มื้อนี้เรากินพลาสติกไปเท่าไหร่?

มื้อนี้เรากินพลาสติกไปเท่าไหร่?

มื้อค่ำของคุณคืออะไร ซูชิเลโก้ แซนด์วิชบัตรเครดิต หรือสเต็กท่อพีวีซีแบบสุกๆ แม้อาจจะฟังดูเหลือเชื่อ แต่นี่คือปริมาณของไมโครพลาสติกที่เรากินอยู่ทุกวัน

จากการศึกษาของดับเบิ้ลยูดับเบิ้ลยูเอฟอินเตอร์เนชั่นแนลล์ เมื่อปี 2562 พบว่าคนเราสามารถบริโภคบัตรเครดิตเข้าไปได้ในเวลาเพียง 1 สัปดาห์และตลอดทั้งชีวิต เราบริโภคพลาสติกหนัก 20 กิโลกรัมหรือเทียบเท่ากับถังขยะเขียวของกทม. 1 ถัง ไมโครพลาสติกเหล่านี้ส่วนมากมาในรูปแบบที่ผสมอยู่ในน้ำดื่มและในกระเพาะของหอยเชลล์ที่เราจำเป็นต้องกินไปทั้งตัว

การจัดแสดงนี้ได้นำผลของการศึกษามาทำให้เห็นภาพมากขึ้น โดยใช้ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำจากพลาสติกมาแทนปริมาณไมโครพลาสติกที่บางคนอาจบริโภคใน 1 สัปดาห์ 1 เดือนหรือ 1 ปี

เริ่มต้นยามเช้าด้วยกาแฟร้อนสักถ้วย พร้อมกับใส่น้ำตาลกระดุมพลาสติกหนัก 5 กรัมซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณพลาสติกที่บางคนกินไปเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ (REUTERS/Kim Kyung-Hoon)
หากไม่ดื่มกาแฟ เราขอแนะนำนมสักแก้วกับแซนด์วิชสลัดทูน่าบัตรเครดิตหนัก 7 กรัมซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณพลาสติกที่บางคนบริโภคเป็นเวลา 10 วัน (REUTERS/Kim Kyung-Hoon)
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบอาหารญี่ปุ่นจะต้องไม่พลาดซูชิเลโก้หลากหลายหน้า น้ำหนักรวม 22 กรัมเทียบเท่ากับปริมาณพลาสติกที่บางคนบริโภคใน 1 เดือน (REUTERS/Kim Kyung-Hoon)
ส่วนผู้ที่ชื่นชอบติ่มซำขอเสนอขนมจีบถ้วยพลาสติก น้ำหนักรวม 62 กรัมเทียบเท่ากับปริมาณพลาสติกที่บางคนบริโภคใน 3 เดือน (REUTERS/Kim Kyung-Hoon)
มื้อเช้าของเด็กๆ ซีเรียลลูกปัดพลาสติกกับนมน้ำหนักรวม 125 กรัมซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณพลาสติกที่บางคนบริโภคในเวลา 6 เดือน (REUTERS/Kim Kyung-Hoon)
หากเป็นมื้อค่ำ เราขอเสนอสเต็กหมวกนิรภัยพลาสติกน้ำหนัก 248 กรัม ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณพลาสติกที่บางคนบริโภคใน 1 ปี (REUTERS/Kim Kyung-Hoon)
เนื้อท่อพีวีซีที่อยู่บนเขียงพร้อมปรุง น้ำหนัก 1 กิโลกรัมเทียบเท่ากับปริมาณพลาสติกที่บางคนบริโภคใน 4 ปี (REUTERS/Kim Kyung-Hoon)
อาหารพลาสติกเต็มโต๊ะ มีน้ำหนักรวม 1.3 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณพลาสติกที่บางคนบริโภคในเวลา 5 ปี (REUTERS/Kim Kyung-Hoon)
อาหารพลาสติกพร้อมทาน น้ำหนักรวม 3.15 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณพลาสติกที่บางคนบริโภคในเวลา 10 ปี  (REUTERS/Kim Kyung-Hoon)
อาหารพลาสติกมากมายหลายชิ้น น้ำหนักรวม 6.8 กิโลกรัมซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณพลาสติกที่บางคนบริโภคเป็นเวลา 27 ปี (REUTERS/Kim Kyung-Hoon)
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image