เปิดกรุเครื่องรางไทลื้อ “มงคล ข่าม คง” ของวิเศษล้านนา สิ่งล้ำค่านครพิงค์เชียงใหม่

อันว่าวัฒนธรรมรุ่มรวยของชาวล้านนานั้น ไม่ได้มีแค่การแต่งกายแสนงดงาม สำเนียงอู้จาอันอ่อนหวาน และอาหารน่าลองลิ้มชิมรส หากแต่ยังมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับความเชื่ออย่างเครื่องรางของขลัง ซึ่งถ่ายทอดผ่านข้าวของที่เรียกกันในท้องถิ่น ว่า “มงคล ข่าม คง” ซึ่งชาวไทลื้ออันเป็นชาติพันธ์สำคัญผู้ตั้งรกรากอยู่ทางภาคเหนือของไทย รวมถึงเวียงเจียงใหม่แห่งนี้

เสื้อผ้าไทลื้อ

เทศบาลนครเชียงใหม่ จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดนิทรรศการ “ไทลื้อ” และ “มงคล ข่าม คง” ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ “พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา” ซึ่งเดิมเป็นอาคารศาลแขวงเชียงใหม่ บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชาวไทลื้อผ่าน “มงคล ข่าม คง” ซึ่งคนไทลื้อถือเป็น “ของวิเศษ” จากกงานสะสมของอาจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง แห่งคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

อาจารย์วิลักษณ์ บอกว่า “มงคล ข่าม คง” สะท้อนความเชื่อของชาวล้านนา โดยมี “ผี” เป็นตัวตั้ง หรือต้นเรื่อง สิ่งที่นำมาแสดงล้วนเป็นของดี ของวิเศษ เพื่อแก้เคล็ด อาถรรพ์ เสริมดวงชะตาและขจัดสิ่งชั่วร้าย มีห้องแสดงเป๊ก แก้วแสง ตุ๊กตาว่านยาสัก และผ้ายันต์สิหิงค์หลวง ซึ่งสิ่งของบางอย่างมีอายุนับร้อยปี โดยเฉพาะผ้ายันต์ สิหิงค์หลวง มีการลงอักษรธรรมล้านนาของกลุ่มไทยวน อักขระไทใหญ่ อักขระพม่า เป็นต้น

Advertisement

เครื่องรางล้านนา

 

นอกจากนี้ยังมีผ้าผ่อนที่ถักทออย่างประณีต ประกอบด้วย เสื้อ ซิ่น และย่าม อันเป็นงานสะสมของ อาจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์ แห่งคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Advertisement

อาจารย์กันต์ เล่าว่า เก็บสะสมผ้าไทลื้อ ทั้งเสื้อ ซิ่น ย่าม มากว่า 30 ปี แล้ว การนำมาจัดนิทรรศการ เพื่อสะท้อนรากเหง้าของบรรพบุรษ มาถึง
ปัจจุบัน เพื่อฟื้นฟูอนุรักษ์และสืบสานด้านวัฒนธรรม ที่ผ่านลายผ้า ที่มีความงดงาม และแฝงด้วยปรัชญา ผืนผ้าไม่ใช่เป็นเพียงวัตถุสิ่งของเท่า
นั้น แต่เป็นการสื่อถึงจิตใจ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ละเอียด รอบรอบ เป็นงานศิลป์ที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น จึงนำสิ่งเหล่านั้นกลับมาสู่ที่เดิม

ผ้าไทลื้อ

“เครื่องแต่งกายผู้ชายไทลื้อ นิยมสวมเสื้อขาวแขนยาว กางเกงหม้อห้อมขายาว ต่อหัวกางเกงด้วยผ้าสีขาว เรียกว่า เตี่ยวหัวขาว และนิยมเคียนหัว
หรือโพกศรีษะ ด้วยผ้าสีขาวและสีชมพู ส่วนหญิงไทลื้อ นิยมสวมเสื้อปั๊ด นุ่งซิ่นต๋าลื้อ นิยมโพกศรีษะด้วยผ้าสีขาว และสีชมพูเช่นกัน สะพายถุงย่าม
และใช้ผ้าเช็ด โดยวัฒนธรรมชาวไทลื้อ เครื่องแต่งกายทั้งในยามปกติและ พิธีการ แบ่งเป็น 3 หมวด คือ เสื้อ กางเกง-ผ้าซิ่น และของใช้ส่วนตัว”

เสื้อผ้าไทลื้อ

ทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า นิทรรศการนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว
ทั่วไป ควบคู่กับหอวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ที่อยู่บริเวณเดียวกัน เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟู อนุรักษ์ราก
เหง้าทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตชีวิต และจิตวิญญาณของชาวล้านนา เพื่อนำเมืองเชียงใหม่ไปสู่มรดกโลกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

“การรณรงค์ให้คนท้องถิ่น อู้กำเมือง และแต่งกายพื้นบ้าน คงไม่เพียงพอ ต้องสร้างแหล่งเรียนรู้ใหม่ ๆ เพิ่ม โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ให้
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ เข้าใจง่าย แต่ข้อจำกัดของการสร้างแหล่งเรียนรู้ คือ การขาดแคลนนักวิชาการที่มีความรู้ด้าน
ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เข้าถึงวิถีชีวิต และจิตวิญญาณที่แท้จริง เพื่อสะท้อนอารยธรรมตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต”

 

นิทรรศการ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ ถึงเดือนมิถุนายน ทุกวันอังคาร ถึงวันอาทิตย์ หยุดวันจันทร์ ที่ “พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา” ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีการบรรยายให้ความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าใจ เข้าถึง สัมผัสรากเหง้า วิถีชีวิต และจิตวิญญาณชาวล้านนาอย่างแท้จริง

 

นิทรรศการไทลื้อ

 

เสื้อผ้าไทลื้อ

นิทรรศการไทลื้อ

นิทรรศการไทลื้อ

นิทรรศการไทลื้อ

นิทรรศการไทลื้อ

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image