บทนำหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 31 สิงหาคม 2564 : ตรวจสอบATK

บทนำหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 31 สิงหาคม 2564 : ตรวจสอบATK

บทนำหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 31 สิงหาคม 2564 : ตรวจสอบATK

ชมรมแพทย์ชนบทเปิดตัวแพทย์อีกคนที่จะเข้ามาตรวจสอบคุณภาพของเอทีเค หรือชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง ยี่ห้อเล่อปู๋ (LEPU) ที่องค์การเภสัชกรรมจะลงนามซื้อในวันที่ 30 สิงหาคม คนแรกคือ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ โรงพยาบาล (รพ.) น่าน นักระบาดวิทยา ล่าสุดคือ ผศ.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ อาจารย์แพทย์ นักวิจัย และนักบริหารด้านเวชศาสตร์ชุมชน จบแพทยศาสตร์รามาธิบดี ในปี 2537 ใช้ทุนที่ รพ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น แล้วรับราชการเป็นอาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ปี 2545 จบปริญญาโทและปริญญาเอกจาก University of Minnesota ในปี 2548 นอกจากเป็นอาจารย์ในภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน เคยทำหน้าที่ผู้ช่วยคณบดี เป็นผู้จัดการแผนงานการควบคุมโรคไม่ติดต่อ เคยเป็นรองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงาน นพ.วิชช์ คือเขียนบทความกระตุ้นรัฐบาลให้เห็นว่าการเปิดประเทศใน 120 วัน ประชาชนต้องได้วัคซีนแอสตร้าฯ เกิน 20 ล้านโดส และเชื่อว่าส่งผลพอสมควรในการ
กระตุ้นให้รัฐบาลเร่งนำเข้าแอสตร้าฯ มาเพิ่มเพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันสู้ภัยโควิด และร่วมก่อตั้ง Community Isolation ของรามาธิบดี เข้าไปดูแลทั้งระบบและคนไข้ใน CI ด้วยตนเอง เพื่อช่วยลดปัญหาการไม่มีเตียงของโรงพยาบาล และลดอัตราการแพร่โรคและอัตราป่วยตายให้มากที่สุด โดยจะช่วยวางแบบแผนของระเบียบวิธีวิจัยให้มีความแม่นยำที่สุด และจะเป็นมือหลักในการร่วมวิเคราะห์ข้อมูล

ต้องถือว่าเป็นผลดีกับประชาชนที่มีทีมแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถมาตรวจสอบคุณภาพของเครื่องตรวจด้วยตนเอง ที่ใช้งบประมาณจัดซื้อ ท่ามกลางข้อโต้แย้ง เพราะก่อนหน้านี้การแก้ไขปัญหาโควิดดำเนินการและชี้นำโดยบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับฟังเสียงสะท้อนจากฝ่ายต่างๆ จนเกิดความเสียหายทั้งด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบกับทุกฝ่ายจำเป็นต้องฟังเสียงหลายฝ่าย ทั้งผู้รู้ และผู้รับผลกระทบ การผลักดันนโยบายทางเดียวได้ข้อพิสูจน์แล้วว่าผลเป็นอย่างไร ดังที่ต้องออกกฎหมายมานิรโทษกรรมดังที่ปรากฏอยู่ขณะนี้

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image