เปิดภาพชุด ‘อันซีนสยาม’ จากช่างภาพฝรั่งในตำนาน ‘วังจักรพงษ์’ คัดเอง ย้ำไม่เคยเผยแพร่ในเมืองไทย

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกันจัดงานรำลึกอดีต มองปัจจุบัน กับภาพถ่ายโบราณระหว่าง พ.ศ.2403-2453 ในงานนิทรรศการภาพถ่าย ‘ฉายาลักษณ์สยาม’ หรือ ‘Unseen Siam – Early Photography 1860 – 1960’

เป็นงานเล่าประวัติศาสตร์ผ่านภาพจากกล้องของสุดยอด 15 ช่างภาพในตำนานระดับโลก กับยุคที่ย้อนหลังไปไกลถึงกว่า 150 ปี

เป็นนิทรรศการภาพถ่ายพระมหากษัตริย์ พระชายา โบราณราชประเพณี สามัญชน วิถีชีวิต ที่หาชมได้ยาก เพราะไม่เคยเผยแพร่ในเมืองไทยมาก่อน

และเป็นภาพยอดเยี่ยมซึ่งผ่านการคัดเลือกจาก ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ แห่งวังจักรพงษ์ อันจะทำให้ความเคลื่อนไหวทางประวัติศาสตร์กว่าศตวรรษครึ่งที่ผ่านมา ผ่านภาพซึ่งกลายเป็นบันทึกความทรงจำ ฝีมือช่างภาพต่างชาติและคนไทยด้วยกันเองยุคที่รู้จักกล้อง จนกลายเป็นตำนานไปแล้ว

Advertisement

เราจะเห็น พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉายเมื่อต้นรัชกาล ในฉลองพระองค์ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ยุคแรก

13

ภาพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร กำลังจะเสด็จขึ้นรถม้าพระที่นั่งซึ่งจอดเทียบอยู่หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในคราวรับเสด็จมกุฏราชกุมารรัสเซียที่มาเยือนสยาม

3

ภาพเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4

14

ภาพเจ้าจอมสุเปีย หรือ โซเฟีย ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมผู้เป็นมุสลิมคนแรก และคนเดียว ที่เป็นเจ้านายจากทาง “มลายู” (สำหรับสมเด็จพระศรีสุลาไลย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ในรัชกาลที่ 2 ทรงมีบรรพบุรุษฝ่ายพระมารดาเป็นมุสลิมสุหนี่จากสงขลา แต่เจ้าจอมมารดาเรียมประสูติที่เมืองนนทบุรี ซึ่งพระบิดา คือพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน) เป็นเจ้าเมืองอยู่)

16

ภาพเจ้านายไทยแต่งชุดแบบสก๊อต

18

ภาพชาวต่างชาตินั่งวาดรูปที่ลานในวัดโพธิ์

1.

ภาพศาลยุติธรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ต้องมีผู้พิพากษาชาวต่างชาติตัดสินความด้วย

2

ภาพมุมสูงพระบรมหาราชวังและวัดพระแก้ว ถ่ายจากหอนาฬิกาที่กระทรวงยุติธรรม ก่อนที่หอนี้จะถล่มลงมาภายหลัง

4

ภาพในระยะใกล้ของการอัญเชิญพระโกศทรงพระศพของเจ้านายชั้นสูง ด้วยเกรินบันไดนาคขึ้นสู่จิตกาธานในพระเมรุมาศท้องสนามหลวง

5

ภาพเด็กชาวเยอรมันที่อยู่ในสยาม แต่งกายแบบไทย

6

ภาพพระยาประเสริฐศาสตร์ศุภกิจ หรือ หมอไรเตอร์ นายแพทย์ประจำพระองค์รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นชาวเบลเยียม

7

ภาพหมอไรเตอร์และภริยาในรถบุปผชาติที่แต่งประกวดในงานฉลองการครองราชย์ครบ 40 ปี ของรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2452

12

โรงละครของเจ้าพระยามหินทร์ หรือ พริ้นเธียเตอร์ ที่สร้างในรัชกาลที่ 4 ที่ท่าเตียน

8

ภาพหมู่ซึ่งถ่ายเมื่อคราวรัชกาลที่ 5 เสด็จอินเดียอย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2415 ในต้นรัชกาล เพื่อทรงทอดพระเนตรความเจริญของนานาประเทศใกล้เคียง โดยมีผู้สำเร็จราชการอังกฤษมารับเสด็จ

9

ซุ้มรับเสด็จที่สร้างโดยกรมโยธาธิการบนถนนราชดำเนินนอก เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจากการประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ.2450

11

กุลสตรีลูกครึ่งไทย-ฝรั่ง ในชุดสตรีไทยในราชสำนัก

20

ภาพนู้ดยุครัชกาลที่ 4 ถ่ายโดยช่างภาพฝรั่งที่เข้ามาในสยาม

15

ฝรั่งที่ทำงานสยามยุคนั้น ถ่ายภาพร่วมกันที่บันไดขึ้นพระปรางค์วัดอรุณ

19

โดยภาพที่หาชมได้ยากเหล่านี้ รวมถึงภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกจำนวนหนึ่งจะเปิดให้ชมตั้งแต่วันที่ 8 กันยายนถึง 7 พฤศจิกายน ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

แต่ก่อนหน้านั้นในวันพรุ่งนี้ (18 ส.ค.) เวลา 14.30 น. ที่ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ไพศาล เปี่ยมเมตตาวัฒน์ จาก สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์ หนึ่งในภัณฑารักษ์ของงานจะเล่าถึงที่มาที่ไป รวมถึงยังมีการบรรยายพิเศษโดย ‘อินเดียนา เหนก’ นักล่าของโบราณ เอนก นาวิกมูล ผู้ก่อตั้ง ‘บ้านพิพิธภัณฑ์’ ที่ไม่ได้เที่ยวเสาะค้นมาเก็บไว้ชื่นชมคนเดียว แต่เผยแพร่ให้ชาวบ้านสาธารณชนได้รู้เรื่องด้วยที่มาที่ไปของงานนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร

การค้นหาและได้มาซึ่งภาพที่ไม่เคยเห็นหรือไม่เคยแสดงในประเทศมาก่อน ยากลำบากขนาดไหน

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image