สมเด็จพระจักรพรรดิ ’นารุฮิโตะ’ž จาก’เฮเซ’žสู่’เรวะ’ž

(FILES) (Photo by Toshifumi KITAMURA / AFP)

มกุฎราชกุมาร นารุฮิโตะ แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ก้าวขึ้นครองบัลลังก์ดอกเบญจมาศ เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ พระองค์ที่ 126 ของประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 พฤษภาคม ปี ค.ศ.2019

ไม่เพียงสร้างประวัติศาสตร์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์แรกที่ประสูติหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์แรกที่ทรงได้รับการเลี้ยงดูโดยพระราชบิดาและพระราชมารดา และทรงเรียนจบมหาวิทยาลัยและผ่านการศึกษาต่อต่างประเทศเท่านั้น

แต่สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ พระชนมพรรษา 59 พรรษา ยังทรงครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ผู้ทรงสละราชสมบัติเป็นครั้งแรกในรอบ 200 ปีของราชวงศ์ญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ ทรงมีพระราชประสงค์ก่อนหน้านี้ที่จะทรงปกครองบ้านเมืองในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ตำแหน่งซึ่งเป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศตามรอยพระราชชนกอย่างสมเด็จพระจักร พรรดิอากิฮิโตะ ที่ทรงทำให้สำนักพระราชวังใกล้ชิดประชาชนมากยิ่งขึ้น

Advertisement

สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ ผู้ทรงขึ้นครองราชย์และเริ่มต้นยุค ’เรวะ’Ž อย่างเป็นทางการ ทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ของคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาด้านน้ำและสุขอนามัย ของเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ตั้งแต่ปี 2007

ประสูติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1960 สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ เป็นพระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินี มิชิโกะ โดยพระองค์ทรงมีพระอนุชา คือเจ้าชายอากิชิโนะ และพระขนิษฐา คือ เจ้าหญิงซายาโกะ ผู้ที่เวลานี้ได้สละฐานันดรศักดิ์หลังจากทรงแต่งงานกับสามัญชน เมื่อปี ค.ศ.2005

พระนาม ’นารุฮิโตะ’Ž เป็นชื่อจากตัวอักษรจีนโบราณสองตัวที่มีความหมายว่า ‘บุรุษผู้จะได้รับคุณงามความดีจากสวรรค์’Ž

Advertisement

สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ ทรงจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี 1982 จากคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาเอกประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยงะคุชูอิน และทรงทำวิทยานิพนธ์เรื่องการจราจรทางน้ำทางตะวันตกของญี่ปุ่น

ข่าวรอบด้าน กับ Line@มติชนนิวส์รูม คลิกเป็นเพื่อนกัน ได้ที่นี่

เพิ่มเพื่อน

พระองค์ทรงใช้เวลา 2 ปีในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ที่เมอร์ตันคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ซึ่งพระองค์ทรงต้องใช้ชีวิตในหอพักนักศึกษาเป็นครั้งแรก ก่อนที่จะทรงทำวิจัยในหัวข้อเรื่องประวัติศาสตร์การขนส่งทางน้ำในแม่น้ำเทมส์ ตีพิมพ์ผลงานในชื่อ ‘The Thames as HighwayŽ’ ในปี 1989 และทรงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในปี 1991

สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ ผู้ทรงถูกหล่อหลอมจากครอบครัวที่ผ่านการแหวกขนบเดิมๆ เช่น การที่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ พระราชบิดาของพระองค์ ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงมิชิโกะ ผู้ทรงเป็นหญิงสามัญชนเช่นเดียวกัน สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ ก็ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงมาซาโกะ นักการทูตสาวผู้ผ่านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นสามัญชน เช่นกัน

สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ ทรงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งพระทัยด้วยการใช้เวลาถึง 8 ปี ในการพยายามชนะใจ มาซาโกะ โอวาดะ หญิงนักการทูตมากความสามารถที่พระองค์ทรงพบในงานเลี้ยงต้อนรับเจ้าหญิงเอเลนา แห่งราชวงศ์สเปน เมื่อปี 1986 และทรงต้องถูกปฏิเสธคำขอแต่งงานถึงสองครั้ง ก่อนที่ทั้งสองพระองค์จะทรงเข้าพิธีเสกสมรสในปี 1986 ในที่สุด โดยทั้งสองพระองค์ทรงมีพระธิดา เป็นทายาทเพียงพระองค์เดียวคือเจ้าหญิงไอโกะ พระชันษา 17 ปี

คีธ จอร์จ ทนายความวัย 57 ปี พระสหายร่วมชั้นเรียนที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะจะทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิที่ยอดเยี่ยม

”พระองค์ทรงเป็นคนที่ห่วงใยคนอื่น เป็นคนถ่อมตน แต่พระองค์ทรงไม่เคยลืมหน้าที่ในฐานะมกุฎราชกุมาร และพระองค์จะทรงไม่ลืมหน้าที่ในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิด้วยเช่นกัน”Ž จอร์จกล่าว

นักศึกษาหนุ่มสองคนรู้สึกถูกชะตากันตั้งแต่ได้พบกันครั้งแรก เมื่อจอร์จ มีความทรงจำเกี่ยวกับสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะในห้วงเวลานั้นในฐานะผู้ที่มีอารมณ์ขัน และเป็นคนที่ชื่นชอบในเรื่องดนตรีเหมือนกันทั้งคู่ โดยจอร์จ นั้นเป็นนักดนตรีที่เล่น ’แบนโจ’Ž ขณะที่ สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะเอง ก็ทรงเป็นมือ ‘วิโอลา’Ž ในวงออเคสตราด้วยเช่นกัน

ขณะที่ โทชิโอะ ชิราอิชิ พระสหายยาวนานของสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ มือ ‘เชลโล’Ž ผู้ร่วมวงออเคสตราระบุว่าการเลือกเล่นเครื่องดนตรีของสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ นั้นสะท้อนบุคลิกส่วนพระองค์ได้เป็นอย่างดี

สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ ทรงเคยบรรยายไว้ครั้งหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจบทบาทของวิโอลา ซึ่งไม่ได้โดดเด่น แต่เป็นเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้ เพราะความไพเราะจะกลายเป็นความวังเวง หากขาดวิโอลา มันเป็นความสุขที่ได้เลือกวิโอลาเป็นเพื่อนทำให้ข้าพเจ้าสามารถพบเจอผู้คนและเล่นดนตรีร่วมกัน”Ž

ด้านผู้เชี่ยวชาญราชวงศ์ญี่ปุ่นระบุว่า สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ จะทรงงานเน้นไปที่ปัญหาระดับโลก เช่น การป้องกันหายนะภัย การอนุรักษ์น้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทรงศึกษาวิจัยตั้งแต่ทรงเสด็จเยือนประเทศเนปาล ตั้งแต่ปี 1987

ขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะเอง ทรงเคยมีส่วนร่วมเกี่ยวกับงานด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การร่วมในงานประชุมนานาชาติเกี่ยวกับน้ำสะอาดในปี 2015 และเคยทรงขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่คณะกรรมาธิการด้านน้ำและสุขอนามัยของยูเอ็นด้วยเช่นกัน

ขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะเอง พระองค์ก็ทรงเคยแสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับชะตากรรมของเด็กในสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ใช้ชีวิตอย่างยากจนในญี่ปุ่น 

“เมื่อข้าพเจ้าคิดถึงวันข้างหน้า ข้าพเจ้าไม่รู้เลยว่าตัวข้าพเจ้าจะมีประโยชน์ได้มากแค่ไหนŽ” สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะเคยตรัสไว้เมื่อขณะทรงเป็นเจ้าหญิงมาซาโกะ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพเมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา

“แต่เมื่อหลังจากข้าพเจ้าได้ใกล้ชิดใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมองไปยังแนวทางของพระองค์ ข้าพเจ้าจะพยายามให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อสนับสนุนมกุฎราชกุมารและทำเพื่อความสุขของคนทั้งชาติ”Ž

ขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ เคยตรัสไว้ว่า พระองค์จะทรงงานเพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานของสำนักพระราชวังญี่ปุ่น และพัฒนาสำนักพระราชวังเพื่อให้ทันสมัย

พระองค์ตรัสด้วยว่าเป้าหมายใน การครองบัลลังก์ของพระองค์นั้นคือนำ ’สายลมอันสดชื่น’Ž มาสู่ ’บัลลังก์เบญจมาศŽ’

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image