โลกฉลองครึ่งศตวรรษพาเรดสีรุ้ง

โลกฉลองครึ่งศตวรรษพาเรดสีรุ้ง

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของ “Pride month” หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจระบุว่า ในอดีตผู้จัดงานเลือกเดือนมิถุนายน เป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองของชาวLGBTQA+ เนื่องจากต้องการรำลึกถึงเหตุจลาจลสโตนวอลล์ เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1969 ในมหานครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศในยุคสมัยใหม่ โดยงานไพรด์ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนของทุกปี แม้ว่าในบางเมืองจะจัดการเฉลิมฉลองในช่วงเวลาอื่นของปีตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตามงานไพรด์ในปี 2020 ส่วนใหญ่ถูกยกเลิกเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ในปีนี้มีหลายเมืองที่สามารถกลับมาจัดงานไพรด์ได้อีกครั้ง เช่น นิวยอร์ก เยรูซาเลมและปารีส

เหตุการณ์จลาจลที่สโตนวอลล์มีจุดเริ่มต้นมาจาก ช่วงเช้ามืดของวันที่ 28 มิถุนายน 1969 ตำรวจได้บุกเข้าตรวจค้นสโตนวอลล์ อินน์ บาร์เกย์แห่งหนึ่งในย่านกรีนิชวิลเลจของมหานครนิวยอร์ก และตำรวจได้เริ่มลากลูกค้าออกไปด้านนอก ต่อมาความตรึงเครียดได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่บรรดาลูกค้าประจำต่อต้านการถูกจับกุมและบรรดาคนที่มามุงดูเหตุการณ์เริ่มเพิ่มมากขึ้นและได้ปาขวดกับเหรียญใส่เจ้าหน้าที่ ต่อมาชุมชนเกย์ในนิวยอร์กเกิดขึ้นในย่านที่เกิดการจลาจลที่กินระยะเวลาถึง 3 วัน

การลุกฮือในครั้งนั้นกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพืิ่อสิทธิของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ขณะที่องค์กรต่างๆอย่าง Gay Liberation Front และ Gay Activists Allianceได้ก่อตั้งขึ้นหลังจากการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองและสิทธิผู้หญิง เหล่าสมาชิกได้จัดการประท้วง เข้าพบผู้นำทางการเมืองและขัดขวางการจัดเวทีสาธารณะเพื่อให้ผู้นำเหล่านั้นรับผิดชอบ หนึ่งปีหลังจากเหตุการณ์ที่สโตนวอลล์การเดินขบวนเกย์ไพรด์ก็ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ และปัจจุบันพื้นที่บริเวณสโตนวอลล์อินน์ถูกทำให้เป็นอนุสาวรีย์ที่สำคัญของชาติ

ทั้งนี้ตัวย่อ LGBTQA+ ย่อมาจาก เลสเบียน (lesbian), เกย์ (gay), ไบเซ็กชวล (bisexual), ทรานเจนเดอร์ (transgender), เควียร์ (queer), อินเตอร์เซ็กซ์ (intersex) อเซ็กซ์ชวล (asexual) และอื่นๆ โดยเลสเบียนหมายถึงกลุ่มหญิงรักหญิง เกย์หมายถึงกลุ่มชายรักชายและสามารถหมายรวมถึงกลุ่มรักคนเพศเดียวกันได้ ไบเซ็กซ์ชวลหมายถึงกลุ่มที่รักได้ทั้งเพศหญิงและชาย เควียร์หมายถึงกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นคนรักต่างเพศ (non-straight people) อินเตอร์เซ็กซ์หมายถึงกลุ่มคนที่เพศกำกวมซึ่งอาจเป็นผลของความแตกต่างทางพันธุกรรมหรือฮอร์โมน อเซ็กชวลหมายถึงกลุ่มที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศหรืออยากมีเพศสัมพันธ์กับเพศไหนๆแต่ยังมีความรู้สึกรักคนอื่น

Advertisement
ซาราห์ เจสสิกา ดาร์เกอร์พาผู้ชมที่เป็นอาสาสมัครออกมาเต้นซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของแดร็กโชว์ ขณะที่เด็กๆกำลังเต้นอยู่ที่งานNorthern Ky Pride Festival ที่เมือง Covington รัฐเคนตักกี สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน REUTERS/Natosha Via
ภาพอาคารที่กำแพงถูกทาสีเป็นสีธงLGBT ขณะเฉลิมฉลองเดือนแห่งความภาคภูมิใจ (Pride Month) ที่เมืองเซา เปาโล บราซิล เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน REUTERS/Carla Carniel
ต้นปาล์มด้านหน้าสนามกีฬาถูกตกแต่งด้วยสีต่างๆจากธงสัญลักษณ์LGBTQ+ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวันSan Francisco Pride Day เมืองซาน ฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ก่อนเริ่มการแข่งขันระหว่างซานฟรานซิสโกไจแอนท์และชิคาโกคับส์ ที่โอราเคิลพาร์ค  Darren Yamashita-USA TODAY Sports
ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยรวมตัวกันระหว่างการแถลงข่าวประณามการกระทำอันโหดร้ายของกรมตำรวจนิวยอร์กในช่วงเดือนไพรด์ ที่สโตนวอลล์เมมโมเรียลพาร์ค ที่มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน REUTERS/Shannon Stapleton
ผู้คนเข้าร่วมไพรด์พาเรดที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ขณะที่มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่อนคลาย ที่กรุงเยรูซาเลม อิสราเอล เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน REUTERS/Ammar Awad
ผู้คนเข้าร่วมไพรด์พาเรดที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ขณะที่มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่อนคลาย ที่กรุงเยรูซาเลม อิสราเอล เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน REUTERS/Ammar Awad
ผู้คนเข้าร่วมไพรด์พาเรดที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ขณะที่มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่อนคลาย ที่กรุงเยรูซาเลม อิสราเอล เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน REUTERS/Ammar Awad
นักเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิLGBTQ ถือป้ายข้อความ ขณะการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องสิทธิให้ทรานเจนเดอร์หรือบุคคลข้ามเพศ ที่กรุงเคียฟ ประเทสยูเครน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม REUTERS/Valentyn Ogirenko
นักเคลื่อนไหวสิทธิLGBTQ เดินขบวนผ่านใจกลางเมืองระหว่างการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิให้กับบุคคลข้ามเพศ ที่กรุงเคียฟ ประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม REUTERS/Valentyn Ogirenko
นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิLGBT ถือป้ายข้อความและธงสีรุ้งระหว่างการประท้วงด้านนอกที่ทำการประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีของยูเครน ในกรุงเคียฟ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน โดยผู้ประท้วงต้องการให้อยู่ใช้ความรุนแรงต่อพวกเขาจริงๆและต้องการให้ผ่านร่างกฎหมายN5488 ซึ่งปกป้องสิทธิและให้ความรับผิดทางปกครองหรือทางอาญาสำหรับเหตุผลของการไม่ยอมรับทางเชื้อชาติ ชาติหรือศาสนา เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ขบวนการ LGBT ในประเทศ (Photo by Sergei SUPINSKY / AFP)
คนสวมเสื้อสเว็ตเตอร์ด้วยสีธงProgress Pride ซึ่งมีทั้งสีรุ้งและสีดำและน้ำตาลจากชุมชนคนผิวสี ขณะเดินผ่านธงสีรุ้งที่ติดอยู่ที่ อนุสาวรีย์สโตนวอลล์ อนุสาวรีย์แห่งแรกที่อุทิศต่อประวัติศาสตร์และสิทธิของ LGBTQ ถือเป็นบ้านเกิดของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองของเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล ทรานเจนเดอร์และเควียร์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ที่มหานครนิวยอร์ก (Photo by Angela Weiss / AFP)
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image