กว่าจะมีความเท่าเทียมกันทางเพศในสถานที่ทำงาน ต้องรออีก 202 ปี

AFP

สำนักข่วเอเอฟพีรายงานว่ารายงานของเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม (ดับเบิลยูอีเอฟ) ที่ออกมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ระบุว่า ความเท่าเทียมกันเรื่องค่าจ้างระหว่างชายและหญิงในปีนี้จะดีขึ้นกว่าเมื่อปี 2017 และช่องว่างทางเพศทั่วโลกกลับกว้างมากขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยสิ่งเหลานี้เกิดขึ้นในขณะที่จำนวนตัวแทนผู้หญิงในกลุ่มงานการเมืองที่ลดลง คู่สามี-ภรรยาที่ไม่มีความเสมอภาคกันมากขึ้น

ดับเบิลยูอีเอฟ ระบุว่า จากสัดส่วนปัจจุบัน ช่องว่างทางเพศโดยทั่วไปจะหมดไปในอีก 108 ปีข้างหน้า ส่วนช่องว่างทางเพศในสถานทำงานจะหมดไปในอีก 202 ปีข้างหน้า
ดับเบิลยูอีเอฟ ได้ทำการสำรวจเรื่องช่องว่างทางเพศ ใน 149 ประเทศ ครอบคลุม 4 กลุ่ม ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข โอกาสทางธุรกิจ และการมีอำนาจทางการเมือง ซึ่งหลังจากที่ผู้หญิงมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข และการเมือง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ในปีนี้ กลับมีน้อยลงในทุกๆด้าน มีเพียงโอกาสทางธุรกิจที่ช่องว่างทางเพศแคบลง โดยช่องว่างทางเพศเรื่องค่าจ้างมีน้อยลงไปเกือบ 51 เปอร์เซ็นต์ ส่วนจำนวนผู้หญิงทั่วโลกที่ได้ขึ้นมามีบทบาทเป็นผู้นำเพิ่มขึ้น 34 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดียวกัน กลับมีสัดส่วนของผู้หญิงในสถานที่ทำงานที่น้อยลง

โดยเฉพาะในกลุ่มการจ้างงานที่ต้องการทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ที่มีผู้หญิงทำงานอยู่น้อยมาก และที่น้อยที่สุด คือในงานที่เกี่ยวกับเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ที่มีผู้หญิงอยู่เพียง 22 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image