10 เรื่องน่ารู้ก่อนดู ‘DEEPWATER HORIZON’ หายนะแท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์

เป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริง สำหรับ DEEPWATER HORIZON (ดีปวอเทอร์ ฮอไรซัน) ที่เล่าถึงเหตุการณ์หายนะแท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ผลงานกำกับของ ปีเตอร์ เบิร์ก นำแสดงโดย มาร์ค วาห์ลเบิร์ก , ดีแลน โอ ไบรอัน

ซึ่งก่อนที่จะเข้าไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้ มติชนออนไลน์ ก็มี 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ DEEPWATER HORIZON มาฝาก เป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนฉายจริงวันที่ 29 ก.ย. นี้

1. เหตุการณ์ในหนังคือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2010 เกิดจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบปริมาณมหาศาลในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นถูกบันทึกเป็นมหันตภัยจากน้ำมือมนุษย์ครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ก่อนจะกลายมาเป็นมหันตภัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา

100421-G-XXXXL-003coast-guard

Advertisement

2. DEEPWATER HORIZON คือชื่อของสถานีขุดเจาะน้ำมันขนาดมหึมา สร้างโดยบริษัทฮุนได เฮฟวี่ อินดัสทรี่ รับสัมปทานโดยบริษัทบริติช ปริโตเลี่ยม ผ่านการปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ทีมขุดเจาะน้ำมันจากบริษัททรานส์โอเชียน ตั้งอยู่ที่อ่าวเม็กซิโก 41 ไมล์ จากชายฝั่งหลุยส์เซียน่า โดยสามารถขุดเจาะน้ำมันได้ที่ระดับความลึกถึง 23,400 ฟุต และเคยสร้างสถิติขุดได้ลึกที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ระดับความลึกถึง 35,055 ฟุต

3.ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุระเบิด ประมาณการว่ามีน้ำมันดิบรั่วไหลทะลักลงทะเล 12,000 ถึง 100,000 บาร์เรล (1.9 ล้าน ถึง 16 ล้านลิตรต่อวัน) ก่อให้เกิดภาวะปนเปื้อนกินอาณาเขตสูงสุดถึง 24,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งภายหลังเหตุการณ์นี้มีการคาดการณ์ว่ามีน้ำมันรั่วไหลทั้งสิ้น 4.9 ล้านบาร์เรล ลุกลามเข้าไปยัง 5 ชายฝั่งสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ หลุยส์เซียน่า, มิสซิสซิปปี้, เท็กซัส, ฟลอริดา และอลาบาม่า

FILE - Fires burn around the site of the BP Deepwater Horizon rig site in the Gulf of Mexico, June 19, 2010. Interior Secretary Ken Salazar's flight to the Development Driller II earlier this month was in many ways a dramatization of the challenges facing the Obama administration as it responds to the worst oil spill in U.S. history. (Carolyn Cole/Los Angeles Times) ORG XMIT: 1090437 ORG XMIT: CHI1006222223462079

Advertisement

 

4.องค์การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมโลกประกาศให้ บริษัทบี พี อินดัสเตรียล ห้ามทำสัญญาใหม่กับรัฐบาลสหรัฐชั่วคราว กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ตกลงกับบีพีในการตั้งค่าปรับและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในเหตุการณ์นี้ถึง 4.525 พันล้านเหรียญ ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์

5.ทีมงานของบริษัททรานส์โอเชียนที่ประจำการในสถานีขุดเจาะดีพวอเทอร์ ฮอไรซันได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในทีมขุดเจาะที่ชำนาญที่สุดในโลก โดยก่อนหน้านี้ในปี 2009 ทีมงานกลุ่มนี้ได้ทำสถิติเจาะผิวโลกลงไปลึกที่สุด ที่ระดับ 35,055 ฟุต ใต้พื้นดิน

GULF OF MEXICO - Transocean's Development Driller II continues to dig a relief well in the Gulf of Mexico May 20, 2010.  The Development Driller II and Development Driller III were brought into the area to drill relief wells in an effort to stop the flow of oil into the water after the Deepwater Horizon incident.  U.S. Coast Guard photo by Petty Officer 3rd Class Barry Bena.

6.DEEPWATER HORIZON ถือเป็นความก้าวหน้าด้านวิศวกรรม เพราะแท่นขุดเจาะนอกชายฝั่งมีขนาดใหญ่เหมือนกับเรือสำราญ ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมอันซับซ้อน ดาดฟ้ามีความกว้างเทียบเท่าสนามอเมริกันฟุตบอล มีความสูงทั้งหมดเทียบเท่าตึก 25 ชั้น สามารถบรรทุกลูกเรือได้ทั้งสิ้น 146 คน เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น โรงยิม และโรงภาพยนตร์ เทคโนโลยีที่ใช้นั้นถือว่าก้าวล้ำใกล้เคียงกับยานอวกาศ ตั้งแต่หัวขุดเจาะที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงระบบรักษาความปลอดภัยระดับสุดยอด

7.ผลของเหตุการณ์นี้ แม้แต่ดาวเทียมจากนอกโลก ยังสามารถมองเห็นภาพทะเลที่เต็มไปด้วยคราบน้ำมันมหาศาลได้

Deepwater_Horizon_oil_spill_-_May_24,_20108.ผลของเหตุการณ์ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตทางทะเลกว่า 8,332 สปีชีส์ เกิดเป็นสารพิษรุนแรงที่ชื่อ “PAHs” (Polycyclic aromatic hydrocarbons) ที่มีส่วนทำให้ออกซิเจนในท้องทะเลลดลงเป็นจำนวนมาก

9.เหตุการณ์ที่เกิดทำให้เกิดแรงกระเพื่อมสั่นสะเทือนไปยังภาคเศรษฐกิจและการค้าแก่ชาวอเมริกา รวมทั้งยังลามไปถึงทั่วโลก จนเกิดการเลิกจ้างงานในธุรกิจต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบมากกว่า 47,000 อัตรา

10.หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว มีอาสาสมัครกว่า 3 หมื่นคนเข้าร่วมกันช่วยกำจัดคราบน้ำมันริมชายฝั่ง ทำความสะอาดชายหาด ดูแลสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ และหน้าที่อื่นๆ อีกมากมาย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมหาสมุทรในอ่าวเม็กซิโกยังคงมีร่องรอยของคราบน้ำมันเหลือทิ้งเอาไว้เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจชาวอเมริกันและคนทั้งโลก

On May 6, 2010, a ship cuts through a band of oil on the surface of the Gulf of Mexico that seeped up from the Deepwater Horizon wellhead.  Photo ? Daniel Beltra for Greenpeace.

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image