40วันการประท้วงเมียนมา

40วันการประท้วงเมียนมา

ตั้งแต่เกิดการรัฐประหารของนายพลมิน อ่อง ลาย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ มีหลายสิ่งเกิดขึ้นมากมาย ทั้งการจับกุมนางอองซาน ซูจีและประธานาธิบดีวิน มยิน จนทำให้ประชาชนในทุกศาสนา ทุกชนเผ่าทั่วประเทศออกมาประท้วง การทำอารยะขัดขืนในกลุ่มคนทุกอาชีพ การตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตและโทรทัศน์ และเกิดการปราบปรามผู้ประท้วงด้วยความรุนแรง จนนำไปสู่การลี้ภัยไปอินเดียของตำรวจ นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อหามากมายให้กับนางอองซาน ซูจี  จากการรายงานจากสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองของเมียนมาระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุประท้วงแล้วมากกว่า 60 คน และมีผู้ถูกจับกุมราว 2,000 คน

เนื่องจากรัฐบาลทหารเมียนมาใช้ความรุนแรงทุกวิถีทางเพื่อหยุดยั้งการประท้วงที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ด้วยการบุกจับผู้ประท้วงหรือผู้สนับสนุนพรรคเอ็นแอลดีถึงที่บ้านในยามวิกาล และการใช้กระสุนจริงยิงประชาชนจนถึงแก่ชีวิต

แม้จะมีความสูญเสียถึงชีวิต แต่ประชาชนชาวเมียนมาก็ยังสู้ต่อไปเพื่อให้ประชาธิปไตยและผู้นำที่พวกเขาเลือกกลับมา และด้วยความหวังที่ไม่อยากให้ประเทศอันเป็นที่รัก ต้องตกอยู่ใต้เงารัฐบาลทหาร ที่ไม่เหลียวแลประชาชนเหมือนอย่างเมื่อ 10 ปีก่อน

ในขณะเดียวกันพี่น้องชาวเมียนมาในต่างแดนได้ออกมาร่วมประท้วงต่อต้านการรัฐประหารเช่นเดียวกัน ทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น ศรีลังกา เกาหลีใต้และอีกหลายประเทศทั่วโลก

Advertisement

นอกจากนี้ในหลายประเทศทั่วโลกได้ประณามการกระทำอันโหดร้ายและทำการคว่ำบาตรเมียนมาซึ่งรวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ยังไม่มีท่าทีที่รัฐบาลทหารเมียนมาจะหยุดใช้ความรุนแรงปราบผู้ชุมนุม

ขณะที่กำลังนั่งอ่านข่าวในแต่ละวัน ก็มีชาวเมียนมาเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน ไม่มีใครอาจรู้ได้ว่าตอบจบของการประท้วงในครั้งนี้จะเป็นอย่างไร แต่เมียนมาจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ประชาชนชาวเมียนมาเผารูปนายพลมิน อ่อง ลาย ระหว่างการประท้วงที่เมืองมันดาเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ (รอยเตอร์)
ประชาชนชาวเมียนมาชู 3 นิ้ว ขณะยืนอยู่ด้านหลังป้ายผ้าที่มีข้อความว่า “พวกเราจะไม่ยอมคุกเข่าใต้รองเท้าบู๊ทของทหาร” ที่การประท้วงในนครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ (รอยเตอร์)
ชาวบ้านปลอกกระสุนได้จากพื้นที่การประท้วง ที่เมืองมันดาเลยื ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ (รอยเตอร์)
ตำรวจปราบลาจลยิงแก๊สน้ำตา ระหว่างการประท้วงในนครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ (รอยเตอร์)
ประชาชนชาวเมียนมาเข้าร่วมงานศพของหญิงที่ถูกยิงเสียชีวิต ในขณะที่ตำรวจกำลังพยายามที่จะหยุดการประท้วงต่อต้านรัฐประหารในครั้งนี้ ที่เมืองมันดาเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม (รอยเตอร์)
ตำรวจปราบจลาจลเข้ามาแทรกแซงการประท้วง ที่นครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม (รอยเตอร์)
ทหารเมียนมายืนคุมผู้ที่ถูกจับกุมตัว ที่การประท้วงที่เมืองมันดาเลย์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม (เอเอฟพี)
ดอกไม้และธงพรรคเอ็นเแอลดีของนางอองซานซูจี วางอยู่ข้างรอยเลือดบนถนนในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม หนึ่งวันหลังจากผู้ประท้วงถูกยิงด้วยปืน (เอเอฟพี)
ผู้คนเดินทางมาร่วมงานศพของแองเจิล วัย 19 ปี หลังจากถูกทหารยิงเข้าที่หัวจนเสียชีวิต ที่เมืองมันดาเลย์ ประเทสเมียนมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม (รอยเตอร์)
แม่ชีชาวเมียนมาคุกเข่าอ้อนวอนให้ตำรวจหยุดยิงกลุ่มผู้ประท้วง (Myitkyiana News Journal)
หญิงชาวเมียนมาร้องไห้ ขณะชู 3 นิ้ว ระหว่างการสวดมนต์ให้กับผู้ที่เสียชีวิตจากการประท้วงในเมียนมา บริเวณด้านหน้าองค์การสหประชาชาติ ที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม (รอยเตอร์)
ผ้าถุงของหญิงชาวเมียนมาหรือลองจีถูกแขวนขวางกลางถนน เพื่อป้องกันไม่ให้ทหารเมียนมาเดินผ่าน เนื่องจากชายชาวเมียนมามีความเชื่อว่าการเดินลอดผ้าถุงเป็นสิ่งไม่ดี ที่นครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม (รอยเตอร์)
ผู้ประท้วงถือโล่ที่ทำเอง ในการประท้วงที่นครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 8 มีนาคม (เอเอฟพี)
ผู้ชุมนุมนำอิฐมาเรียงเพื่อขวางถนนและเพื่อกำบัง ที่นครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม (เอเอฟพี)
ผู้ประท้วงใช้กล้องส่องทางไกลดูตำรวจ ที่การประท้วงในนครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม (รอยเตอร์)
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image