประติมากรรมร่วมสมัย สักชิ้น ริมน้ำน่าจะดี เพื่อเวลา คนมาเที่ยวงานตาม Art Map จะได้แวะ ตลาด สนามหญ้า ให้คนมากินอาหารอร่อยๆ ของบ้านเรา
และ ตอนนั้น 2554 หรือ 2011 ตอนคิดจะทำงานตรงนั้น พื้นที่ยังโล่ง ไม่มีคนสนใจ ไม่มีกิจกรรมอะไร และ ไม่มีนักท่องเที่ยว ผมคิดว่าถ้ามีอะไรที่ร่วมสมัย น่าสนใจ จากศิลปินดีๆ อาจเป็นสิ่งที่คนไปหัวหิน อาจหาเหตุ แวะ มาเที่ยวบ้านเรา ก่อนที่จะกลับ ไป กทม. ก็เป็นได้
และ เนื่องจาก งานศิลปะที่ผ่านๆมาเราไม่เคย ได้รับ การสนับสนุน งบ ของเทศบาลเลย ผมก็คิดว่า ต่อไป ถ้าเป็นการสร้างเมือง และ ชุมชน เราจะลงทุนตลอดเองคงไม่ได้ เลย อยากให้เทศบาล ลงทุนกับ งานชิ้นนี้ จะใช้คำว่าราชบุรี สะสมซื้องานศิลปะเข้ามาได้หรือไม่ เเละเราอาจจะได้ ภาพ ว่า ราชบุรี ทำทุกอย่างด้วยกัน ช่วยกัน ?
แต่ ในที่สุดแม้จบงาน ปกติศิลป์ ARTnormal ไป เราก็ยังไม่ได้งานประติมากรรมมาตั้ง

ผมยังใช้เวลาเข้าๆ ออกๆ เทศบาล เพื่อพยายามให้เขาลง ทุน เพราะหลังจากงานปกติศิลป์ ก็ น่าจะเป็นเหตุที่ทำให้ ราชบุรี เป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะของเมืองศิลปะร่วมสมัย เราต้องร่วมมือกัน จนคนในเทศบาล บอกพี่ยังมาอีกเหรอ คนอื่นเขาล้ม เบื่อไปนานละ แต่ ผมเชื่อ และ หวังเสมอ ว่าเราอาจต้องใช้เวลา แต่เราต้องทำร่วมกันให้ได้
บางท่าน ที่ออกมาไล่ ด่า เด็กดิน เพราะ อยากได้ พื้นที่กิจกรรม มากขึ้น ด่าว่าเสียๆ หาย ๆ
แต่ท่าน ลืมไปแล้วหรือไง ว่า ที่จริง ทั้ง เขื่อน ตรงนี้ทั้งหมด เคยจะถูกทำให้เป็นพื้นที่ จอดรถ !!!!???
ผมเคยบ่น เสียดายว่าพื้นที่ที่สวยที่สุด และ น่าจะเป็นประโยชน์สุดของทุกคนในเมือง ต้องกลายมาเป็นแค่ ที่จอดรถ
แต่พอโพสต์ ไป มีคนมาแชร์ ว่า ไอ้ควาย ถ้า ไม่มีที่จอดรถ ตลาดก็ ตาย !!!!????
ผมเลย ตอบเขาว่า ที่ตลาดตายเพราะไม่มีที่จอดรถจริงๆ เหรอ สนามหญ้า คนกินน้อยลง เพราะ ไม่มีที่จอดเหรอ หรือ เพราะ แต่ ก่อน ตลาด ของกินมีแค่จุดนี้ คนก็ต้องมา แต่พอมีตลาดใหญ่น้อยกระจายรอบๆ เมืองมากขึ้น แทนที่คนจะเข้าเมืองมากิน ก็อาจหาอะไรแถว บ้านกินหรือ เปล่า

แต่ถ้าเรา มีพื้นที่สวยๆๆ ริมน้ำ จัดกิจกรรม มีร้านสวยๆ มาขาย อาจเป็นเหตุให้คน อยากเข้ามาในเมือง และ กินที่สนามหญ้ามากขึ้นก็ได้ หรืออย่างที่ผมบอก คนจาก กทม อาจมาแวะ ดูงาน และ กินเที่ยวในบ้านเราเพิ่มมากขึ้น ด้วย หรือเปล่า???
เพราะฉะนั้น ผมอยากให้คนที่ด่า ผม ว่า ขัดขวางพื้นที่หากิน เอางานมาตั้งเกะกะ
“ โปรดเข้าใจผมใหม่ ว่าผม พยายามปกป้องพื้นที่นี้ ตลอด เสมอมา และ จะตลอดไป ”
และท่านที่ไม่ทราบ ว่า ทำไม ต้องเป็นงานแบบนี้ ทำไมไม่พูด คุย กับคนในพื้นที่ และ หน่วยงานราชการ
อย่างที่บอกผมพยายามพูดคุยมากๆ ที่สุดเท่าที่โอกาสจะมีได้ แต่ท่านก็ไม่เคยรับฟังหรือให้โอกาสผมไปตอบท่านเลย ว่าทุกครั้งผมไป พูดและคุย ซึ่งก็ยอม มีทั้งคนที่เข้าใจ และ ไม่เข้าใจ เพราะในตอนนั้นก็คงยังนึกไม่ออก เพราะยังไม่มีที่ไหนเริ่มทำมาก่อน
แต่ตอนนั้น ระดับผู้ใหญ่ในเมือง บางท่าน บอกว่า ทำไมไม่ทำ อัตลักษณ์ของเมือง คำขวัญต่างๆ ทำไม ไม่เอาค้างคาว ปลายี่สก แม้แต่โอ่งมังกรของบ้านคุณมาทำ?
อันนี้อาจเป็นสิ่งที่ท่าน ด่าผม และ ผมอาจผิดก็เป็นไปได้ ที่ ไม่ได้ฟังความเห็น ของผู้มีอำนาจของเมือง
แต่ ผมตอบไปว่า สิ่งเหล่านั้นมีหน่วยงานที่น่าจะทำได้ดี และ ทำเสมอๆ มาอยู่แล้ว ผมขอทำในรูปแบบที่แตกต่าง เพื่อเพิ่ม ทางเลือกให้กับบ้านของเรา
อันนี้ผมอาจผิด ที่ดื้อ และ เชื่อมั่น ตัดสินใจ หรือคิดไปเอง แต่ ผมเชื่อจริงๆ เหลือเกิน เราไม่ได้ “เปลี่ยน” อะไร ของเมืองเลย แต่ เราแค่เพิ่มบางสิ่งเข้า “โอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่…….. ถ้าเราจะต่อท้ายว่า “ศิลปะร่วมสมัย” เข้าไปในตอนนั้น เราไม่ได้จะเสียอะไรเลย แต่ได้พ่วงเข้ามาด้วยซ้ำ!!??

พี่ โลเล ทำไม ?
ตอนนั้น BACC หอศิลป์ร่วมสมัยแห่งแรกของประเทศไทยเปิดใหม่ๆ Dollar ของพี่ตั้งตระหง่านอยู่ของหน้าตึก โดดเด่น และ เป็นที่พูดถึงของวงการและวัยรุ่นในตอนนั้นมากๆ งานของพี่ ดูน่ารัก เข้าถึงง่าย และ ที่สำคัญ เราสนิทกัน
เราคงไม่มีงบมากพอ ที่จะไปจ้างใคร ให้ทำบางสิ่งให้เราได้ ขนาดนี้ ถ้าเราไม่มั่นใจ คุ้นเคย รู้จัก และ เขาเชื่อใจเรา
ผมขอเล่าที่จริง พี่โลเล ปฏิเสธ ค่าตัว แต่ ผม บอกไม่ได้ ครับพี่ ราชบุรี กำลังจะเป็นเมืองศิลปะ เราต้องสนันสนุน ศิลปิน พี่อาจไม่ได้อะไรมากเลย แต่ผมขอให้พี่ ต้องรับ และทุนที่เหลือ เราจะขอเอาไปทำงานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่ได้กัน
ในตอนนั้นเวลานั้นตอนที่คิดประมาณ 2010 – 2011 ไม่เคยมีงานขนาดใหญ่แบบนี้ ในบ้านเรา มากนัก หรือถ้า มีก็ไม่มากหรือเป็นลักษณะไม่ได้เป็นร่วมสมัย
พี่โลเล มาประชุมด้วย 1 ครั้ง มาตอนหลังๆ ที่เริ่มน่าจะไปต่อได้ละผมเลยเชิญพี่เขามา ผมขำมากตอนที่ออกมาพี่เขาถามติ้ว มาแบบนี้กี่ครั้งละ ผมบอกว่าหลายสิบครั้ง พี่โลเลบอกว่า ขอบคุณมาก ครั้งหน้า ไม่ต้องเอาเรามาละนะ555

ตอนแรก อย่างที่บอก ผม อยากได้ งานที่ร่วมสมัย อยากให้ศิลปิน เล่นกับพื้นที่ เลย เพราะ เราจะทำให้ราชบุรี มีความหลากหลาย แต่ หลังจากประชุมวันนั้น พี่โลเล ยอมปรับ ให้มีบางสิ่งที่เกี่ยวกับคำขวัญ เข้ามาอยู่ด้วย
พี่โลเลเลือก ดิน
ผมรีบค้าน ทันที บอกพี่ ไม่เอา จะทำไรก็ ทำ อย่าทำ ดิน โอ่ง พี่อยากได้เซรามิกพี่มาเอา ผมสนับสนุน แต่ ผมไม่อยากใช้เงินของส่วนร่วมเพื่อสิ่งที่ครอบครับเราทำ อยากให้ มีสิ่งใหม่ๆ เกิดเพิ่มมา
แต่ พี่โลเลบอกว่า
“ เราไม่ได้มองว่า ดินทำได้แค่โอ่งนะติ้ว แต่ ดินวัสดุ ที่มีทั่วไปไม่มีราคาหาได้ทั่วไป แต่ ถ้าเราเอาใส่ความคิด เอาความฝันมาปั้น มาสร้าง ให้เป็นจริง จากสิ่งที่ไม่มีค่า ก็จะมีความหมาย งานศิลปะชิ้นนี้เป็นตัวแทน ว่าจินตนาการ ศิลปะ และ การออกแบบ มันสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับทุกอย่างได้ “ ผมเลยยอม

และในที่สุด 2014 เราได้เด็กดิน มาผมดีใจมากๆ ตื่นเต้น
แต่วันนั้นเลย อยู่ๆ มีคนโพสต์ เทศบาลเอาขยะมาตั้ง ตัวละเกือบล้าน เคน แอดมินเพจโทรมาบอกพี่ กระทู้นี้ดังมาก ครั้งแรกเลย ตั้งแต่เปิดเพจเลย ผมก็นึกในใจ ดียังไงว๊ะ กูโดนด่าแบบ เขาไม่เข้าใจสิ่งที่พยายามทำเลย
คุณเชื่อมั้ย ผมนั่งตอบทุกความเห็น ที่เข้าใจคลาดเคลื่อนด้วยตัวเอง ย้ำ ทุกความเห็นเป็นร้อยๆๆ อัน หลายต่อหลายวัน จนคนเริ่มเข้าไปตอบแทนผม และตอนนั้นก็มีคนปล่อย Fake เช่นกระบี่ ทำเป็นงานโลหะ ไม่กี่แสนเอง ราชบุรี แดกกันเข้าไป
พอดี ผมจำได้ว่า งานนั้นเป็นของท่านอาจารย์นนทิวรรธน์ เลยโทรไปถามท่านว่าอาจารย์ครับมีคนบอกว่างานอาจารย์ราคาแบบนี้เหรอครับ อาจารย์ตอบว่า เฉพาะค่าหล่อก็ 5- 6 ล้านแล้ว ผมจำตัวเลขไม่ได้แน่ๆ แต่หลักหลายล้านแน่ๆๆ และ เอกชน เป็นคนช่วยๆๆ กันออก
พอผมแจ้งไป เขาไม่ตอบ แต่ บางคน ก็มองว่าเรามีนอกมีใน ผมบอกเลยว่าเอาหลักฐานมา ถ้ามีอะไรที่นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายจริงๆ และมีใครขอเงินทอน ให้เอามา ยืนยัน และ ถ้าผม คิดจะรวยจากงานศิลปะ ง่าย มากๆ แค่ หยุดไม่ต้องทำกิจกรรมอะไร ให้เมืองก็พอ ก็จะประหยัดไปเยอะ

บางคนบอก งานที่เป็นกระแส ดีจะตาย แต่ ผมบอกกลับไปว่า ผมไม่ได้ต้องการกระแส แต่ ” ต้องการสร้างความเข้าใจ ”
และ ที่น่าดีใจ ผลของการพยายามสร้างความเข้าใจ แม้ แต่คนที่ตั้งกระทู้ ก็กลับ มาเป็นคนที่ปกป้องงานของเราหลายต่อหลายครั้ง แม้แต่ในครั้งนี้
ก่อนที่จะมีดราม่า หลายๆสื่อ ที่ติดตามงานของเรา ก็ติดต่อมาแล้วก่อนหน้าแล้ว พอเด็กดินมา ในช่วงเวลาแค่ 1 อาทิตย์ ถ้าผมจำไม่ผิด นสพ 2 ฉบับ ลงสกู๊ปใหญ่ นิตยสารดิฉันลงให้ 4-5 หน้าเต็มๆ และ 2 ช่อง TV ได้มาพูดถึงราชบุรีกำลังขับเคลื่อนเมืองด้วยศิลปะ และ หลังจากนั้นอีกมากมาย นี้อาจเป็นผล ที่ เราได้มาจาก เราได้ลงทุนหรือเปล่า?

ส่วนเรื่องป้าย มันจำเป็นมากๆผมทราบ แต่ เราไม่มีงบที่จะทำ ศิลปินบอกจะลงทุนเอง ผมบอกว่าไม่ถูกต้อง เราควรรอ แต่สุดท้ายก็กลายมาเป้นประเด็น ที่คนมาโจมตีกัน
นี้เป็นเรื่องราวแบบ ย่อที่สุดแล้ว จากแค่ไม่กี่เรื่อง ของการเดินทางของศิลปะในชุมชนที่ผมพยายามทำมา มีอีกหลายๆ เรื่อง ที่เกิดมากมาย ที่บันทอนความตั้งใจและความรู้สึก
แต่ผมเชื่อว่า ผล ดี ก็น่าจะมีเกิดขึ้น มาบ้างในราชบุรีของเราในหลายๆ ปีที่ผ่านๆมา
จากเมืองที่คนผ่าน กลายเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น และ ศิลปะร่วมสมัย ที่เราทำ ก็น่าจะมีส่วนไม่มากก็น้อย

และขอย้ำ ผมไม่เคย มองข้ามภาพลักษณ์ของชุมชน และ ไม่เคย ไม่สนใจความรู้สึกของคนในชุมชนเลย
แต่อย่างที่บอก ผมเชื่อว่าบางครั้ง เราต้องเพิ่มบางสิ่งที่แตกต่างเข้ามาบ้าง สร้างทางเลือกใหม่
พวกท่านที่พูดว่าจะรักษาเมืองเก่า ท่านอยู่ที่ไหนตอนที่เขาจะเอาทั้งพื้นที่ริมน้ำ ทำที่จอดรถ
ท่านไม่เคยรู้สึกแย่ อาย เลยเหรอ ที่แต่ก่อนพอลงสะพานดำมา ต้องเจอกับกองขยะจากตลาด น้ำเน่าๆ เหม็นๆ ที่คนมาเทๆทิ้ง จนเราต้องไปขอเทศบาลเอาโมเสค ไปประดับ และได้ทุนการศึกษาให้เด็มากมาย เราก็ทำให้แบบไม่ได้ คิดค่าใช้จ่ายอะไรทั้งสิ้น มอบให้เด็กทั้งหมดจากเงินบริจาคที่คนมาช่วยๆกัน

หรือบ้างท่านอาจเพิ่งได้เห็นโอกาส จากสิ่งที่หลายต่อหลายคนได้ลงมือทำเป็นเวลาเกือบ 20 ปี และ ท่านต้องการอะไร? เพราะอะไร หวังอะไร เเละทำไม เอาความไม่เข้าใจของท่านมานึกเอง เเล้ว โจมตีคนอื่นแบบนี้ ??
อย่างที่บอกครับ ตอนเริ่มทำจะทำเด็กดิน จนวันที่เอามาตั้ง ตรงนั้นยังเงียบ และไม่มีคนมากมายอะไร
ผมหวัง ว่า จะโพสต์ก่อนหน้า ที่ผมอธิบายไป ท่านน่าจะเข้าใจมากขึ้น
ว่างานชิ้นนี้ “สื่อ” ความหมายความเป็นราชบุรี อย่างมากที่สุด ในรูปแบบร่วมสมัย
เเละตั้งเเต่เริ่ม เด็กดิน ขยับ ตาม ความต้องการ ของเมืองมาตลอด จุดที่ตั้งแรกสุดก็ไม่ใช่ตรงนี้ เราหลบ และ เลี่ยง ยอมให้ความต้องการ ของเมือง มาตลอด พอเริ่มทำเขื่อน ก็บอกจะให้ย้ายไปตรงป่าไม้ ผมก็บอกได้แล้วแต่ เพราะผมมีหอศิลป์ตรงนั้น ไม่อยากให้คนมานินทาว่า ย้ายมาอยู่เพื่อตัวเอง ขอให้ ทางคณะทำงาน ตัดสินใจ
แต่ สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถามไปก็เงียบไม่มีใครสนใจที่จะตอบอะไร
จนอยู่ๆ ก็เกิดประเด็นขึ้นมา ผมไม่เคยรู้จักท่านเจ้าของเพจมาก่อนเลย และ ได้พยามติดต่อ หาช่องทางเพื่อเข้าไปอธิบายในทันที

แต่ ท่านปฏิเสธ และ ตอบว่าไม่สะดวก และเมื่อวานท่านโพสต์ ว่า
#เปิดใจ
ขอบคุณที่ทำให้ผมรู้ว่า คนรักเด็กดินมากแค่ไหน เด็กๆ หลายๆ คนที่โตมากับงานศิลปะ อาจมองว่าสิ่งเหล่านี้เป้นเรื่องปกติของวิถีการดำเนินชีวิตของพวกเขา ไปเเล้วก็เป็นไปได้
วันนี้ผมเปิดใจกับท่าน ผมพร้อมและได้รับฟังความเห็นมากมายไปแล้ว ผมไม่ได้มาเถียงเพื่อเอาชนะใครหรือต้องการชนะอะไร ผมแค่อยากอธิบายในสิ่งที่ท่านเข้าใจเรื่องไม่ครบถ้วน
แต่ถ้าบางคน ไม่พร้อมจะฟังอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของแค่ไม่ยอมกัน จ้องที่จะเอาชนะให้ได้แล้ว โดยไม่สนใจเหตุผลอะไรทั้งนั้นแล้ว ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะความเสียหายก็จะเกิดขึ้นกับบ้านของเราอย่างแน่นอน
อยากให้ท่านๆ ทั้งหลาย ลอง
“เปิดใจ”
ฟังผมบ้างสักครั้ง พอจะเป็นไปได้หรือเปล่าครับ
ขอบพระคุณมากครับ
ปล. รูปเด็กดิน คือบรรยากาศวันเเรกที่มา ที่ตอนนั้นเมืองยังเงียบไม่มีกิจกรรมอะไรมากมายครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image