ณัฐพล เทียบ จอมพล ป. ‘นโปเลียนแห่งการปฏิวัติ 2475’ เล่าอันซีนวาระสุดท้าย หลังลี้ภัย

ณัฐพลเทียบ จอมพล ป. ‘นโปเลียนแห่งการปฏิวัติ 2475’ เล่าอันซีนวาระสุดท้าย หลังลี้ภัย

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่มิวเซียมสยาม สำนักพิมพ์มติชน ผนึกกำลังพันธมิตร จัดงานใหญ่ “Knowledge Book Fair 2024 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม” ครั้งที่ 2 มหกรรมความรู้ระดับประเทศ ที่รวม 7 ความเต็มอิ่มที่สุด ครบทั้งความรู้และความสนุก

โดยภายในงานเต็มไปด้วยคาราวานหนังสือจากกว่า 16 สำนักพิมพ์ ฟังทอล์กความรู้จากกว่า 40 วิทยากรชั้นแนวหน้าของไทย วอล์กทัวร์กับผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ไปจนถึงเวิร์กช็อปฮาวทูสุดสร้างสรรค์ พบกับ Book Healing ครั้งแรกของการพูดคุยเพื่อฮีลใจ พลาดไม่ได้กับคอลเล็กชั่นสุดพิเศษช่วง พ.ศ.2475 เต็มอิ่มกับ 50 ร้านอร่อย พร้อมฟังดนตรีในสวนกันให้ใจฟู 16-18 ก.พ.นี้ เวลา 12.00-21.00 น. ที่มิวเซียมสยาม

Advertisement

บรรยากาศเวลา 14.30 น. BookLaunch: เปิดเรื่องลับเมื่อจอมพล ป. ลี้ภัย โดย นายประดาป พิบูลสงคราม ทายาทจอมพล ป., ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์, นายประเสริฐ ศิริ อดีตกำนันบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ผู้ขับเรือพาจอมพล ป. ไปส่งที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา หลังการรัฐประหาร 16 ก.ย. 2500, ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ดำเนินรายการโดย ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ อดีตคณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้ร่วมรับฟังอย่างล้มหลาม ทั้งประชาชน ตบอดจนเยาวชน และนักวิชาการ อาทิ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายสมชาย แซ่จิว ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์จีน

Advertisement

ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริง กล่าวว่า คืนวันที่ 16 กันยายน 2500 หลังจากเกิดความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มจอมพล ป. ที่จับ มือกับกลุ่ม พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ และกลุ่มปรีดี พนมยงค์ เมื่อทราบ จอมพล ป. ขัดแย้งกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล คือกลุ่มจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับกลุ่มอนุรักษ์นิยมเกิดความขัดแย้งกัน สุดท้าย จอมพลสฤษดิ์ ในฐานะ ผบ.ทบ.จึงทำรัฐประหารในคืนนั้น

“จอมพล ป. เมื่อทราบแล้ว ท่านก็ขับรถออกจากกรุงเทพฯ มุ่งไปทางสุขุมวิท ตอนแรกกะจะแวะหาลูกชาย ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ หรือ ผบ.เรือ กรมนาวิกโยธิน ที่ อ.สัตหีบ แต่เปลี่ยนใจ ขับรถไปกับคนสนิทอีก 3-4 คน วิ่งตรงไปลี้ภัย โดยขับรถข้ามคืน พร้อมดูดบุรี่และฟังคำข่าวไปเรื่อยๆ ระหว่างนั้นทหารเรียกให้ไปรายงานตัว ท่านก็ยิ้มแล้วก็ขับรถต่อไป โดยสมาชิกบนรถไม่รู้ว่าจะไปถึงไหน

จนไปสว่างที่ จ.ตราด หาทางข้ามลี้ภัยไปกัมพูชา พยายามติดต่อเรือ เรือเล็กๆ ส่ายหน้าหมด เพราะเป็นช่วงมรสุม เดือนกันยายน ออกไปตายแน่นอน สุดท้ายได้เป็นเรือขนาดเล็ก แล่นไปต่อไม่ได้ จึงต้องมาหาเรือที่ใหญ่ขึ้น คือเรือ ‘ประสิทธิ์มงคล’ แต่คุณพ่อของกำนันโจ๊ด ไม่ได้ไป มอบให้ลูกชาย เด็กอายุ 19 ทำภารกิจสำคัญ” ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าว

ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าวตอนหนึ่งว่า ‘ก้าวสุดท้าย จากแผ่นดินไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ฝากไว้ที่หาดเล็ก ตราด’ โดย ประดาป พิบูลสงคราม เกิดขึ้นเมื่อ 76 ปีที่แล้ว ซึ่งวีรบุรุษคนหนึ่งที่ จอมพล ป. ชอบคือ นโปเลียนโบนาปาร์ต โดยสำหรับจอมพล ป.แล้วคิดว่าเขามีประสบการณ์คล้ายกับสิ่งที่นโปเลียนทำ คือเป็นนายทหารปืนใหญ่ มีส่วนร่วมในการปฏิวัติ ต่อต้านอำนาจเก่าอย่างรุนแรง สุดท้ายเขาพ่ายแพ้ต้องหนีไปยังเกาะ ซึ่งนโปเลียนได้สร้างสิ่งสำคัญให้กับโลกไว้มากมาย ทั้งระบบกฎหมายและการปกครอง อยู่ในหน้าประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน เช่นเดียวกับวีรกรรม ของจอมพล ป.

“เรื่องของจอมพล ป. ในหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องราวที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้เกี่ยวกับ จอมพล ป.ในวาระสุดท้าย ซึ่งมีฮีโร่คือ นโปเลียนโบนาปาร์ต ที่ในห้วงสุดท้ายเขาถูกขับไปขังที่เกาะเซนต์ เฮเลน่า เหมือนตอนที่กำนันโจ๊ด พา จอมพล ป. ไปลี้ภัยไปกัมพูชา ซึ่งได้พักที่เกาะแห่งหนึ่ง แล้วบอกกับตำรวจอารักขา คุณชุมพล โลหะชาละ ว่า เหมือนเหตุการณ์ ‘นโปเลียนปล่อยเกาะเลย’

“ดังนั้นถ้าเราอยากจะรู้เรื่องราวของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โลกเมื่อเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ไทยแล้ว จอมพล ป. ถือได้ว่าเป็น’โปเลียนแห่งการปฏิวัติ 2475′ เช่นเดียวกัน เพราะเรื่องราวคล้ายกัน นโปเลียน มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติ 1789 ของฝรั่งเศส เหมือนที่เขาปฏิวัติ 2475 และยังเป็นนายทหารใหญ่ ที่มีบทบาทปฏิวัติ และปราบกลุ่มอนุรักษ์นิยม ต่อมาก็พ่ายแพ้ในศึกกับมหาอำนาจยุโรป ถูกส่งไปยังเกาะเอลบา ระหว่างนั้นฝรั่งเศสก็มีการฟื้นฟูอำนาจระบอบเก่ากลับขึ้นมาใหม่ ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 นโปเลียนจึงแหกคุก สุดท้ายแพ้ศึก ส่งกลับไปขังที่เกาะเซนต์ เฮเลน่าอีกครั้ง” ผศ.ดร.ณัฐพลชี้

ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าวต่อว่า เหมือนจอมพล ป. หากเปรียบเทียบในเชิงประวัติ เป็นทหารปืนใหญ่เหมือนกัน มีบทบาทปราบกบฏบวรเดช และปราบกบฏหลายครั้งในช่วงคณะราษฎร และกลับมามีบทบาทอีกครั้งช่วงหลังสงคราม สู้กับอนุรักษ์นิยม กระทั่งปิดฉากลงวันที่ 16 กันยายน 2500 โดยการลี้ภัยไปยังเกาะกง และขึ้นฝั่งกัมพูชาดังนั้น สิ่งที่ จอมพล ป. เอื้อนเอ่ยกับคุณชุมพล โลหะชาละ คือเหมือนนโปเลียนที่ถูกปล่อยเกาะ

ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าวอีกว่า เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ เป็นช่วงไม่กี่วันสุดท้ายของรัฐบาล จอมพล ป. ช่วงวาระสุดท้าย การสิ้นสุดผู้นำที่มาจากคณะราษฎรบำรุง แม้จะมีนักวิชาการจำนวนมาก บอกว่าสิ้นสุดในการรัฐประหาร 2490 แต่ว่า จอมพล ป.นั้น ยังดำรงตำแหน่งต่อมายาวนาน จึงกล่าวได้ว่า ดำรงตำแหน่งหนึ่ง 2500

ทำไมเรื่องราวถึงน่าสนใจ เพราะเป็นประวัติศาสตร์ที่มาการถกเกียงมากที่สุดทั้งขาวและดำ เรื่องราวของเราเหมือนเป็นตำนาน ก้าวขึ้นมา จากลูกชาวสวนทุเรียน ที่ จ. นนทบุรี เรียนเก่ง ได้เข้า ร.ร.นายร้อย ถูกส่งไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส เป็นทหารปืนใหญ่ เมื่อเห็นความก้าวหน้าของยุโรป อยากให้ไทยเป็นอารยะ
จึงรวมกลุ่มเป็นคณะปฏิวัติ จนสำเร็จในปี 2475 ซึ่งต้องเผชิญกับความขัดแย้งของพลังอำนาจเก่า การต่อต้านที่สำคัญคือ เหตุการณ์ กบฏบวรเดช”

กล่าวว่า แต่สู้จนกระทั่งมีชัย ประชาชนชื่นชมในฐานะทหารพิทักษ์ประชาธิปไตย ซึ่งต่างจากในปัจจุบัน การมีบทบาทปราบปรามอนุรักษ์นิยม ทำให้ถูกหมายหัวอย่างมาก ถูกลอบสังหารหลายครั้ง จนถูกเรียว่าเป็น ‘จอมพลหนังเหนียว’ ทั้งยิง ทั้งวางยาพิษ เมื่อก้าวเข้าสู่อำนาจ มีผลงานที่โดนกดดันจากการปราบกบฎบวรเดช พยายามสร้างสังคมใหม่ให้สยามก้าวไปสู่อารยะ ก้าวขึ้นมาเป็นนายก เป็นผู้นำในฐานะปฏิวัติทางวัฒนธรรม ทำให้ไทยก้าวไปสู่อารยะ ทั้งความคิด ความเชื่อดนตรี การแต่งกาย ให้มีความเป็นสากลมากขึ้น จนกระทั่งเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2

“เป็นนายกที่ยาวนานที่สุด จนวันนี้ก็ยังครองตำแหน่งนี้ แม่ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ครองอำนาจยาวนานมาก แต่ก็ยังไม่สามารถเทียบจอมพล ป. ได้ ยังไม่รวมวิสัยทัศน์ที่คงแตกต่างกันอย่างมาก ในแง่การสร้างประเทศ”

จอมพล ป. อยู่ในฐานะถูกท้ายทายบทบาทอย่างมาก ทั้งทหารและกลุ่มอนุรักษ์นิยม เป็นผู้ที่มองไปข้างหน้า หรือสนใจมองกลับไปข้างหลัง เป็นผู้นำพาไทยให้รอดพ้นจากการสู้ญี่ปุ่นในสงคราม หรือทำให้ไทยย่อยยับในสงคราม แม้แต่เป็นนักประชาธิปไตย หรือเผด็จการ ดังนั้น การประเมินบทบา คุณค่าจอมพล ป. จึงมีสีสันอย่างมากในเชิงวิชาการ แต่ยังมีน้อยคนมากที่รู้ฉาดสุดท้าย ว่าเจาหมดอำนาจอย่างไร ลี้ภัย และมีชีวิตหลังลี้ภัย ในกัมพูชา สหรัฐ และญี่ปุ่นอย่างไร” ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าว

ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าวทิ้งท้ายว่า หนังสือเล่มนี้ที่ชื่อว่า ‘ก้าวสุดท้าย จากแผ่นดินไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ฝากไว้ที่หาดเล็ก ตราด’ เกิดขึ้นเมื่อ 67 ปีที่แล้ว วีรบุรุษคนนึงที่จอมพล ป. คล้ายนโปเลียน นอกจากประวัติจอมพล. ป. ที่มีประสบการณ์คล้ายกัน สุดท้ายพ่ายแพ้ ต้องหนี นั้น นโปเลียนได้สร้างสิ่งสำคัญไว้กับโลกมากมาย ทั้งระบบกฎหมายและการปกครอง สิ่งที่จอมพล ป. ทั้งการปฏิวัติ ยังเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปมากมาย วีรกรรมอยู่บนหน้าประวัติศาสตร์ออย่างยาวนาน สิ่งที่ทำมาตลอดชีวิตคือ รักษารัฐธรรมนูญ และต่อสู้กับพลังอำนาจเก่า และผมก็ยังชอบสิ่งที่ จอมพล ป. พูดไว้สมัยหนุ่มๆ

“ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าใน ชั่วชีวิตของเรา บางทีลูกของเราด้วย จะต้องรบกันไปอีกและแย่งกันระหว่างระบอบใหม่และระบอบเก่านี้” คือข้อความที่พูดหลังปราบกบฏบวรเดช ระบุว่า การต่อสู้ของอำนาจเก่า และใหม่ ยังคงอยู่ในสังคมต่อไป เป็นประโยคที่ยังทันสมัย อยู่เสมอ และทำให้เราเข้าใจภาพความเป็นไปของการเมืองไทย หนังสือเล่มนี้จึงมีบทบาทสำคัญที่เราจะอ่านและเรียนรู้ ฉากสุดท้ายของ ‘นโปเลียนแห่งการปฏิวัติ 2475″ ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image