วิถียั่งยืนของนักงมหอยพื้นบ้านสเปน

Shellfisherwomen carry cockles in buckets and clams in net sacks before weighing them in the Noia estuary, where more or less 4000 shellfisherwomen work on foot along the inlets of the Spanish region of Galicia, Spain, November 16, 2021. Picture taken November 16, 2021. REUTERS/Nacho Doce

รูปรอบโลก : วิถียั่งยืนของนักงมหอยพื้นบ้านสเปน

ก่อนรุ่งสางเหนือปากแม่น้ำ Noia ในเขตแคว้นกาลิเซียของสเปน ผู้หญิงหลายร้อยคนเดินลงมาพร้อมแสงไฟจากไฟฉายลงไปในน้ำลึกถึงเอวเพื่อเก็บหอยแครงและหอยกาบจากก้นแม่น้ำโดยใช้เทคนิคที่สืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคน

พวกเธอสวมเสื้อแจ็คเก็ตกันลมทับชุดเวทสูท พวกเธอขุดหาหอยจากตะกอนดินที่อุดมด้วยสารอาหารของปากแม่น้ำที่ไปสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่เย็นยะเยือกของแคว้นกาลิเซีย หรือที่รู้จักในชื่อรีอัส โดยมีอุปกรณ์เป็นคราดด้ามยาวที่ติดกับตะกร้าโลหะ

ผู้คนกว่า 4,000 คนซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นผู้หญิงทำงานเป็นชาวประมงพื้นบ้านบริเวณปากน้ำที่ตัดผ่านแนวชายฝั่งที่ขรุขระของภูมิภาคนี้ ชาวประมงเหล่านี้หารายได้มากถึง 2,000 ยูโร (ราว 76,000 บาท) ต่อเดือนในช่วง 6 เดือน แต่สำหรับหลายๆ คน การทำประมงเป็นมากกว่าแค่งาน

“งานนี้มีอิสระมาก คุณจะเป็นเหมือนนกนางนวล อยู่อย่างอิสระ” คอนชิตา วัย 58 ปี กล่าว “ฉันอยากทำงานนี้ตั้งแต่ฉันยังเป็นเด็ก” เธอกล่าว โดยหวนนึกถึงตอนที่เธอเคยโดดเรียนเพื่อดูเรือขนถ่ายที่ท่าเรือ

Advertisement

มารี การ์เมน โรเซนเด มาโย วัย 65 ปี ที่กำลังเตรียมเกษียณอย่างไม่เต็มใจในปลายเดือนธันวาคม แม้ผ่านไปนาน 31 ปี แต่ก็ยังรู้สึกเช่นเดิม

เมื่อฉันเดินริมทะเล ฉันลืมปัญหาของฉันไปหมด ฉันผ่อนคลายและไม่สนใจอะไร” เธอกล่าว

ภายใต้แสงไฟจากไฟฉายบนหัว เธอได้เลือกหอยแครงที่ดีที่สุดจากถังของเธอและวางในถังที่อยู่บนห่วงยาง

Advertisement

ภายใต้แสงไฟจากไฟฉายคาดศีรษะของเธอ เธอหยิบหอยแครงที่ดีที่สุดจากตะกร้าของเธออย่างช่ำชอง และใส่ไว้ในถังอยู่บนห่วงยางที่ผูกไว้กับตัว

เพื่อไม่ให้หอยเหล่านี้ถูกจับมากเกินไป จึงมีเพียงชาวประมงหญิงที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้นที่สามารถทำได้ เฉพาะฤดูจับสัตว์น้ำในเดือนตุลาคม-มีนาคม

แนวทางปฏิบัตินี้ได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดโดยโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ซึ่งสนับสนุนการจัดการหอยแครงอย่างยั่งยืนในชุมชนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก 6 แห่ง รวมถึงที่แคว้นกาลิเซีย

ในช่วงสุดท้ายของวัน พวกเธอจะนำหอยที่เก็บมาได้ซึ่งหอยกาบต้องไม่เกิน 3 กิโลกรัม ส่วนหอยแครงต้องไม่เกิน 16 กิโลกรัม ไปชั่งน้ำหนักและส่งขายต่อไป

มาโยรู้ว่ามุมมองของผู้อื่นที่มีต่องานของเธอเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

“คนอื่นเคยพูดว่า “คุณทำงานอะไร เป็นชาวประมงหญิงหรอ ยี้ แต่ทุกวันนี้ใครหลายๆคนอยากเป็นชาวประมงเก็บหอย”

อลิดา เอเลนา วัย 35 ปี เป็นหนึ่งในชาวประมงรุ่นใหม่ที่กำลังเรียนรู้การทำอาชีพนี้

“การทำงานในทะเลทำให้คุณหลงใหล ทันทีที่หมดวัน ฉันก็แทบรอให้ถึงวันรุ่งขึ้นไม่ไหวแล้ว” เธอกล่าว

กลับมาที่ฝั่งมาโยได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพื้นที่ที่ควรหลีกเลี่ยง แต่กลับหวนนึกถึงเมื่อครั้งที่ตัวเองถูกช่วยขึ้นมาเมื่อเกิดน้ำขึ้นอย่างกะทันหัน

“นอกจากเหตุการณ์นั้น ประสบการณ์ในการทำงานของฉันดีมาก ดีมากๆ งดงามมาก”

หญิงชาวประมงใช้คราดเก็บหอยที่ปากแม่น้ำ Noia หยิบหอยที่เก็บได้ให้ดู REUTERS/Nacho Doce
คราดของหญิงชาวประมงวางอยู่ด้วยกัน REUTERS/Nacho Doce
หญิงชาวประมงถือถังใส่หอยกาบและหอยแครงเพื่อนำไปขายต่อที่ตลาดปลาที่ท่าเรือ Noia REUTERS/Nacho Doce
ชาวประมงหญิงใช้คราดเก็บหอยแครงที่ปากแม่น้ำ Noia REUTERS/Nacho Doce
ชาวประมงหญิงใช้คราดเก็บหอยแครงที่ปากแม่น้ำ Noia REUTERS/Nacho Doce
อลิดา เอเลนา วัย 35 ปีเป็นหนึ่งในผู้ทำอาชีพเก็บหอยรุ่นใหม่ โดยใช้คราดเก็บหอยกาบที่ปากแม่น้ำ Noia  REUTERS/Nacho Doce
หญิงชาวประมงถือคราดและห่วงยางหลังจากที่เก็บหอยกาบและหอยแครงจากปากแม่น้ำ Noia แล้ว REUTERS/Nacho Doce
หญิงชาวประมงรอขายหอยแครงและหอยกาบที่เก็บมาได้ ที่ตลาดปลาที่ท่าเรือ Noia REUTERS/Nacho Doce
ชาวประมงหญิงใช้คราดเก็บหอยแครงที่ปากแม่น้ำ Noia REUTERS/Nacho Doce
หญิงชาวประมงถือถังใส่หอยแครงและถือตาข่ายใส่หอยกาบก่อนจะไปชั่งน้ำหนัก ที่ปากแม่น้ำ REUTERS/Nacho Doce
ชาวประมงหญิงใช้คราดเก็บหอยแครงที่ปากแม่น้ำ Noia REUTERS/Nacho Doce
ชาวประมงหญิงใช้คราดเก็บหอยแครงที่ปากแม่น้ำ Noia REUTERS/Nacho Doce
ชาวประมงหญิงหยิบคราดก่อนจะออกไปเก็บหอยแครงและหอยกาบที่ปากแม่น้ำ Noia REUTERS/Nacho Doce
ชาวประมงหญิงใช้คราดเก็บหอยแครงที่ปากแม่น้ำ Noia REUTERS/Nacho Doce

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image