‘มลพิษทางอากาศ’ ทำคนทั่วโลกอายุเฉลี่ยสั้นลงเกือบ 2 ปี

(แฟ้มภาพ) REUTERS

ผู้เชี่ยวชาญชี้มลพิษทางอากาศจะทำให้อายุของคนทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือเด็กทุกคนบนโลกนี้มีอายุสั้นลงเกือบๆ 2 ปี จนถูกผู้เชี่ยวชาญระบุว่า คุณภาพอากาศที่ย่ำแย่ถือเป็นความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับสุขภาพของมนุษย์

แม้คนทั่วโลกกำลังเร่งแข่งกับเวลาเพื่อคิดค้นหาวัคซีนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ได้โดยเร็ว แต่น้อยคนที่จะตระหนักว่าคุณภาพอากาศยังคงส่งผลให้ผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลกมีอายุสั้นลงและทำให้มีอาการป่วยไข้มากขึ้นทั่วทุกมุมโลก

ดัชนีคุณภาพอากาศชีวิตได้แปลงอานุภาพที่อยู่ในมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล มาเป็นผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน และพบว่าแม้จะมีการลดปริมาณมลพิษทางอากาศลงอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ ในประเทศจีนซึ่งเคยเป็นหนึ่งในชาติที่สร้างมลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลก แต่ระดับมลพิษทางอากาศกลับยังคงที่ในบางพื้นที่ในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

ในประเทศอย่างอินเดียและบังกลาเทศ มลพิษทางอากาศยังคงรุนแรง ซึ่งทำให้อายุเฉลี่ยของคนลดลงไปถึงเกือบ 10 ปี

Advertisement

ผู้ทำวิจัยดังกล่าวเผยว่า คุณภาพอากาศที่ผู้คนหายใจเข้าไปทำให้มีความเสี่ยงกับสุขภาพของผู้คนมากกว่าโควิด-19 แม้ว่าภัยคุกคามจากไวรัสโคโรนาจะเป็นเรื่องร้ายแรง และสมควรจะได้รับความสนใจ แต่มลพิษทางอากาศก็เป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้ผู้คนหลายพันล้านคนมีอายุยืนยาวและมีคุณภาพมากขึ้น

เกือบ 1 ใน 4 ของมลพิษทางอากาศทั้งโลกอยู่ในประเทศในเอเชียใต้ 4 ประทเศ คือบังกลาเทศ อินเดีย เนปาล และปากีสถาน ซึ่งเป็นประเทศที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลก ซึ่งทำให้อายุเฉลี่ยของผู้คนลดลงราว 5 ปี ขณะที่ปริมาณมลพิษสูงกว่าเมื่อ 20 ปีก่อนถึง 44%

ขณะที่ในประเทศอย่างสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพอากาศ แต่ก็ยังคงทำให้อายุเฉลี่ยของคนลดลงทั่วโลกถึง 2 ปี

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image