ครอบครัวออสซี่ช็อก! ลูกสาววัย 18 เดือนติดแบคทีเรียกินเนื้อคนในไทย สธ.ชี้ยังไม่พบรายงานต่างชาติติดเชื้อ

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมาถึงครอบครัวชาวออสเตรเลีย ครอบครัวหนึ่งที่แผนการท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นเวลา 10 วัน ต้องล้มเลิกลงกระทันหัน หลังลูกสาววัย 18 เดือนติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือ (flesh-eating bacteria)ระหว่างท่องเที่ยวที่เขาหลัก จังหวัดพังงา เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในไทยเป็นเวลานานนับเดือน

รายงานระบุว่าคู่สามีภรรยา ชาร์นา และเบรนแดน มาร์แชล ชาวออสเตรเลีย จากเมืองบันเบอร์รี ประเทศออสเตรเลีย พาลูกสาว เคนซี วัย 4 ปี และ อามาร์ลี วัย 18 เดือน เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยวเป็นเวลา 10 วัน แต่ครอบครัวไม่ทันได้กลับบ้านเมื่ออามาร์ลี เกิดติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคน เชื้อแบคทีเรียอันตรายที่ปอด ต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉินเอาบางส่วนของปอดออก และใช้เวลารักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึง 34 วัน

1471314402515 (2)

ครอบครัวมาร์แชล อยู่ระหว่างการพักผ่อนที่โรงแรมในเขาหลัก จังหวัดพังงา ช่วงเวลาที่อามาร์ลี เกิดมีไข้เกิดขึ้น โดยแพทย์ได้เดินทางมาตรวจอามาร์ลี ที่โรงแรมและวินิจฉัยว่าอาร์มาลีไม่เป็นอะไรมาก อย่างไรก็ตามครอบครัวที่เกิดความกังวลตัดสินใจพาอามาร์ลี ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม โดยแพทย์พบความผิดปกติในเลือดจึงตัดสินใจส่ง อามาร์ลี เข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครที่มีทีมแพทย์และอุปกรณ์พร้อมมากกว่า ในวันที่ 5 กรกฎาคม ก่อนที่แพทย์จะพบว่าอามาร์ลี ติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคนที่ทำให้เกิดโรคเนื้อเน่า (streptococcus necrotising pneumonia) ทำให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดเอาปอดออกบางส่วน

Advertisement

1471314402515 (1)

ทั้งนี้รายงานระบุว่า อามาร์ลี สามารถออกจากโรงพยาบาลได้แล้วและขณะนี้พักผ่อนอยู่กับครอบครัวที่โรงแรมในประเทศไทย โดยครอบครัวตัดสินใจอยู่ประเทศไทยต่อไปจนกว่า อามาร์ลีจะแข็งแรงมากขึ้น ขณะที่ครอบครัวมาร์แชล ชื่นชมทีมแพทย์และพยาบาลไทยที่แม้จะมีกำแพงภาษาแต่ก็ทำงานกันได้อย่างดีเลิศ ขณะที่สาเหตุการติดเชื้อนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ด้านระบาดวิทยาและควบคุมโรค รวมทั้งทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) พังงา เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานกรณีชาวออสเตรเลียป่วย และอ้างว่าติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคน ขอตรวจสอบก่อนว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวจริงหรือไม่ เนื่องจากเชื้อดังกล่าวไม่ได้ติดกันบ่อยๆ โดยเฉลี่ย 2-3 ปี จะพบประมาณ 1 ราย สาเหตุอาจมาจากการสำลักน้ำเข้าทางจมูกจำนวนมาก และขึ้นสู่สมองได้ โดยหากติดเชื้อดังกล่าวจริงจะทำให้มีอาการไข้รุนแรง ปวดศีรษะ และอาจเสียชีวิต

Advertisement

ต่อมาเวลา 20.00 น.วันที่ 16 สิงหาคม นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.)กล่าวว่า เบื้องต้นทราบว่า เด็กหญิงดังกล่าวอาการดีขึ้น แพทย์ให้การดูแลอย่างดี อย่างไรก็ตาม สำหรับเชื้อนี้เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปตามสิ่งแวดล้อม โดยหากพบว่ามีบาดแผลขึ้นที่กล้ามเนื้อ แม้เพียงเล็กน้อย ต้องรีบพบแพทย์ทันที เพราะหากรักษาได้ทัน ก็จะสามารถรักษาได้ ซึ่งโรคนี้ไม่ได้พบมากแต่อย่างใด

นพ.อำนวย กาจีนะ
นพ.อำนวย กาจีนะ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ กรมควบคุมโรคเคยออกข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ว่า เป็นโรคเนื้อเน่า หรือ Necrotizing fasciitis ซึ่งเป็นโรคติดเชื้ออย่างรุนแรงของผิวหนังและไขมันผิวหนัง ตำแหน่งที่เกิดส่วนใหญ่คือที่บริเวณขา รองลงมาเป็นบริเวณเท้า ในขณะที่โรคร่วมที่พบส่วนมากได้แก่ภาวะช็อกติดเชื้อในกระแสเลือด เบาหวาน และภาวะไตวาย ผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรม มีโอกาสเกิดบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ และสัมผัสกับเชื้อโรคได้ง่าย เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดร่วมกัน ที่พบบ่อย คือ เชื้อ Aeromonas Hydrophila ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคในปลา เรียกว่า Hemorrhagic Septicemia เมื่อเข้าสู่คนทางบาดแผลจะทำให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่ออ่อนผิวหนัง เรียกว่า Necrotizing Fasciitis และ เชื้อ Aeromonas Veronii เป็นเชื้อที่มีความรุนแรงสูง มักเป็นการติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อนลุกลามได้อย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่การเน่าตายของเนื้อเยื่อชั้นลึก เกิดภาวะ Necrotizing Myonecrosis (กล้ามเนื้อเน่าตาย) และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคเนื้อเน่า หรือ Necrotizing fasciitis คือStreptococcus ส่วนเชื้อที่มีความรุนแรง คือ เชื้อ Aeromonas Hydrophila และเชื้อ Aeromonas Veronii เป็นเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำทะเล เมื่อเริ่มติดเชื้อจะมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ที่เป็นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอาการปวดที่ค่อนข้างมากที่ไม่สัมพันธ์กับบาดแผล ถือเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ รวมทั้งมีไข้สูง บริเวณบาดแผลมีผิวหนังสีคล้ำ ม่วง ดำ หรือมีถุงน้ำ การให้การวินิจฉัยที่รวดเร็วและนำผู้ป่วยไปผ่าตัดเอาเนื้อตายออก รวมทั้งการให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อ จะทำให้อัตราตายและอัตราพิการของผู้ป่วยลดลง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image