‘ท็อป ไทด์’ ขนอาหาร 10 ตันเลี้ยงช้างสุรินทร์ พร้อมมอบเงินชาวช้าง เชือกละ 5 พัน

‘ท็อป ไทด์’ ขนอาหาร 10 ตันเลี้ยงช้างสุรินทร์ พร้อมมอบเงินชาวช้าง เชือกละ 5 พัน

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่ศูนย์คชศึกษา หมู่บ้านช้างเลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดในโลก บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ นายบิณฑ์ และนายเอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญู ได้เดินทางมาเพื่อช่วยเหลือช้างและครอบครัวควาญช้าง พร้อมทั้งมีการนำอาหารช้าง มาเลี้ยงช้างภายในศูนย์คชศึกษาจำนวน 77 เชือก

โดยทันทีที่มาถึงนายกิตเมศวร์ รุ่งธนเกียรติ นายกองค์การบนริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของศูนย์คชศึกษา ได้นำเซ่นศาลประกำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวช้างให้ความเคารพนับถือ โดยมีหมอช้าง อายุกว่า 80 ปี ซึ่งถือว่าเป็นหมอช้างรุ่นสุดท้าย ทำพิธีเซ่นไหว้บอกกล่าวศาลประกำ ซึ่งคณะที่เดินทางมาในครั้งนี้ต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

จากนั้นได้เดินทางไปยังโครงการ elephant world ซึ่งตั้งอยู่ภายในศูนย์คชศึกษา เพื่อกราบไหว้พระพิฆเนศองค์ใหญ่ ก่อนที่นำคณะเลี้ยงโต๊ะอาหารช้าง ซึ่งมีผลไม้ที่ช้างชื่นชอบกว่า 10 ตัน ให้กับช้างจำนวน 77 เชือก และได้มอบเงินให้กับช้างน้อย 2 เชือก เชือกละ 5 พันบาท ซึ่งเป็นช้างที่รอเข้าโครงการและเจ้าของต้องหาเลี้ยงเอง เพื่อเป็นการช่วยเหลือ จากนั้นได้ร่วมกับมูลนิธิร่วมกตัญญูมอบเงินช่วยเหลือครอบครัวควาญช้างครอบครัวละ 1 พันบาท พร้อมมอบถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง จำนวน 77 ราย ซึ่งก็สร้างความดีใจให้กับชาวช้างเป็นอย่างมาก

Advertisement

นายบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ กล่าวว่า สุรินทร์ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีช้างเลี้ยงมากที่สุด ก็อยากให้ร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้ดี ดูแลเขาให้ดี ยังไงหากมีปัญหาอะไรก็สามารถประสานไปทางตนได้ ยินดีที่จะเข้ามาช่วยเหลือ ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรง ดังนั้นควรดูแลเขาให้ดี ส่วนปัญหาช้างเร่ร่อนนั้นตนคิดว่าน่าจะไม่มีแล้ว เพราะว่ามีโครงการต่าง ๆ เข้ามาดูแลแก้ไข ทุกอย่างเข้ามาอย่างมีระบบเป็นไปตามกฎหมายของบ้านเมือง เช่นช้างทุกเชือกต้องมีการจดทะเบียน มีแหล่งที่มาที่ไปมีที่อยู่อาศัย ทุกวันนี้ประเทศไทยเป็นอะไรที่ทัดเทียมกับทั่วโลกแล้ว เพราะฉะนั้นจะไม่มีการเดินออกไปเรี่ยไรหรือขอสิ่งของจากชาวบ้าน อย่างที่ตนมาเห็นในวันนี้ ซึ่งเป็นการมาครั้งแรกที่ศูนย์คชศึกษาพบว่าช้างแต่ละเชือกสมบูรณ์มากและแทบไม่พบการใช้ตะขอสับช้างเลย มีการดูแลช้างดีมาก นอกจากเชือกที่ดื้อก็ต้องสั่งสอนบ้าง เหมือนคำโบราณที่ว่ารักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ซึ่งช้างจะดีก็อยู่ที่ตะขอ ซึ่งไม่พบว่ามีการใช้ตะขอสับช้างเลยขอชื่นชมจริงๆ

ตนก็มีความประสงค์ที่จะช่วยเหลือช้างทั่วประเทศ ในขณะที่มูลนิธิร่วมกตัญญูก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการมอบให้กับควาญช้างและครอบครัวช้าง โดยจะมอบให้ครอบครัวละ 1 พันบาท พร้อมถุงยังชีพ สำหรับตนนั้นช้างทุกเชือกที่เข้าไปจังหวัดไหนและไม่สามารถดูแลได้ตนจะมอบเงินช่วยเหลือให้เชือกละ 5 พันบาท ทุกครอบครัว ในส่วนของ อบจ.สุรินทร์ที่ดูแลอยู่ที่จุดนี้ดูแลได้ดีก็ไม่มีอะไรมากเพียงนำอาหารช้างมาเลี้ยงและมอบเงินให้ครอบครัวช้าง 2 เชือกๆละ 5 พันบาท เป็นช่วยเหลือ เป็นช้าง ที่กำลังเข้าโครงการ แต่ยังไม่ได้เข้าต้องเลี้ยงช้างเอง เชือกละ 5 พันบาท

Advertisement

ในขณะที่นายกิติเมศวร์ รุ่งธนิเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ก็เปิดเผยว่า โครงการ elephant world ซึ่งถือว่าเป็นเหมือนมหาลัยช้าง ซึ่งใช้เป็นที่เผยแพร่วิชาคชศาสตร์เผยแพร่ไปทั่วประเทศ และ อบจ.สุรินทร์ ก็กำหนดไว้ว่า เป็นจุดอนุรักษ์ช้าง ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนห่วงใยว่าช้างจะสูญพันธุ์ไปจากโลก ไม่ต้องห่วงเพราะชาวสุรินทร์จะยังคงอนุรักษ์ไว้ตลอดไป

และในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 นี้ โครงการ elephant world ก็จะมีการเปิดนิทรรศการช้างเป็นแห่งแรกของโลก ให้นักท่องเที่ยวได้ชม ซึ่งจะเปิดให้ชมเพียง 30 วัน ก็ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวชม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image