ผลศึกษาแอฟริกาใต้ชี้ ‘โอมิครอน’ ลดความรุนแรงของโควิด ซ้ำช่วยสกัดติดเดลต้า

REUTERS

ผลศึกษาแอฟริกาใต้ชี้ ‘โอมิครอน’ ลดความรุนแรงของโควิด ซ้ำช่วยสกัดติดเดลต้า

การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโควิด-19 ระลอกใหม่ซึ่งเป็นผลมาจากไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอนอาจเร่งให้เกิดการยุติของการแพร่ระบาดลง หลังนักวิจัยในแอฟริกาใต้พบว่านอกจากผู้ที่ติดโอมิครอนจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าเดลต้าแล้ว มันยังสกัดไม่ให้ผู้ที่ติดโอมิครอนติดเชื้อซ้ำจากไวรัสกลายพันธุ์เดลต้าอีกด้วย

การศึกษาในทดลองที่มีการใช้ตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อโอมิครอน 23 คนที่เมื่อเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมพบว่า ในขณะที่ผู้ที่ติดเชื้อเดลต้าสามารถติดเชื้อโอมิครอนซ้ำได้ ผู้ที่ติดเชื้อกลายพันธุ์โอมิครอนกลับไม่สามารถติดเชื้อเดลต้าได้อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขาได้รับวัคซีนต้านโควิด-19 แล้ว อย่างไรก็ดี ผู้ทำวิจัยกล่าวว่า ลผลลัพธ์ในกลุ่มผู้ไม่ได้รับวัคซีนนั้นไม่ชัดเจน

นายอเล็กซ์ ซิกัล จากสถาบันวิจัยสุขภาพแอฟริกา กล่าวว่า แม้จะเห็นได้ชัดว่าโอมิครอนสามารถแพร่ระบาดได้มากกว่าเดลต้า แต่ข้อมูลของการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตในประเทศต่างๆ รวมทั้งในแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศแรกที่พบเชื้อกลายพันธุ์โอมิครอน ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นว่ามันทำให้เกิดความรุนแรงของโรคที่น้อยกว่า

“ผลกระทบของการเข้ามาแทนที่ดังกล่าวขึ้นอยู่กับว่าโอมิครอนทำให้เกิดอาการขอบงโรคน้อยกว่าเดลต้าหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นอุบัติการณ์ของความร้ายแรงจากโควิด-19 จะลดลง และทำให้การติดเชื้ออาจส่งผลกระทบกับบุคคลรวมถึงสังคมน้อยลงตามไปด้วย”ทีมนักวิจัยระบุ

Advertisement

ทั้งนี้ จากผู้เข้าร่วมการทำวิจัย 23 คน มีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 14 คน และมีเพียงคนเดียวที่ต้องใช้ออกซิเจนขณะเข้ารับการรักษา โดยคณะผู้ทำวิจัยระบุว่าในจำนวนนี้ 10 คนได้รับการฉีดวัคซีนไม่ว่าจะเป็นของไฟเซอร์หรือจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แต่พวกเขายังคงติดเชื้อโอมิครอน

นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้รับการทดสอบกับตัวอย่าง 18 ตัวอย่างจาก 14 คนที่ติดเชื้อเดลต้าก่อนหน้านี้ และพบว่าโอมิครอนสามารถที่จะหลบหนีแอนติบอดีที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ได้อย่างมีนัยสำคัญ

ด้านสมยา สวามินาธาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก ทวีตย้ำว่า การศึกษาดังกล่าวพบว่าโอมิครอนให้การป้องกันการติดเชื้อเดลต้าเฉพาะในกลุ่มของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วเท่านั้น และการติดเชื้อไม่สามารถที่จะทดแทนการฉีดวัคซีนได้ตามที่มีบางคนแนะนำ

Advertisement

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัลผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เป็นงานพิมพ์ล่วงหน้า แต่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินบทความวิชาการโดยผู้ประเมิน (peer review) แต่อย่างใด

สถาบันโรคติดต่อแห่งชาติของแอฟริกาใต้ระบุว่า อัตราการเสียชีวิตในประเทศแอฟริกาใต้ขณะเกิดการแพร่ระบาดของโอมิครอนอยู่ในระดับสูงสุดที่เพียง 15% ของอัตราการเสียชีวิตในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเดลต้า ในขณะที่การรักษาในโรงพยาบาลพุ่งสูงสุดที่ 60% จากจำนวนผู้เข้ารับการรักษาตัวในช่วงเดลต้า

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image