นักวิทย์ชี้ แม่ตั้งครรภ์เครียดช่วง 18 สัปดาห์แรก ทำลูกชายสเปิร์มน้อยลง

(ภาพ-TBIT via pixabay)

สำนักข่าวเอเอฟพีอ้างรายงานผลการวิจัยผ่านวารสาร Human Reproduction ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมพบความเชื่อมโยงระหว่างแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเครียดในช่วง 18 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ กับจำนวนและประสิทธิภาพของสเปิร์มที่ลดลง

นักวิจัยทำการสำรวจชายชาวออสเตรเลียในวัย 20 ปี ที่เกิดกับแม่ที่เผชิญกับสถานการณ์ความเครียด เช่นการหย่าร้าง การตกงาน ในช่วง 18 สัปดาห์แรกของการเติบโตของตัวอ่อน ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีสเปิร์มที่มีจำนวนน้อยกว่าผู้ที่แม่ไม่ได้มีความเครียดในช่วงดังกล่าวถึง 1 ใน 3 มีความสามารถในการเคลื่อนที่ลดลง 12 เปอร์เซ็นต์ และมีระดับเทสโทสเตอโรนลดลงราว 10 เปอร์เซ็นต์ด้วย

ทั้งนี้ความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดของแม่ และจำนวนสเปิร์มของลูกชายนั้นจะไม่เกี่ยวข้องกันเมื่อความเครียดเหล่านั้นเช่นความสูญเสียญาติใกล้ชิด หรือปัญหาทางการเงิน เกิดขึ้นในช่วงที่ครรภ์มีอายุมากกว่า 18 สัปดาห์ไปแล้ว

ศาสตราจารย์ โรเจอร์ ฮาร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย ระบุว่าความเครียดดังกล่าวที่เกิดขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ช่วงแรกส่งผลต่อพัฒนาการของอวัยวะต่างๆในช่วงดังกล่าวที่เป็ฯช่วงสำคัญ อย่างไรก็ตามแม้จะพบความเชื่อมโยง แต่นักวิจัยก็ระบุว่า นั่นไม่ใช่ความเชื่อมโยงลักษณะสาเหตุ-ผลลัพท์ แต่อย่างใด

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image