‘ลิซ่า’ ไปวัดไหน? เช็กอินให้เป๊ะ มุมพระวิหารหลวง สร้างก่อนสถาปนากรุงเก่า

‘ลิซ่า’ ไปวัดไหน? เช็กอินให้เป๊ะ มุมพระวิหารหลวง สร้างก่อนสถาปนากรุงเก่า

ว่ากันว่า อยุธยาแตกแน่!
เมื่อ ลิซ่า ลลิษา มโนบาล โพสต์ภาพลงไอจี เช็กอินอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อ่านข่าวเพิ่มเติม ‘ลิซ่า’ โพสต์ภาพสวมชุดไทย เที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ แฟนคลับ ลั่น อยุธยาแตกแน่!

‘มติชนออนไลน์’ ชวนเปิดแผนที่กรุงเก่า ปักหมุดให้ถูกจุด ไม่เพียงแค่วัดไหน หากแต่มุมใด ต้องให้เป๊ะ!

สำหรับโบราณสถานที่ลิซ่าถูกกดชัตเตอร์เป็นมรดกความทรงจำผ่านไอจี คือ ‘วัดมหาธาตุ’ อันเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา

Advertisement

สำหรับมุมที่ถ่ายโดยยืนหันข้าง เอาให้เป๊ะ คือ ‘มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระวิหารหลวง’

วัดแห่งนี้ถือเป็นอารามสำคัญอย่างยิ่งของกรุงศรีอยุธยา โดยถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.1893 เสียอีก หลักฐานคือ พระปรางค์อิทธิพลศิลปะเขมร สืบทอดจากรัฐละโว้ที่มีมาก่อน มีภาพถ่ายเก่าสมัย ร.5 เห็นเต็มองค์ ปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ มีเทคโนโลยีเดียวกับปราสาทนครวัด, ปราสาทบายน ใน กัมพูชา ซึ่งพบทั่วไปบริเวณลุ่มน้ำมูลที่ราบสูงโคราช เช่น ปราสาทพิมาย (นครราชสีมา), ปราสาทพนมรุ้ง (บุรีรัมย์) ฯลฯ และบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก คือปราสาทเมืองศรีเทพ (เพชรบูรณ์)

วัดเดียวกันนี้ เคยถูกโปรโมตในมุม ‘อันซีน’ คือ เศียรพระพุทธรูป โผล่จากรากโพธิใหญ่ หรือรากโพธิ์ใหญ่ขึ้นคลุมเศียรพระพุทธรูปนั่นเอง

Advertisement
มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ อยุธยา

ส่วนมุมนี้ บอกเลยหาไม่ยาก อยู่ที่ประตูท้ายพระอุโบสถด้านทิศใต้ โดยให้ยืนตรงประตูด้านหลัง ฝั่งทิศใต้ของพระอุโบสถ

ภายในพระปรางค์วัดมหาธาตุ ยังพบจารึกแผ่นดีบุก เป็นคำอุทิศส่วนกุศลจากการหล่อพระพุทธพิมพ์เท่าจำนวนวันเกิด การบูชาพระรัตนตรัย และการฟังพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย บิดา ญาติ และตนเอง โดยขอให้ตนได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต เฝ้าพระศรีอารย์ และเมื่อพระองค์เสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ตนได้มาเกิดในตระกูลกษัตริย์ มีปัญญารอบรู้ กล้าหาญ ฯลฯ และถึงแก่นิพพาน ตอนท้ายได้ระบุชื่อและอายุของผู้สร้างพระพิมพ์ คือ พ่ออ้ายและแม่เฉา อายุ 75 ปี เนื้อหาในจารึกแผ่นนี้ทำให้ทราบถึงการสร้างพระพิมพ์ในสมัยอยุธยาว่านอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อสืบทอดศาสนาแล้ว ยังมีขนบการสร้างให้มีจำนวนเท่ากับวันเกิดของตนเองดังเช่น พ่ออ้ายและแม่เฉา ซึ่งมีอายุ 75 ปี ได้ระบุจำนวนวันตามอายุของตนว่า “..ญิบหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยวัน..” จึงสร้างพระพิมพ์ตามจำนวนดังกล่าว

ภาพจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image