นักล่าไวรัส

นักล่าไวรัส

ในจังหวัดลากูนา ประเทศฟิลิปปินส์ กลุ่มนักวิจัยที่เรียกตัวเองว่า นักล่าไวรัส จะสวมชุดป้องกันเชื้อโรคและสวมไฟฉายที่หัว โดยมีหน้าที่ออกเดินทางไปยังป่าดิบชื้นหรือเดินขึ้นเขาไปตอนกลางคืนเพื่อจับค้างคาวหลายพันตัวเพื่อพัฒนาโมเดลที่หวังว่าจะช่วยโลกจากวิกฤติโควิด-19 ได้ นอกจากนี้กลุ่มนักวิจัยดังกล่าวยังมีเป้าหมายที่จะจับค้างคาวที่อาศัยอยู่ตามตึกด้วย โดยการติดตั้งตาข่ายก่อนฟ้าจะมืดเพื่อจับค้างคาวและเก็บตัวอย่าง โดยนักวิจัยจะจับหัวค้างคาวไว้นิ่งๆ ก่อนที่จะตรวจสว็อป วัดขนาดปีก เพื่อหาว่าค้างคาวพันธุ์ใดจากทั้งหมดกว่า 1,300 สายพันธุ์กับอีก 20 วงศ์ ที่ไวต่อการติดเชื้อมากที่สุด

โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นนี้จะถูกพัฒนาภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยมหาวิทยาลัยลอสบาโนส ด้วยความหวังที่ว่าค้างคาวจะช่วยทำนายแนวโน้มของไวรัสโคโรนา โดยการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆเช่นภูมิอากาศ อุณหภูมิ และการแพร่กระจาย

เอดิสัน โคซิโก ผู้ช่วยเหลือด้านบริหารที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติมหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ ลอสบันญอส กำลังสวมชุดป้องกันให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมไปจับค้างคาวที่ยอดเขามาคิลลิง ในลอสบัญญอส จังหวัดลากูนา ประเทศฟิลิปปินส์ นายโคซิโกระบุว่า “ช่วงนี้น่ากลัวจริงๆ คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่าค้างคาวตัวนี้เป็นพาหะหรือไม่ สิ่งที่เรากำลังทำหลังจากนี้คือหาว่ามีไวรัสจากค้างคาวที่สามารถแพร่สู่มนุษย์อีกหรือไม่ เราไม่มีทางรู้เลยว่าตัวต่อไปจะเป็นเหมือนโควิดหรือไม่” REUTERS/Eloisa Lopez
นักวิทยาศาสตร์ในชุดพีพีอีกำลังช่วยกันติดตั้งตาข่ายจับค้างคาวด้านหน้าตึก ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ ลอสบัญญอส ที่เมืองลอสบัญญอส จังหวัดลากูนา ประเทศฟิลิปปินส์ REUTERS/Eloisa Lopez
นักวิทยาศาสตร์ในชุดพีพีอีกำลังถือตาข่ายที่ติดตั้งเพื่อจับค้างคาวด้านหน้าตึกที่มีรังค้างคาว ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ ลอสบัญญอส ที่เมืองลอสบัญญอส จังหวัดลากูนา ประเทศฟิลิปปินส์ REUTERS/Eloisa Lopez
เคิร์ก ทาเรย์ นักนิเวศวิทยาค้างคาว กำลังแกะค้างคาวออกจากตาข่ายที่ตั้งไว้หน้าตึกของมหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ ลอสบัญญอส “เนื่องด้วยการแพร่ระบาดที่กำลังเกิดขึ้น จึงทำให้มีข้อควรระวังระหว่างการศึกษาค้างคาวมากขึ้น หลายมาตรการถูกตั้งขึ้นเพื่อปกป้องทั้งตัวนักวิจัยและและค้างคาวเอง ยิ่งไปกว่านั้นการกักตัวและการจำกัดการเดินทางยังไปเพิ่มความยากลำบากโดยเฉพาะในการเข้าถึงพื้นที่การศึกษา” ทาเรย์กล่าว REUTERS/Eloisa Lopez
ค้างคาวติดอยู่บนตาข่ายที่ติดตั้งโดยนักวิทยาศาสตร์ ด้านหน้าตึกที่มีรังค้างคาว ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ REUTERS/Eloisa Lopez
นายฟิลลิป อัลวิโอลา ทำการตรวจค้างคาวที่จับมาจากยอดเขามาคิลิงด้วยการสว็อปทางปาก “สิ่งที่เรากำลังพยายามตรวจสอบคือไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีศักยภาพในการแพร่เชื้อสู่มนุษย์ ถ้าเรารู้ตัวไวรัสดังกล่าวและรู้ว่ามันมาจากไหน เราก็จะรู้วิธีที่จะแยกไวรัสดังกล่าวตามลักษณะทางภูมิศาสตร์” REUTERS/Eloisa Lopez
นายฟิลลิป อัลวิโอลา นักนิเวศวิทยาที่ทำการศึกษาไวรัสจากค้างคาวมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี กำลังทำการเช็คปีกของค้างคาวที่จับได้จากอาคารที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ลอสบัญญอส  REUTERS/Eloisa Lopez
ฟิลลิป อัลวิโอลา กำลังตรวจสว็อปค้างคาว ในขณะที่เคิร์ก ทาเรย์กำลังบันทึกข้อมูล ที่ภูเขามาคิลิง “การแพร่ระบาดทำให้การทำงานยากขึ้นไปอีก แต่นั่นก็ไม่อาจหยุดวิทยาศาสตร์จากการหาคำตอบและถามคำถามมากขึ้น เราไม่รู้ว่าการแพร่ระบาดในครั้งนี้จะจบลงเมื่อใดและเป็นเพียงเรื่องของเวลาที่จะถามว่าการระบาดครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นเมื่อใด” REUTERS/Eloisa Lopez
เอดิสัน โคซิโก ผู้ช่วยเหลือด้านบริหารที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติมหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ ลอสบันญอส กำลังถือค้างคาวแม่ไก่ที่ถูกสตัฟฟ์จากศูนย์เก็บสัตว์ป่าราบอร์ซึ่งเขาเป็นผู้ดูแล ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ชีววิทยา ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ ลอสบัญญอส  “ฉันสอนนักเรียนและยังคงเป็นผู้เรียนอยู่เสมอ มันสนุก การที่ได้ออกฟิลด์ไปศึกษาแม้อาจจะนานถึง 24 ชั่วโมงแต่ก็ยังดีกว่าอยู่ในออฟฟิตตั้งแต่ 8โมง-5โมง” โคซิโกกล่าว  REUTERS/Eloisa Lopez
ค้างคาวที่จับมาจากธรรมชาติถูกดองไว้ในโหลที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ลอสบันญอส ทั้งนี้ค้างคาวมากกว่า 6000 ตัวถูกดอง เก็บและสะสมอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ซึ่งได้มาจากการจับและศึกษาตลอดระยะเวลา 20 ปี REUTERS/Eloisa Lopez
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image