ทรัมป์ถูกหัวเราะเยาะและช่วงเวลาน่าตกตะลึงบนเวทียูเอ็นจีเอ

(AP Photo/Richard Drew, File)

เสียงหัวเราะนั้นเกิดขึ้นทันทีทันใด ดังและอย่างไม่ได้คาดคิดมาก่อน

นับเป็นความเสียหายของโดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะกล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้นำโลกบนเวทีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (ยูเอ็นจีเอ) และถูกรับชมโดยผู้คนหลายสิบล้านที่ดูคลิปช่วงเวลาอันน่ากระอักกระอ่วนของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาบนออนไลน์

เสียงหัวเราะเยาะนั้นตามมาภายหลังจากนายทรัมป์โอ้อวดว่า “ในช่วงเวลาไม่ถึง 2 ปี ฝ่ายบริหารของผมประสบความสำเร็จมากกว่าฝ่ายบริหารใดๆ ในประวัติศาสตร์ของประเทศเรา”

เสียงหัวเราะดังขึ้นอย่างชัดเจน ทรัมป์ได้กล่าวติดตลกว่านั่นไม่ใช่ปฏิกิริยาที่เขาคาดหวัง

Advertisement

หลังจากที่ทรัมป์เดินทางออกจากยูเอ็น เขาได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าต้องการปล่อยมุกตลก โดยกล่าวว่า “โอ้ มันยอดเยี่ยมมาก นั่นเป็นความต้องการที่จะเรียกเสียงหัวเราะเล็กน้อย ฉะนั้นแล้วมันยอดเยี่ยมมาก”

ถึงอย่างนั้นก็ตาม นับเป็นช่วงเวลาที่น่าตกตะลึงในสถานที่ซึ่งถือว่าศักดิ์สิทธิ์ที่มีการหารือเรื่องสงครามและสันติภาพ ความมั่งคั่งและความยากจน ความอดอยากและความอุดมสมบูรณ์อย่างเต็มไปด้วยความจริงจังมานานหลายทศวรรษ

และต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์ที่น่าตกตะลึงที่เคยเกิดขึ้นบนเวทียูเอ็นจีเอในอดีต

Advertisement

รองเท้าของครุชเชฟ

นิกิตา ครุชเชฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตทำมากกว่าสิ่งที่เรียกว่าน่าตกตะลึงเมื่อปี 1960 ในช่วงเวลาที่สงครามเย็นยังคงร้อนแรงด้วยการนำรองเท้าขึ้นมาทุบโต๊ะด้วยความโกรธเกรี้ยว โดยสิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้นำคณะผู้แทนจากฟิลิปปินส์วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลมอสโกในเรื่องการจำกัดเสรีภาพของชาติยุโรปตะวันออก

หลานสาวของครุชเชฟเขียนอธิบายเรื่องนี้หลังจากนั้นว่าครุชเชฟสวมรองเท้าใหม่ที่คับ ดังนั้นเขาจึงถอดมันในขณะที่นั่งอยู่ เธอและล่ามของเขาบอกว่าเมื่อครุชเชฟยืนขึ้นเขาทุบโต๊ะด้วยกำปั้นอย่างแรงจนนาฬิกาข้อมือที่สวมอยู่หลุดออกมา และเมื่อเขาก้มลงเพื่อเก็บนาฬิกา เขาเห็นรองเท้าจึงเปลี่ยนมาใช้รองเท้าทุบโต๊ะแทน หนึ่งปีหลังจากนั้นกำแพงเบอร์ลินได้ถูกสร้างขึ้นมา

FILE – นิกิตา ครุชเชฟ (AP Photo, File)

ช่อมะกอกและปืนของอาราฟัต

ยัสเซอร์ อาราฟัตเป็นศูนย์กลางของการแสวงหาเอกราชของปาเลสไตน์บนเส้นทางที่เต็มไปด้วยการพลัดถิ่นและความตาย ในปี 1974 เขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมเพื่อเป็นตัวแทนขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์และประชาชนของเขาต่อที่ประชุมยูเอ็นจีเอซึ่งเขาได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าพร้อมจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ปาเลสไตน์มีสถานะเป็นรัฐชาติ

อาราฟัตได้กล่าวถึงประชาชนที่ถูกกดขี่และการปลดปล่อยทั่วโลก เขาได้กล่าวสรุปด้วยคำพูดที่ยืนยาวเป็นอมตะว่า “วันนี้ผมเดินทางมาโดยถือช่อมะกอกและปืนของนักรบผู้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ อย่าปล่อยให้ช่อมะกอกหลุดร่วงจากมือของผม”

FILE – ยัสเซอร์ อาราฟัต (AP Photo/File)

สุนทรพจน์อันยาวเฟื้อยของคาสโตร

ผู้นำคิวบา ฟิเดล คาสโตร กล่าวสุนทรพจน์บนเวทียูเอ็นหลายครั้ง โดยต่อว่าผู้ที่ระบุว่าประเทศของเขาเป็นระบอบทุนนิยมที่กดขี่

ยูเอ็นได้ขอให้บรรดาผู้นำกล่าวสุนทรพจน์อย่างกระชับ แต่ไม่ใช่สำหรับคาสโตร การกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมยูเอ็นจีเอของเขาเมื่อปี 1960 กินเวลานานถึง 4 ชั่วโมงครึ่ง

คาสโตรกล่าวว่าการปฏิวัติที่เขาเป็นผู้นำเมื่อ 20 เดือนก่อนหน้านั้นได้ยุติสถานะของประเทศในการเป็น “อาณานิคมของสหรัฐ” แต่สหรัฐยังคงเชื่อว่าพวกเขามีสิทธิในการส่งเสริมสนับและสนุนการบ่อนทำลายประเทศของเรา

ในสุนทรพจน์ที่ค่อนข้างเรื่อยเปื่อย คาสโตรปกป้องความเชื่อมโยงของคิวบากับสหภาพโซเวียต โดยแสดงออกถึงความกังวลอย่างรุนแรงว่า “รัฐบาลจักรวรรดิ” ของอเมริกาอาจโจมตีคิวบา และเรียกประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดีของสหรัฐว่าเป็น “มหาเศรษฐีไร้การศึกษา”

คาสโตรยังตำหนิการถูก “ปฏิบัติอย่างลดคุณค่าและน่าอาย” ในนครนิวยอร์ก ซึ่งรวมถึงการที่เขาต้องถูกอพยพออกจากโรงแรมที่พักด้วย

FILE – ฟิเดล คาสโตร (AP Photo/NC)

กาดาฟีไม่มีแบบแผน

โมอามาร์ กาดาฟี ผู้นำลิเบีย ชื่นชอบการพูดแบบยาวเฟื้อยขาดซึ่งความเชื่อมโยงใดๆ เช่นเดียวกัน

ในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมยูเอ็นจีเอเมื่อปี 2009 ของเขาซึ่งยาว 1 ชั่วโมง 40 นาที เขาตำหนิยูเอ็นสำหรับความล้มเหลวในการป้องกันไม่ให้เกิดสงครามหลาสิบครั้ง โดยระบุว่าผู้ที่ก่อการ “ฆาตกรรมหมู่” ในอิรักควรจะถูกดำเนินคดี และปกป้องสิทธิของทาลิบันในการก่อตั้งรัฐอิสลาม

เมื่อถึงจุดหนึ่งกาดาฟีนำกฏบัตรยูเอ็นขึ้นมาโบกและฉีกทิ้ง โดยบอกว่าเขาไม่ยอมรับอำนาจของเอกสารฉบับนี้

วันเดียวกันหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษกล่าวต่อที่ประชุมยูเอ็นจีเอว่า “ผมมายืนตรงนี้เพื่อสนับสนุนกฎบัตรยูเอ็น ไม่ใช่เพื่อฉีกมัน”

FILE – โมอามาร์ กาดาฟี (AP Photo/Richard Drew, File)

ชาเวซและปีศาจ

ฮูโก ชาเวซ ผู้นำเวเนซุเอลาผู้ล่วงลับสร้างความตกตะลึงต่อที่ประชุมยูเอ็นเมื่อปี 2006 เมื่อเขากล่าวถึงประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชของสหรัฐว่า “เมื่อวานนี้ปีศาจมาที่นี่” โดยระบุว่า แท่นปราศรัย “ยังคงมีกลิ่นกำมะถันอยู่” ซึ่งในขณะนั้นสหรัฐอยู่ระหว่างการทำสงครามอย่างหนักหน่วงในอิรักซึ่งชาเวซต่อต้านอย่างรุนแรง

FILE – ฮูโก ชาเวซ (AP Photo/Julie Jacobson, File)

อาห์มาดิเนจาดและ9/11

ประธานาธิบดีมาห์มู้ด อาห์มาดิเนจาดของอิหร่านก่อให้เกิดการวอล์กเอาท์จากที่ประชุมยูเอ็นจีเออย่างไม่สบอารมณ์ในปี 2010 เมื่อเขาตั้งคำถามว่าเหตุการณ์วินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 นั้นเป็นการจัดฉากหรือไม่ โดยเขาชี้ว่ามีเพียงการระเบิดจากภายในและไม่มีเครื่องบินซึ่งทำให้หอคอยคู่ของอาคารพังถล่มลงมา

การเดินทางเยือนนครนิวยอร์ของเขาก่อให้เกิดความโกรธเคืองจากชาวเมือง แต่สร้างความยินดีให้กับกลุ่มสุดโต่งในอิหร่าน

FILE – มาห์มู้ด อาห์มาดิเนจาด (AP Photo/Richard Drew, File)

เนทันยาฮูและระเบิด

นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลกล่าวต่อที่ประชุมยูเอ็นจีเอเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์อิหร่านเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2012 ด้วยการชูแผนภาพการ์ตูนรูประเบิด ซึ่งถูกแบ่งเป็นสัดส่วนที่ระบุตัวเลข 70 เปอร์เซ็นต์และ 90 เปอร์เซ็นต์ โดยเนทันยาฮูกล่าวว่าอิหร่านก้าวหน้ามาอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ในการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมสำหรับผลิตอาวุธนิวเคลียร์และเรียกร้องให้โลก “ขีดเส้นตาย” เพื่อหยุดโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน

หลังจากนั้นเขาได้ขีดเส้นสีแดงใต้ตัวเลข 90 เปอร์เซ็นต์ โดยระบุว่าอิหร่านจะมาถึงจุดนี้ภายในช่วงกลางปี 2013 และโลกต้องไม่ยินยอมในการให้อิหร่านก้าวไปถึงจุดนั้น

เนทันยาฮูเตือนว่า “ไม่มีสิ่งใดที่ทำให้โลกตกอยู่ในอันตรายมากกว่าอิหร่านที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และยืนยันว่า “เส้นแดงดังกล่าว” ป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม

FILE – เบนจามิน เนทันยาฮู (AP Photo/Richard Drew, File)
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image