เริ่ด! ญี่ปุ่นส่งดาวเทียมโคจร ทำ “ฝนดาวตกเทียม” ครั้งแรกของโลก รอชมเหนือท้องฟ้าฮิโรชิมาปีหน้า

แฟ้มภาพฝนดาวตก (เอเอฟพี)

เมื่อวันที่ 18 มกราคม สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้าง องค์การอวกาศญี่ปุ่น (จาซา) เปิดเผยว่า จรวดขนส่ง “เอพซิลอน-4” นำดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อทำฝนดาวตกเทียม ขึ้นสู่วงโคจรแล้ว หลังจากถูกส่งจากศูนย์อวกาศอูจินูระ ในจังหวัดคาโกชิมะ โดยจาซา ในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ ในภารกิจการสร้างฝนดาวตกเทียมเป็นครั้งแรกของโลกในอวกาศ

จาซาเปิดเผยว่า บริษัท เอแอลโอ จำกัด บริษัทสตาร์ทอัพที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงโตเกียว ได้พัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กสำหรับการทำฝนดาวตกเทียมในห้วงอวกาศ โดยจะทำฝนดาวตกเทียมโชว์ครั้งแรกของโลกเหนือท้องฟ้าจังหวัดฮิโรชิมาของญี่ปุ่นในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งจะเป็นการทดลองทำฝนดาวตกเทียมในเบื้องต้น ก่อนที่จะให้บริการทำฝนดาวตกเทียมต่อไปในอนาคต

จรวดขนส่ง เอพซิลอน-4 นำดาวเทียมทำฝนดาวตกเทียมในอวกาศ ทะยานออกจากฐานส่ง ที่ศุนย์อวกาศอูจินูระ ในจังหวัดคาโกชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อช่วงเช้าวันที่ 18 มกราคม เพื่อนำส่งดาวเทียมดังกล่าวเข้าสู่วงโคจร (เอเอฟพี)

จาซาระบุว่า จรวดขนส่งเอพซิลอน-4 ได้นำดาวเทียมขนาดเล็กมากรวมทั้งสิ้น 7 ดวง เข้าสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน โดยในการสร้างปรากฎการณ์ฝนดาวตกเทียมดังกล่าว ดาวเทียมจะทำการปล่อยลูกบอลจิ๋วที่บรรจุอยู่ภายในจำนวน 400 ลูกออกมา ซึ่งจะส่องแสงสว่างแวววาวในชั้นบรรยากาศ เป็นการเลียนแบบปรากฎการณ์ฝนดาวตกจริง

โนบุโยชิ ฟูจิโมโตะ โฆษกของซาจา กล่าวว่า ดาวเทียมขนาดเล็กทั้ง 7 ดวงดังกล่าวจะแสดงสิ่งที่เป็นเทคโนโลยีทางนวัตกรรมที่หลากหลาย

Advertisement

เอเอฟพีรายงานว่า ดาวเทียมดังกล่าวที่บรรจุลูกบอลจิ๋ว 400 ลูก ในการส่องแสงสว่าง ได้ใช้สูตรลับทางเคมีในการผลิต ที่ยังสามารถเปลี่ยนสีได้ขณะส่องสว่างนานราวหลายวินาทีก่อนที่จะดับลง และสามารถใช้งานได้ถึง 20-30 ครั้ง โดยเอแอลโอ มีแผนจะทำฝนดาวตกเทียมเหนือท้องฟ้าจังหวัดฮิโรชิมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2020 ซึ่งเหตุที่เลือกทำเหนือท้องฟ้าฮิโรชิมาเป็นที่แรกเนื่องจากมีสภาพอากาศและสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งดี

เอแอลอีบอกว่าทางบริษัทตั้งเป้าที่จะให้บริการทำฝนดาวตกเทียมทั่วทั้งโลกและยังมีแผนที่จะสร้างคลังฝนดาวตกเทียมในอวกาศที่สามารถปล่อยฝนดาวตกเทียมได้ทั่วโลก ทั้งนี้เอแอลอีได้ทำงานในแผนงานนี้ร่วมกับคณะนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากหลายมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐบาลและมีหลายองค์กรช่วยสนับสนุน อย่างไรก็ดีเอแอลอีไม่ได้เปิดเผยเรื่องราคาในการทำฝนดาวตกเทียมแต่อย่างใด

ข่าวรอบด้าน กับ Line@มติชนนิวส์รูม คลิกเป็นเพื่อน ได้ที่นี่เพิ่มเพื่อน

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image