นักภาษาศาสตร์ชี้”เจ้าหญิงดิสนีย์”มีบทพูดน้อยไป! ยัง”ไม่เข้มพอ”จะมีอิทธิพลต่อเด็กหญิง

บรรดาเจ้าหญิงของวอลต์ ดิสนีย์ เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเด็กหญิงตัวน้อยๆ จริงหรือ? เป็นคำถามที่ถูกถามบ่อย และล่าสุดก็ถูกถามขึ้นอีกแล้ว โดยผลการศึกษาใหม่ของนักภาษาศาสตร์ 2 คน ในสหรัฐอเมริกา ที่ทำการศึกษา “บทสนทนา” หรือบทพูดของบรรดาเจ้าหญิงและตัวละครหญิงในการ์ตูนของค่ายดัง วอลต์ ดิสนีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 จนถึงปัจจุบัน แล้วพบว่าเจ้าหญิงของ

ดีสนีย์แทบทุกตัวละคร ยังมีบทพูดน้อยกว่าตัวละครชายในเรื่อง ทำให้แม้แต่การ์ตูนเรื่องลิตเทิล เมอร์เมด หรือเจ้าหญิงเงือกน้อย ก็ยังไม่สามารถมี “อิทธิพล” ต่อเด็กหญิงตัวเล็กๆ อย่างที่ควรจะเป็นคาร์เมน ฟอท อาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ วิทยาลัยฟิตเซอร์ ในเมืองแคลร์มองต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และ คาเรน ไอเซนฮาวร์ ผู้ช่วยสอนนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนา ได้ทำการศึกษาบทสนทนาของการ์ตูนเจ้าหญิงจากค่ายวอลต์ ดิสนีย์ ที่ออกฉายในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา แล้วพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า หนังดิสนีย์ยุคเก่า อย่างเรื่อง Snow White and the Seven Dwarfs (สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้ง 7) ที่ฉายในปี 2480 เป็นการ์ตูนของดิสนีย์ที่ตัวละครหญิงมีบทพูดมากกว่าตัวละครชาย ซึ่งตรงข้ามกันอย่างลิบลับกับผลงานของดิสนีย์ในยุคนี้

http://princess.disney.com/ariel-photo-gallery
http://princess.disney.com/ariel-photo-gallery

ไม่ว่าจะเป็น The Little Mermaid หรือ Beauty and the Beast (โฉมงามกับเจ้าชายอสูร) ซึ่งตัวละครหญิงมีบทพูดน้อยกว่าตัวละครชายอย่างชัดเจน

คาร์เมนให้สัมภาษณ์ ยาฮู มูฟวี่ ว่า “ฉันรู้สึกติดใจ เมื่อได้ยินได้ฟังเวลามีนักวิชาการหรือนักวิจารณ์ออกมาพูดว่า แอเรี่ยล หรือโพคาฮอนทัส เป็นแบบอย่างที่ดี หรือเวลาใครพูดว่านี่คือตัวละครที่เยี่ยมยอด ที่เด็กหญิงเล็กๆ จะต้องดู แต่จากข้อมูลที่เราได้ กลับไม่ได้สนับสนุนความเชื่อเหล่านั้นเลย”

Advertisement
http://princess.disney.com/jasmine-photo-gallery
http://princess.disney.com/jasmine-photo-gallery

คาร์เมนยกตัวอย่างการ์ตูนเรื่องเจ้าหญิงเงือกน้อยที่ออกฉายเมื่อปี 2532 และมู่หลาน ฉายเมื่อปี 2541 ว่า ตัวละครหญิงในเรื่องมีบทพูดไม่ถึง 50% ของบทพูดทั้งหมดในเรื่อง และ “อลาดิน” คือการ์ตูนที่ให้บทพูดแก่ตัวละครหญิงน้อยที่สุด โดยทั้งเรื่องตัวละครหญิงมีบทพูดเพียง 10% เท่านั้น

ที่เป็นเช่นนี้ คาร์เมนบอกว่า ส่วนหนึ่งของปัญหาก็คือ ตัวละครส่วนใหญ่ในการ์ตูนเจ้าหญิงของดิสนีย์เป็นผู้ชาย คือ ถึงแม้จะมีตัวละครหลักเป็นผู้หญิง แต่ตัวละครยิบย่อยในเรื่องส่วนใหญ่เป็นผู้ชายมากกว่า

อย่างไรก็ตาม คาร์เมนก็ว่า หลังจากดิสนีย์หยุดพักทำการ์ตูนเจ้าหญิงไป 10 ปี หลังจาก มู่หลาน ที่ออกฉายในปี 2541 สัดส่วนของบทพูดโดยตัวละครหญิงก็ได้รับการปรับปรุงให้มีบทพูดมากขึ้นในการ์ตูนหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องเบรฟ (Brave) ที่ออกฉายเมื่อปี 2555 ที่ดิสนีย์ตั้งใจ “ปฏิวัติ” ตัวละครเจ้าหญิงของดิสนีย์ใหม่ ด้วยการนำเสนอเจ้าหญิงเมอริด้า ผู้มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว แต่สำหรับโฟรเซ่น (Frozen) หนังการ์ตูนเรื่องฮอตฮิตของดิสนีย์ กลับน่าประหลาดใจ ที่แม้จะมีตัวละครหญิงที่เป็นตัวละครหลักในเรื่องถึง 2 คน แต่ตัวละครทั้งสอง กลับมีบทพูดในเรื่องแค่ 41%

Advertisement
http://frozen.disney.com/gallery

“ถึงแม้ดูเหมือนว่าตัวละครชายจะได้บทเล็กๆ บทไม่สำคัญในเรื่อง แต่บทพูดของตัวละครหญิง ก็ยังน้อยกว่า ตัวละครชาย” คาร์เมนย้ำ

อย่างไรก็ตาม ทั้งคาร์เมน และคาเรน ก็ว่า เมื่อพิจารณาจากเสียงชื่นชมของผู้ชมที่พูดถึงเจ้าหญิงของดิสนีย์ทุกเรื่อง ก็น่าดีใจตรงที่ “ผู้หญิงจะชื่นชมในเรื่องความสามารถของเจ้าหญิงเหล่านั้น มากกว่ารูปลักษณ์ หน้าตา”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image